backup og meta

ตรวจครรภ์ก่อนคลอด ขั้นตอนสำคัญ ที่ไม่ควรละเลย

ตรวจครรภ์ก่อนคลอด ขั้นตอนสำคัญ ที่ไม่ควรละเลย

ตรวจครรภ์ก่อนคลอด เป็นการตรวจสุขภาพมารดา สุขภาพครรภ์และสุขภาพทารกระหว่างที่ตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้ทราบถึงภาวะและความปลอดภัยของผู้ที่เป็นแม่และลูกน้อยในครรภ์ โดยคุณหมอจะช่วยตรวจดูพัฒนาการของทารก การเจริญเติบโตของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ก่อนคลอด รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ หากพบความผิดปกติจะได้แก้ไขหรือหาทางดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ 

[embed-health-tool-due-date]

ตรวจครรภ์ก่อนคลอดสำคัญอย่างไร

การตรวจครรภ์ก่อนคลอด เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญของการตั้งครรภ์ที่จะช่วยให้คุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพดี และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์หรืออาจเกิดขึ้นขณะคลอด ในทุก ๆ การ ตรวจครรภ์ก่อนคลอด แพทย์จะสามารถรับรู้ถึงความผิดปกติ พัฒนาการ ตลอดจนความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ และเมื่อพบความผิดปกติแพทย์ก็สามารถที่จะหาวิธีรับมือหรือลดความเสี่ยงนั้นได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ การตรวจครรภ์ก่อนคลอดจึงช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของแม่และเด็ก รวมถึงลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อแม่และเด็กได้ด้วย

ตรวจครรภ์ก่อนคลอด ต้องตรวจอะไรบ้าง

การ ตรวจครรภ์ก่อนคลอด มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ แต่หลัก ๆ แล้ว มักมีการตรวจคัดกรอง ดังนี้

การตรวจเลือด

การตรวจเลือดเพื่อหาความเสี่ยงของโรคติดเชื้อและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อีกทั้งโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่นโรคโลหิตจางธาลาสซีเมีย

การอัลตร้าซาวด์

การ ตรวจครรภ์ก่อนคลอด ด้วยการอัลตร้าซาวด์ เป็นรูปแบบการตรวจครรภ์ที่น่าจะเป็นที่คุ้นหูมากที่สุดสำหรับคนท้อง กระบวนการอัลตร้าซาวด์นี้มักเกิดขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18-20 ของการตั้งครรภ์ และแม่ท้องมักจะได้รับการอัลตร้าซาวด์อย่างน้อยไตรมาสละหนึ่งครั้ง เพื่อตรวจดูพัฒนาการของทารก เพศของทารก หรือตรวจดูความผิดปกติของทารกในครรภ์

การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 

การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นการ ตรวจครรภ์ ที่มักเริ่มตรวจในช่วงสัปดาห์ที่ 24-28 ของการตั้งครรภ์ โดยคุณหมอจะตรวจด้วยวิธีวัดระดับน้ำตาลในเลือด (Glucose challenge screening) เพื่อดูว่ามีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่

การตรวจหาติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส กรุ๊ปบี

การตรวจนี้มักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 35-37 ของการตั้งครรภ์ คุณหมอจะทำการตรวจหาแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส กรุ๊ปบี (Group B Streptococcus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดบวม และก่อให้เกิดการติดเชื้อชนิดรุนแรงต่อทารกในครรภ์ ในกรณีที่ตรวจพบเชื้อนี้ แพทย์จะนำเชื้อออกจากช่องทวารหนัก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

การเจาะตรวจน้ำคร่ำ

การเจาะตรวจน้ำคร่ำ (Amniocentesis) มักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 15-20 ของการตั้งครรภ์ โดยคุณหมอจะเจาะตรวจน้ำคร่ำเพื่อดูว่าทารกในครรภ์มีภาวะความบกพร่องของโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรม ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด หรือไม่

การตรวจชิ้นเนื้อรก

การตรวจชิ้นเนื้อรก (Chorionic villus sampling หรือ CVS) เป็นกระบวนการ ตรวจครรภ์ ด้วยการตรวจเนื้อเยื่อรกที่มดลูก เพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซม ภาวะดาวน์ซินโดรม หรือความผิดปกติของระบบพันธุกรรมอื่น ๆ โดยกระบวนการนี้มักเเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 9-13 ของการตั้งครรภ์

ตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ 

การตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ (Nuchal translucency screening) คือ กระบวนการตรวจที่ใช้อัลตราซาวน์เพื่อตรวจดูความหนาบริเวณคอของทารกในครรภ์ มักตรวจในช่วงสัปดาห์ที่ 11-14 ของการตั้งครรภ์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมที่อาจนำไปสู่อาการดาวน์ซินโดรมในทารกได้

ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์

ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์หรือช่วงก่อนคลอด คุณหมอจะทำการตรวจอัตราการเต้นหัวใจของทารกในครรภ์ เพื่อดูว่าหัวใจของทารกเต้นด้วยอัตราปกติที่ 120-160 ครั้งต่อนาทีหรือไม่ หากอัตราการเต้นหัวใจของทารกผิดปกติ อาจหมายถึงทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือเกิดความผิดปกติที่มดลูก

ตรวจคัดกรองก่อนคลอดอาจแตกต่างกันไปในคุณแม่ตั้งครรภ์แต่ละคน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเห็นของคุณหมอ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจครรภ์ก่อนคลอด เพราะหากคุณหมอพบความเสี่ยงหรือความผิดปกติใด ๆ จะได้หาวิธีรับมือที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยต่อคุณแม่และทารกในครรภ์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Prenatal Care. https://www.plannedparenthood.org/learn/pregnancy/prenatal-care. Accessed May 12, 2022.

Prenatal care. https://www.womenshealth.gov/a-z-topics/prenatal-care. Accessed May 12, 2022.

What tests might I need during pregnancy?. https://www.nichd.nih.gov/health/topics/preconceptioncare/conditioninfo/tests-needed. Accessed May 12, 2022.

Common Tests During Pregnancy. https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/common-tests-during-pregnancy. Accessed May 12, 2022.

Tests, scans and checks – pregnancy and labour. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/ServicesAndSupport/tests-scans-and-checks-pregnancy-and-labour. Accessed May 12, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/01/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง

อาการใกล้คลอด มีอะไรบ้าง และวิธีรับมือเมื่อมีอาการใกล้คลอด


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 30/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา