backup og meta

คนท้องเบื่ออาหาร เป็นอันตรายต่อแม่และเด็กหรือไม่

คนท้องเบื่ออาหาร เป็นอันตรายต่อแม่และเด็กหรือไม่

คนท้องเบื่ออาหาร เป็นอาการที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ ที่ส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่อยากรับประทานอาหารที่เคยทาน หรือได้กลิ่นอาหารบางชนิดแล้วเกิดอาการคบื่นไส้ อยากอาเจียน ยังไม่มีเหตุผลที่แน่ชัดว่า อาการเบื่ออาหารขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่อาจมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเอชซีจี (HCG) หรือฮอร์โมนคนท้อง ก็เป็นได้

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

คนท้องเบื่ออาหาร อาการที่ควรสังเกต

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หลายคนประสบกับปัญหาเบื่ออาหาร ไม่สามารถรับประทานอาหารบางอย่างได้โดยไม่มีสาเหตุ แม้จะเคยเป็นอาหารที่เคยชอบรับประทานก็ตาม หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการเบื่ออาหาร ก็อาจมีแนวโน้มที่จะมีอาการเวียนหัวในช่วงเช้า คลื่นไส้ และอาเจียน ซึ่งทำให้เกิดความรำคาญตลอดทั้งวัน แม้ว่าอาการเบื่ออาหารและเวียนหัวในตอนเช้า จะเกิดในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์เปราะบางที่สุด แต่อาการเหล่านี้ก็อาจมีต่อเนื่องไปจนถึง 9 เดือน หรือนานกว่านั้นก็ได้ โดยอาการนี้จะเป็น ๆ หาย ๆ และยังคงเป็นอาการที่ไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดได้

ฮอร์โมนกับการเบื่ออาหาร

ยังไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัดว่า อาการเบื่ออาหารขณะตั้งครรภ์มีสาเหตุมาจากสิ่งใด แต่หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์นั้น มักเริ่มจากฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมนเอชซีจี (HCG) หรือฮอร์โมนคนท้อง ถือเป็นปัจจัยหลักของการเกิดอาการนี้ ฮอร์โมนชนิดนี้มีบทบาทสำคัญตลอดการตั้งครรภ์ และปริมาณของฮอร์โมนจะเพิ่มขึ้นในระดับสูงสุดในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยระดับสูงสุดจะอยู่ในช่วงสัปดาห์ที่ 11 ของการตั้งครรภ์ จากนั้นจะลดระดับลง ในช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เกิดอาการแพ้ท้อง เวียนศีรษะ และอาเจียน

ฮอร์โมนชนิดอื่น ๆ อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง ในการรับรู้กลิ่นและรสชาติ โดยหญิงตั้งครรภ์มักจะไวต่อกลิ่นและรสชาติมากขึ้น อาหารชนิดใดที่มีกลิ่นแรง จะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ แต่นี่อาจไม่ใช่กฎตายตัวของการเกิดอาการเบื่ออาหารขณะตั้งครรภ์ เพราะในบางกรณี เช่น หลายคนอาจไม่กินไก่ในระหว่างการตั้งครรภ์ แม้ว่าเนื้อไก่ไม่ได้มีกลิ่นแรงก็ตาม

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาจทำให้มีการสร้างน้ำลายมากขึ้น และสำหรับบางคน การสร้างน้ำลายที่มากขึ้น อาจให้ความรู้สึกเหมือนมีรสชาติโลหะอยู่ในปาก ซึ่งเป็นรสชาติที่ไม่สามารถกำจัดออกไปได้ แม้ว่าอาการนี้จะไม่ส่งผลต่อการเบื่ออาหารโดยตรง แต่ก็ทำให้หลายคนหมดความอยากอาหารไปได้มากเลยทีเดียว

เบื่ออาหารขณะตั้งครรภ์อันตรายมากน้อยแค่ไหน

สำหรับผู้เชี่ยวชาญแล้ว ฮอร์โมนเป็นทั้งต้นเหตุและจุดจบของอาการอยากอาหาร แต่สำหรับอีกหลายคนเชื่อว่า อาการเบื่ออาหารร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียนนั้น อาจเกิดประโยชน์บางอย่างต่อคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ นั่นคือ การทำให้หญิงตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่อาจเป็นอันตรายทั้งต่อผู้เป็นแม่และทารกในครรภ์ รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดอาการแพ้ท้อง ก็มีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดการแท้ง หรือเสียชีวิตระหว่างตั้งครรภ์ และการคลอดก่อนกำหนด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pregnancy: Why Your Favorite Foods Gross You Out. http://www.webmd.com/baby/features/pregnancy-food-cravings-aversions#1. Accessed March 16, 2017.

Food aversions during pregnancy. https://www.babycenter.com/pregnancy/your-body/food-aversions_40007982. Accessed October 28, 2021

Appetite changes and food aversions during pregnancy. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/appetite-changes-and-food-aversions-during-pregnancy. Accessed October 28, 2021

Food aversion during pregnancy and its association with nutritional status of pregnant women in Boricha Woreda, Sidama Regional State, Southern Ethiopia, 2019. A community based mixed crossectional study design. https://reproductive-health-journal.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12978-021-01258-w. Accessed October 28, 2021

Food aversions and cravings during pregnancy: Prevalence and significance for maternal nutrition in Ethiopi. https://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/156482659801900104. Accessed October 28, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/08/2023

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ขิง ช่วยลดอาการแพ้ท้องได้จริงหรือ

อาการคนท้อง สัญญาณแปลก ๆ ที่ไม่บอกก็ไม่รู้ว่าคุณ ตั้งครรภ์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 10/08/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา