โลหิตจางจากการขาดโฟเลต (Folate Deficiency Anemia) คือการขาดกรดโฟลิคในเลือด ที่ช่วยร่างกายในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อมีปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ คุณก็จะเป็นโรคโลหิตจาง
โปรดแจ้งให้ทราบหากข้อมูลไม่ถูกต้อง
โปรดแจ้งให้ทราบหากข้อมูลไม่ครบถ้วน
แม้ว่าเราอาจไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรค แต่เราก็พร้อมรับฟังความคิดเห็นของท่าน โปรดแสดงความคิดเห็นในกล่องข้อความด้านล่าง
โลหิตจางจากการขาดโฟเลต (Folate Deficiency Anemia) คือการขาดกรดโฟลิคในเลือด ที่ช่วยร่างกายในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อมีปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ คุณก็จะเป็นโรคโลหิตจาง
โลหิตจางจากการขาดโฟเลต (Folate Deficiency Anemia) คือการขาดกรดโฟลิคในเลือด กรดโฟลิคเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง ที่ช่วยร่างกายในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง หากคุณมีปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ คุณก็จะเป็นโรคโลหิตจาง
เซลล์เม็ดเลือดแดงจะลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย หากคุณมีภาวะโลหิตจาง เลือดจะลำเลียงออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ได้ไม่เพียงพอ และเมื่อออกซิเจนไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ร่างกายไม่สามารถทำงานได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น
ระดับของกรดโฟลิคที่ต่ำยังสามารถทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง เนื่องจากเม็ดเลือดแดงโตผิดปกติ (megaloblastic anemia) ซึ่งเป็นสภาวะที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ มีจำนวนน้อยกว่า และยังเป็นรูปทรงรีไม่ใช่วงกลม ในบางครั้งเซลล์เม็ดเลือดแดงเหล่านี้ยังมีชีวิตสั้นกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงตามปกติ
คนส่วนใหญ่จะได้รับกรดโฟลิคจางอย่างเพียงพอจากอาหารที่รับประทาน แต่บางคนอาจจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือมีปัญหากับการดูดซึมสารอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ว่า คุณควรจะรับประทานวิตามินเสริมที่มีกรดโฟลิคหรือไม่ ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้รับกรดโฟลิคที่เพียงพอ อาจทำให้ทารกเกิดความบกพร่องแต่กำเนิดอย่างรุนแรง
โลหิตจางจากการขาดโฟเลตสามารถส่งผลกระทบได้กับคนทุกช่วงวัย สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์
อาการของภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลตมีดังต่อไปนี้
อาการโลหิตจางจากการขาดโฟเลตอาจดูเหมือนกับสภาวะเกี่ยวกับเลือด หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ควรไปหาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคทุกครั้ง
อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับแพทย์
ถ้าคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
คุณสามารถเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลต ในกรณีดังนี้
ทารกบางคนเกิดมาโดยไม่มีความสามารถในการดูดซึมกรดโฟลิค ซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง เนื่องจากเม็ดเลือดแดงโตผิดปกติ ที่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่ และรูปร่างผิดปกติ การรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยป้องกันปัญหา เช่น ความสามารถในการใช้เหตุผลและการเรียนรู้ต่ำ
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและซักประวัติของคุณ และสอบถามความรู้สึกของคุณ นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจเลือดเพื่อตรวจปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดแดง และดูว่าร่างกายของคุณมีกรดโฟลิคเพียงพอหรือไม่ การทดสอบอาจมีดังต่อไปนี้
นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบปริมาณของวิตามินบี 12 อีกด้วย บางคนมีที่ระดับของกรดโฟลิคน้อยเกินไป อาจจะมีระดับของวิตามินบี 12 น้อยด้วยเช่นกัน สภาวะทั้งสองนี้มีอาการที่คล้ายกัน
นอกจากนี้อาจต้องมีการตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยแบเรียม เพื่อดูว่าปัญหาที่ระบบทางเดินอาหารนั้น เป็นสาเหตุหรือไม่ ที่ไม่ค่อยพบบ่อยก็คืออาจต้องมีการตรวจไขกระดูกอีกด้วย (bone marrow examination)
เป้าหมายคือการระบุและรักษาสาเหตุของอาการขาดโฟเลต แพทย์จะทำการเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุด โดยขึ้นอยู่กับ
การรักษาอาจมีดังนี้
คุณอาจจำเป็นต้องรับกรดโฟลิคเสริมเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ถึง 3 เดือน อาจเป็นแบบยาเม็ดหรือยาฉีด ควรรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิคสูงและลดการดื่มสุรา นอกจากนี้ปัญหาที่ระบบทางเดินอาหารยังสามารถทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ ดังนั้น แพทย์อาจจะรักษาที่อาการนี้ก่อน
รับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิคสูงเพื่อที่จะได้ไม่เกิดภาวะโลหิตจางอีกครั้ง อาหารเหล่านี้คือขนมปังและซีเรียลเสริมอาหาร ผลไม้ตระกูลส้ม และผักใบเขียวเข้ม
หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Folate-Deficiency Anemia. http://www.hopkinsmedicine.org/healthlibrary/conditions/hematology_and_blood_disorders/anemia_of_folate_deficiency_85,P00089/. Accessed Mar 19, 2017.
Folate-deficiency anemia. https://medlineplus.gov/ency/article/000551.htm. Accessed Mar 19, 2017.
Folic Acid Deficiency Anemia – Topic Overview. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/tc/folic-acid-deficiency-anemia-topic-overview#1. Accessed Mar 19, 2017.