คำจำกัดความ
ลำไส้ใหญ่อักเสบ คืออะไร
ลำไส้ใหญ่อักเสบ (Colitis) หมายถึงอาการอักเสบของเยื่อบุภายในลำไส้ใหญ่ และอาจมีความเกี่ยวข้องกับอาการท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืด และมีเลือดปนในอุจจาระ อาการอักเสบนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- การติดเชื้อ
- การขาดเลือดที่ไปเลี้ยงลำไส้
- โรคลำไส้อักเสบ เช่น โรคโครห์น (Crohn’s disease) หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดมีแผล (ulcerative colitis)
- อาการแพ้
- การผ่าตัดลำไส้
ลำไส้ใหญ่อักเสบ พบได้บ่อยได้แค่ไหน
ลำไส้ใหญ่อักเสบสามารถพบได้กับคนทุกช่วงวัยและสามารถพบได้ทั่วโลก สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์
อาการ
อาการลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นอย่างไร
อาการทั่วไปมีดังนี้
- อาจมมีอาการปวดท้องและท้องอืดแบบ เป็นๆ หายๆ
- อุจจาระเป็นเลือด
- ลำไส้มีการบีบตัวอยู่ตลอด
- มีภาวะขาดน้ำ
- มีอาการท้องร่วง
- มีไข้
อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ
ควรไปพบหมอเมื่อไร
ถ้าคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของลำไส้ใหญ่อักเสบ
โดยส่วนใหญ่แล้วสาเหตุของการเกิดลำไส้ใหญ่อักเสบ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
สิ่งที่อาจเป็นสาเหตุในการเกิดลำไส้ใหญ่อักเสบได้ มีดังนี้
- การติดเชื้อที่มาจากไวรัสหรือปรสิต
- อาหารเป็นพิษเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย
- โรคโครห์น
- ภาวะลำไส้ใหญ่ขาดเลือด
- ผ่านการฉายรังสีที่บริเวณลำไส้ใหญ่
- ภาวะลำไส้เน่าอักเสบ (Necrotizing enterocolitis) ในเด็กแรกเกิด
- การอักเสบของลำไส้ใหญ่ที่เกิดจากการติดเชื้อคลอสไทรเดียม ดิฟิซายล์ (Clostridium Difficile)
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ
คุณหมอจะตรวจร่างกาย และถามถึงอาการที่คุณเป็น เช่น
- มีอาการมานานเท่าไร
- อาการปวดรุนแรงแค่ไหน
- มีอาการปวดบ่อยแค่ไหน แล้วแต่ละครั้งปวดนานเท่าไร
- มีอาการท้องร่วงบ่อยหรือไม่
- คุณได้เดินทางไปไหนบ้างหรือไม่
- เร็วๆ นี้ ได้รับยาปฏิชีวนะบ้างหรือเปล่า
คุณหมอสามารถวินิจฉัยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบได้ จากการสอดท่อเข้าไปทางทวารหนักด้วยเครื่องสร้างสัญญาณแบบยืดหยุ่น (flexible sigmoidoscopy) หรือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colonoscope) เพื่อตรวจสอบบริเวณเฉพาะของลำไส้ อาจต้องมีการตัดชิ้นเนื้อ เพื่อตรวจดูความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบได้
วิธีอื่นๆ ที่สามารถบ่งชี้โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ
- ซีที สแกน (CT Scan) ที่บริเวณท้อง
- ตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ที่บริเวณท้อง
- การสวนแป้งแบเรียม (barium enema)
- การเพาะเชื้อจากอุจจาระ (Stool culture)
- ตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิและปรสิต
วิธีรักษาลำไส้ใหญ่อักเสบ
การรักษาโรคลำไส้ใหญ่ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค
ลำหรับโรคลำไส้ใหญ่อักเสบที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือไม่สามารถควบคุมได้ การรักษาในเบื้องต้น (ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใดก็ตาม) จะมีเป้าหมายเพื่อทำให้สัญญาณชีพของผู้ป่วยทรงตัว และช่วยควบคุมอาการปวด หากจำเป็น ภาวะขาดน้ำสามารถรักษาได้ด้วยการดื่มน้ำ แต่สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถดื่มน้ำทางปากได้ หรือมีความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย อาจต้องให้น้ำทางสายให้อาหารแทน
โดยปกติมักมีการใช้ยา เพื่อควบคุมอาการอักเสบที่ลำไส้ ตัวยาที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคน
ปกติแล้วจะไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ นอกจากจำเป็นต้องใช้ เพื่อจัดการกับแบคทีเรียบางตัว เพื่อลดระยะเวลาในการติดเชื้อ
ระมัดระวังในการซื้อยากินเองเพื่อรักษาอาการท้องร่วง โดยเฉพาะหากคุณมีอาการปวดท้องและมีไข้ ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนการใช้ยา
โดยส่วนใหญ่ มักไม่ใช้การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ และการเยียวยาตนเอง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่จะช่วยรักษาอาการลำไส้ใหญ่อักเสบ
ลักษณะไลฟ์สไตล์และการเยียวยาด้วยตนเองต่อไปนี้อาจจะช่วยคุณรักษาอาการ ลำไส้ใหญ่อักเสบ
- ในเบื้องต้นให้หลีกเลี่ยงอาหารแข็งๆ รับประทานอาหารที่เป็นน้ำใสๆ ให้มากขึ้น จะช่วยคืนน้ำให้ร่างกาย และช่วยพักปลายลำไส้ใหญ่ได้
- ปรับเปลี่ยนอาหารเพื่อลดอาการของโรคอาจช่วยให้การรักษาเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น แต่วิธีการนี้ไม่สามารถรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบบางชนิดได้
- ควรจดบันทึกอาหารที่กินในแต่ละวัน และหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้อาการแย่ลง
- หลีกเลี่ยงอาหารต่อไปนี้หากคุณมีอาการลำไส้ใหญ่อักเสบ
- อาหารเลี่ยนๆ หรืออาหารทอด
- ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมหรือมีส่วนผสมของนม
- อาหารที่มีใยอาหารสูงบางชนิด เช่น ป็อปคอร์น เมล็ดพืช ถั่ว และข้าวโพด
- คนที่ไม่ทนต่อแลคโตส (lactose intolerance) ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์นมที่มีน้ำตาลแลคโตส
หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmr]