โรคตับแข็ง
โรคตับแข็ง (Cirrhosis) เกิดจากการที่ตับอักเสบทำให้เนื้อเยื่อตับเป็นพังผืด เกิดความเสียหายและไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการขัดขวางกระแสเลือดภายในตับบางส่วน โดยมีปัจจัยเสี่ยงคือพันธุกรรม การดื่มแอลกอฮอล์ และโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ โรคตับแข็ง คืออะไร โรคตับแข็ง (Cirrhosis) เป็นภาวะที่ตับได้รับความเสียหายและไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม มักเกิดขึ้นเมื่อตับมีการอักเสบทำให้เนื้อเยื่อตับเป็นพังผืด และไปขัดขวางกระแสเลือดภายในตับเป็นบางส่วน ทั้งนี้ ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดภายในร่างกาย ทำหน้าที่สำคัญหลายประการ โดยหน้าที่หลักของตับ ได้แก่ ดูดซึมและสะสมสารอาหารที่จำเป็นในระหว่างการย่อยอาหาร ได้แก่ โปรตีน น้ำตาล และไขมัน แล้วลำเลียงสารอาหารเหล่านี้ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สังเคราะห์โปรตีนขึ้นใหม่เพื่อสร้างสารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด และสารภูมิคุ้มกันเพื่อช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายและต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ สังเคราะห์น้ำดีเพื่อสลายไขมันในอาหารในระหว่างย่อยอาหารเพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมไขมัน คอเลสเตอรอล และวิตามินที่ละลายในไขมัน กรองเลือดเพื่อกำจัดของเสีย เช่น สารพิษต่าง ๆ ไขมันส่วนเกิน และคอเลสเตอรอล ของเสียดังกล่าวก่อตัวขึ้นเป็นอุจจาระแล้วปลดปล่อยออกจากร่างกายในระหว่างการขับถ่าย โดยปกติแล้ว ตับสามารถฟื้นฟูและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายได้ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความเสียหายรุนแรงเกินไปเป็นเวลานาน ส่งผลให้เนื้อเยื่อตับกลายเป็นเนื้อเยื่อแผลเป็น ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพังผืด (fibrosis) การเกิดพังผืดของตับเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เมื่อเวลาผ่านไปก็จะก่อให้เกิดตับแข็งในที่สุด โรคตับแข็งในระยะเริ่มแรก ตับยังคงทำงานและเมื่อเข้าสู่สู่ระยะต่อไปตับอาจล้มเหลวได้ ควรเข้ารับการตรวจทันทีเพื่อป้องกันตับล้มเหลว (liver failure) โรคตับแข็ง พบได้บ่อยเพียงใด โรคตับแข็งพบได้ทั่วไป โดยมักพบอยู่ในผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังระยะสุดท้าย (chronic liver disease) […]