backup og meta

ป้องกันภาวะคลอดยาก ทำได้อย่างไรบ้าง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 30/01/2023

    ป้องกันภาวะคลอดยาก ทำได้อย่างไรบ้าง

    ภาวะหนึ่งในการคลอดบุตรที่อาจพบได้ก็คือ ภาวะคลอดยาก ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ทารกมีขนาดตัวใหญ่ ทารกคลอดก่อนกำหนด คุณแม่มีน้ำหนักตัวมาก ภาวะนี้อาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกได้ อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้สาเหตุและวิธีการ ป้องกันภาวะคลอดยาก อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะคลอดยากและปัญหาสุขภาพที่อาจตามมาได้

    ภาวะคลอดยาก

    โดยปกติ เมื่อถึงเวลาของการคลอดทารกในครรภ์จะหันหัวเข้าอุ้งเชิงกราน เพื่อเตรียมพร้อมคลอด แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิด ภาวะคลอดยาก เกิดขึ้น คือ

    ปัจจัยเหล่านี้ อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด ภาวะคลอดยาก ดังนั้น หากมีวิธี ป้องกันภาวะคลอดยาก ไม่ให้เกิดขึ้น ก็จะทำให้คุณแม่และลูกน้อยรู้สึกสบาย ลดปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาในขณะคลอดได้

    ป้องกันภาวะคลอดยาก

    สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่กลัวจะเกิด ภาวะคลอดยาก ควรดูแลตัวเองดังนี้

    การฝากครรภ์

    การฝากครรภ์เป็นการดูแลครรภ์ของคุณโดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ คุณหมอจะทำการนัดหมายคุณเพื่อมาตรวจครรภ์เป็นระยะ เพื่อดูสุขภาพโดยรวมของคุณแม่และทารกในครรภ์ ดังนี้

    • ตรวจสุขภาพของคุณแม่และทารก
    • คุณหมอจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่คุณเพื่อการดูแลครรภ์ให้แข็งแรง รวมถึงคำแนะนำในการกินอาหารและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขณะตั้งครรภ์
    • คุณหมอแนะนำทางเลือกในการดูแลระหว่างตั้งครรภ์ รวมทั้งการคลอด
    • ได้รับอัลตราซาวด์เพื่อดูทารกในครรภ์
    • ตรวจคัดกรองอาการบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นในทารกอย่าง ดาวน์ซินโดรม (Down’s Syndrome)
    • ตรวจเลือดเพื่อหาโรคซิฟิลิส เอชไอวี และไวรัสตับอักเสบบี
    • ตรวจคัดกรองเซลล์เคียวและธาลัสซีเมีย

    เมื่อฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล คุณจะได้รับการดูแลครรภ์ รวมถึงดูแลลูกน้อยในครรภ์อย่างใกล้ชิดจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ

    ควบคุมการรับประทานอาหาร

    คุณแม่ตั้งครรภ์ควรควบคุมการรับประทานอาหาร เนื่องจากถ้ารับประทานอาหารมากเกินความจำเป็นจะส่งผลต่อน้ำหนักตัว นอกจานั้น คุณแม่ตั้งครรภ์และทาทารกในครรภ์ควรจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย โดยคุณควรได้รับแคลอรี่เพิ่มเติมจากปกติ 200-300 แคลอรี่จากอาหารต่าง ๆ เช่น เนื้อไม่ติดมัน ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี แน่นอนว่าอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยสารอาหารในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

    แนวทางการรับประทานอาหารระหว่างตั้งครรภ์

    • แคลเซียม เพื่อสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง แนะนำให้รับประทาน 1,000 มิลลิกรัม/วัน สำหรับสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร
    • กรดโฟลิก (Folic Acid) เพื่อเพิ่มเลือดที่ร่างกายต้องการในระหว่างตั้งครรภ์ แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัม/วัน สำหรับสตรีมีครรภ์
    • ธาตุเหล็ก เป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือดแดงที่นำออกซิเจนไปสู่ร่างกาย อีกทั้งช่วยให้คุณสร้างความต้านทานต่อความเครียด โรค ความอ่อนล้า และภาวะซึมเศร้า แนะนำให้รับประทาน 27 มิลลิกรัม/วัน
    • วิตามินเอ แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ 770 ไมโครกรัม/วัน
    • วิตามินดี ทำงานร่วมกับแคลเซียมเพื่อกระดูก สุขภาพผิวและสายตา แนะนำให้รับประทาน 600 หน่วยสากลต่อวัน
    • ดีเอชเอ แนะนำให้ได้รับดีเอชเออย่างน้อย 200 มิลลิกรัม/วัน ในสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
    • โปรตีน เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต ดังนั้น ปริมาณการรับโปรตีนของแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนนั่นเอง
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    • คาเฟอีน ควรจำกัดปริมาณคาเฟอีน
    • กินอาหารรสเค็มในปริมาณที่พอเหมาะ

    ควบคุมน้ำหนักตามแพทย์กำหนด

    การควบคุมน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เพราะหากคุณมีน้ำหนักที่น้อยเกินไป ก็อาจส่งผลทำให้ทารกตัวเล็กเกินไปได้เช่นกัน ซึ่งทารกที่เกิดมาตัวเล็กเกินไปก็อาจมีปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บป่วย รวมถึงพัฒนาการล่าช้ากว่าปกติ

    แต่ถ้าคุณมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ก็สามารถส่งผลทำให้ทารกตัวใหญ่เกินไปได้เช่นกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในการคลอด ภาวะคลอดยาก ต้องทำการผ่าคลอด และอาจส่งผลให้ทารกเป็นโรคอ้วนในช่วงวัยเด็กได้

    พบคุณหมอตามนัดหมายเสมอ

    ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนเดียวกับการฝากครรภ์ โดยคุณหมอจะทำการนัดหมายให้คุณไปตรวจร่างกาย เพื่อดูสุขภาพของคุณแม่และทารก ซึ่งคุณควรไปตามนัดหมายของคุณหมอเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่า ในระหว่างตั้งครรภ์คุณและลูกน้อยไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เกิดขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 30/01/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา