backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)

ภาวะขาดน้ำ เป็นอาการที่ร่างกายมีการสูญเสียน้ำ รวมถึงเกลือ แร่ธาตุ และน้ำตาลในเลือด ซึ่งสามารถรบกวนการทำงานของร่างกาย และทำให้เกิดผลเสียหลายประการ

คำจำกัดความ

ภาวะขาดน้ำคืออะไร

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เป็นอาการที่ร่างกายมีการสูญเสียน้ำมากกว่าการได้รับน้ำ ภาวะไม่สมดุลดังกล่าวยังขัดขวางระดับของเกลือ แร่ธาตุ และน้ำตาลในเลือด ซึ่งสามารถรบกวนการทำงานของร่างกาย และทำให้เกิดผลเสียหลายประการ

พบได้บ่อยเพียงใด

ภาวะขาดน้ำพบได้บ่อยมาก สามารถส่งผลต่อคนทุกวัย ในทุกวัน น้ำในร่างกายสูญเสียไปในลมหายใจออก ในเหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระ หากดื่มน้ำไม่เพียงพอเพื่อชดเชยน้ำส่วนที่เสียไป เราจะมีภาวะขาดน้ำ

ภาวะขาดน้ำสามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของภาวะขาดน้ำ

ภาวะขาดน้ำมีผลต่อร่างกายที่สังเกตได้ อาการที่พบได้ทั่วไปบางประการของภาวะขาดน้ำ ได้แก่

  • กระหายน้ำมาก
  • รู้สึกวิงเวียนศีรษะหรือมึนศีรษะ
  • ใจสั่น (หัวใจเต้นเร็ว)
  • ปัสสาวะน้อยลง
  • ปากแห้ง
  • มีปัสสาวะข้นเป็นสีเหลืองเข้ม
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ผิวแห้ง

อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ให้ปรึกษาแพทย์ทันที หากมีอาการผิดปกติต่างๆ

ควรไปพบหมอเมื่อใด

ถึงแม้ว่าจะพบได้ทั่วไป ภาวะขาดน้ำอาจเป็นอันตรายมากหากไม่ได้รับการรักษา ให้แจ้งแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีไข้
  • ท้องเสียมากกว่า 2 วัน
  • ปัสสาวะน้อยลง
  • มึนงง
  • อ่อนเพลีย
  • สมาธิสั้น
  • เป็นลม
  • เจ็บหน้าอกหรือช่องท้อง

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะขาดน้ำ

ภาวะขาดน้ำมักเกิดจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ สภาพอากาศ การออกกำลังกาย และอาหาร นอกจากนี้ ยังเกิดจากโรคที่ทำให้เกิดการขาดน้ำ เช่น ท้องร่วงเรื้อรัง อาเจียน และเบาหวาน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงภาวะขาดน้ำ

ทารกและทารกแรกเกิดมีความเสี่ยงมากกว่า ในการมีภาวะขาดน้ำเนื่องจากน้ำหนักร่างกายน้อย ทำให้ร่างกายไวต่อการสูญเสียน้ำ แม้เพียงปริมาณเล็กน้อย

ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงมากด้วยเช่นกัน เนื่องจากลืมดื่มน้ำ และไม่ได้ระลึกว่าจำเป็นต้องดื่มน้ำ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคไต โรคพิษสุรา สามารถมีภาวะขาดน้ำได้

นักกีฬา โดยเฉพาะผู้ที่เล่นกีฬาที่ต้องใช้แรงกายมาก เช่น วิ่งมาราธอน ไตรกีฬา และการแข่งขัน สามารถมีภาวะขาดน้ำได้จากการสูญเสียน้ำในร่างกายผ่านทางเหงื่อ

ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องใช้แรงงาน เช่น คนงานก่อสร้าง อยู่กลางแดดเป็นประจำ และสูญเสียน้ำจากเหงื่อ

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะขาดน้ำ

แพทย์อาจทำการทดสองแบบง่ายหลายประการ หรือส่งตัวอย่างเลือดหรือปัสสาวะไปตรวจในห้องปฏิบัติการ

  • มีอาการทางร่างกายบางประการที่แพทย์สามารถใช้เป็นข้อมูลวินิจฉัย เช่น อาการสับสน ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว (ใจสั่น) มีไข้ และผิวหนังไม่ยืดหยุ่น
  • การตรวจเลือด ใช้เพื่อให้ทราบว่าไตทำงานได้ดีหรือไม่และเพื่อตรวจสอบระดับโซเดียม โพแทสเซียม และอิเล็กโตรไลต์อื่นๆ ในร่างกาย
  • การตรวจปัสสาวะ มีประโยชน์มากสำหรับการวินิจฉัยภาวะขาดน้ำเนื่องจากปัสสาวะของผู้ที่มีภาวะขาดน้ำจะมีสีคล้ำกว่าและข้นกว่า

เพื่อเป็นการตรวจภาวะขาดน้ำในเด็กแรกเกิด แพทย์มักตรวจบริเวณขม่อมที่กะโหลกศีรษะ เหงื่อ และลักษณะของกล้ามเนื้อบางประการ

การรักษาภาวะขาดน้ำ

แน่นอนว่าในการชดเชยการสูญเสียน้ำในร่างกายนั้น คุณจำเป็นต้องดื่มของเหลวในปริมาณมาก เช่น น้ำเปล่า น้ำผลไม้คั้น น้ำผลไม้ แต่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและน้ำอัดลม

เด็กแรกเกิดและเด็กเล็กที่มีภาวะขาดน้ำ ไม่ควรให้ดื่มน้ำ เนื่องจากน้ำจะยิ่งเจือจางอิเล็กโตรไลต์และแร่ธาตุต่างๆ ที่มีระดับต่ำอยู่แล้วในร่างกาย องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้สารละลายน้ำที่มีส่วนผสมของโพแทสเซียม เกลือ และน้ำตาลเพื่อฟื้นฟูสมดุลของเหลวในร่างกาย

ในกรณีที่มีภาวะขาดน้ำที่รุนแรง คุณจำเป็นต้องไปโรงพยาบาลหรือติดต่อแพทย์ทันทีเพื่อรับยาที่เหมาะสม ยาดังกล่าว ได่แก่ ยาแก้ท้องร่วง ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน และยาแก้ไข้

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการภาวะขาดน้ำ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือภาวะขาดน้ำได้

  • จิบน้ำทีละน้อย
  • ดื่มเครื่องดื่มคาร์บอเนต/มีส่วนประกอบของอิเล็กโทรไลต์
  • ดูดแท่งน้ำแข็งที่ทำจากน้ำผลไม้ และเครื่องดื่มให้พลังงานสำหรับการเล่นกีฬา
  • จิบน้ำโดยใช้หลอด

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา