backup og meta

ผลข้างเคียงของ โรคเบาหวาน กับภาวะความดันโลหิตสูง

ผลข้างเคียงของ โรคเบาหวาน กับภาวะความดันโลหิตสูง

ผลข้างเคียงของ โรคเบาหวาน อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาอาการของผู้ป่วยเบาหวานและวิธีการที่ผู้ป่วยดูแลตัวเอง ในบางรายผลข้างเคียงของ โรคเบาหวาน อาจก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงซึ่งส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปยังภาวะสุขภาพหัวใจ จนอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ป่วยเบาหวานควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูงที่อาจเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนได้ เพื่อเป็นข้อมูลในการดูแลสุขภาพของตนเองไม่ให้เสี่ยงเกิดความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง ผลข้างเคียงของ โรคเบาหวาน

ความดันโลหิตสูง มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นได้แน่ชัดมากนัก ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยควรมีเครื่องวัดความดันโลหิตไว้ที่บ้าน เพื่อตรวจความดันโลหิตของตัวเองอยู่เป็นประจำ เพราะหากความดันโลหิตสูงกว่าปกติแม้เพียงเล็กน้อย ก็ถือว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าคนปกติถึง 2-3 เท่า นอกจากนี้ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงอาจมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่าง เส้นเลือดในสมองแตก โรคหัวใจ และหัวใจล้มเหลว

ความดันโลหิตสูง พบได้บ่อยแค่ไหนในผู้ป่วยเบาหวาน

ในประเทศอังกฤษ ความดันโลหิตสูง พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยจำนวน 3 ใน 10 คนเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยจำนวน 8 ใน 10 คนเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งทั้ง 2 ประเภท สามารถนำไปสู่การเกิดความดันโลหิตสูงในท้ายที่สุด

โรคเบาหวานสร้างความเสียหายต่อหลอดเลือด และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ซึ่งนำไปสู่การเกิดความดันโลหิตสูง หากปล่อยทิ้งไว้จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือดแดง เส้นเลือดในสมองแตก หัวใจล้มเหลว หรือไตวาย หากผู้ป่วยเบาหวาน มีภูมิหลังครอบครัวที่เป็นความดันโลหิตสูง หรือมีไลฟ์สไตล์บางอย่างที่ควรปรับเปลี่ยน เช่น บริโภคเกลือมากเกินไป หรือมีน้ำหนักเกิน เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของ โรคเบาหวาน

เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงของ โรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานควรรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ เช่นเดียวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การอ่านค่าความดันโลหิตอาจอ่านได้หลายแบบ แต่ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ไม่ควรมีค่าความดันมากกว่า 140/80 ค่าตัวเลขส่วนหน้าเป็นค่าความดันในเส้นเลือด เมื่อหัวใจเต้นและสูบฉีดเลือดเลือดเข้าสู่เส้นเลือด เรียกว่าค่าความดันตัวบน (Systolic pressure) ค่าตัวเลขส่วนหลัง เรียกว่าค่าความดันตัวล่าง (Diastolic pressure) เป็นความดันในหลอดเลือดเมื่อหัวใจคลายตัวระหว่างการเต้น

เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เพื่อลดความดันโลหิตสูง

วิธีลดภาวะความดันโลหิตสูงนั้นสามารถทำได้ ดังนี้

  • ออกกำลังกาย

เพราะการออกกำลังกายเป็นประจำ อาจช่วยลดความดันโลหิตได้ ทั้งนี้ ควรเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมแก่ปัญหาสุขภาพและไม่จำเป็นที่ต้องหักโหม การออกกำลังกายที่ดี ควรออกกำลังกาย 5 วัน ต่อสัปดาห์ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน

  • เลือกรับประทานอาหาร

อาหารเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญต่อการบำรุงและรักษาสุขภาพ ดังนั้น ควรเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์แก่ร่างกาย อีกทั้งควรควบคุมปริมาณเกลือที่บริโภคในแต่ละวัน เนื่องจากเกลือมีความเชื่อมโยงกับความดันโลหิต ตามหลักโภชนาการ ไม่ควรบริโภคเกลือมากกว่า 6 กรัมต่อวัน ซึ่งไม่เพียงแต่จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง แต่ยังช่วยลดคอเลสเตอรอลและควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะปฏิบัติตัวตามคำแนะนำดังกล่าวแล้ว นอกเหนือจากนัน้ ควรไปพบคุณหมอตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับการตรวจสุขภาพรวมทั้งการได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเอง และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่มเติม

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetes and high blood pressure. http://www.webmd.com/hypertension-high-blood-pressure/guide/high-blood-pressure#1. Accessed in February 9, 2017

Diabetes and high blood pressure. http://patient.info/health/diabetes-and-high-blood-pressure. Accessed in February 9, 2017

Diabetes – complications. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/basics/complications/con-20033091. Accessed in February 9, 2017

Cardiovascular Disease and Risk Management0.https://care.diabetesjournals.org/content/39/Supplement_1/S60. Accessed July 19, 2021.

Association between gestational diabetes and pregnancy-induced hypertension.https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14652299/.Accessed July 19, 2021.

 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/03/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง

9 เคล็ดลับการกินอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรค เบาหวาน และความดันโลหิตสูง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 23/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา