backup og meta

น้ำคร่ำน้อย คือ อะไร อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการรักษา

น้ำคร่ำน้อย คือ ภาวะที่ระดับของน้ำคร่ำภายในครรภ์ต่ำเกินไป จนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ และเพิ่มความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด ปัญหาการคลอดยาก การผ่าคลอด หรืออาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้ ดังนั้น คุณแม่จึงควรคอยสังเกตอาการของภาวะน้ำคร่ำน้อย และเข้ารับการรักษาในทันทีเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของทารกในครรภ์

[embed-health-tool-due-date]

น้ำคร่ำน้อย คือ อะไร

ภาวะน้ำคร่ำน้อย เป็นภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อระดับน้ำคร่ำ มีน้อยเกินไปในช่วงตั้งครรภ์ น้ำคร่ำมีบทบาทสำคัญ ในการรักษากลไกชีวิตของทารกที่อยู่ในครรภ์ น้ำคร่ำปกป้องและช่วยทารกในด้านพัฒนาการของอวัยวะต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อ แขนขา ปอดและระบบขับถ่าย ของเหลวชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นทันทีหลังจากกถุงน้ำคร่ำเริ่มสร้างขึ้น ประมาณ 12 วันหลังจากมีการปฏิสนธิ ในช่วงแรก น้ำคร่ำถูกสร้างจากน้ำที่อยู่ในร่างกายของผู้เป็นแม่ จากนั้น ประมาณสัปดาห์ที่ 20 ปัสสาวะของทารกจะกลายเป็นสารหลักของน้ำคร่ำ ประมาณร้อยละ 8 ของผู้ที่ตั้งครรภ์ สามารถมีปริมาณน้ำคร่ำน้อยได้ และร้อยละ 4 มักได้รับการวินิจฉัยว่า มีภาวะน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ ภาวะนี้สามารถเกิดได้ทุกเมื่อขณะตั้งครรภ์ แต่ช่วงเวลาที่เกิดโดยส่วนใหญ่ อยู่ระหว่างช่วงที่ 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย

  • ปัจจัยแรกคือ การพิการแต่กำเนิด หมายถึง ทารกมีความผิดปกติทางด้านเจริญเติบโตของไต หรือทางเดินปัสสาวะ จึงส่งผลให้มีการผลิตปัสสาวะได้น้อย ทำให้ระดับน้ำคร่ำน้อยตามไปด้วย
  • ความผิดปกติของรก เป็นสาเหตุที่สองในการเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย การที่เลือดและสารอาหาร ไม่สามารถส่งไปยังทารกผ่านรกได้นั้น ทำให้การไหลเวียนของของเหลวในร่างกายของทารกหยุดลง
  • ประการที่สาม คือถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตก การรั่วไหลของน้ำคร่ำจากถุงน้ำคร่ำ ทำให้ปริมาณของน้ำคร่ำน้อยลง ซึ่งเกิดจากสาเหตุการฉีกขาดของเยื่อบุถุงน้ำคร่ำ อาการถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ส่งผลต่อปริมาณน้ำคร่ำที่ลดลงได้เช่นกัน
  • สาเหตุต่อมาคือ การตั้งครรภ์เกินกำหนด สามารถทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำน้อยได้ ผู้ที่ตั้งครรภ์เกิดกำหนด คือเกินกว่า 42 สัปดาห์ อาจประสบกับภาวะปริมาณน้ำคร่ำน้อย ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของรกลดลง
  • สาเหตุประการสุดท้าย คือภาวะแทรกซ้อนของผู้เป็นแม่ เช่น ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) ความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ เบาหวาน และภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย ล้วนเป็นสาเหตุการเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อยได้

ความเสี่ยงการเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะการตั้งครรภ์ ปริมาณน้ำคร่ำเป็นสิ่งสำคัญในการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ แขนขา ปอด และระบบย่อยอาหารของทารก โดยทั่วไป ทารกจะเริ่มหายใจและกลืนน้ำคร่ำเพื่อช่วยในการเติบโตของปอด ในช่วงอายุครรภ์ในไตรมาสที่สอง นอกจากนี้ น้ำคร่ำยังเป็นพื้นที่ที่ทำให้ทารกได้เคลื่อนไหวในครรภ์อีกด้วย

อาการของภาวะน้ำคร่ำน้อย

การวินิจฉัยภาวะน้ำคร่ำน้อย

การรักษาภาวะน้ำคร่ำน้อย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Low Amniotic Fluid Levels: Oligohydramnios. http://americanpregnancy.org/pregnancy-complications/oligohydramnios/. Accessed March 21, 2017.

What are the treatment options for low amniotic fluid during pregnancy? http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/expert-answers/low-amniotic-fluid/faq-20057964. Accessed March 21, 2017.

What Does Low Amniotic Fluid Really Mean. https://intermountainhealthcare.org/blogs/topics/intermountain-moms/2018/05/what-does-having-low-amniotic-fluid-really-mean/. Accessed November 04, 2019.

Oligohydramnios. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK562326/. Accessed March 16, 2022.

Amniotic fluid. https://medlineplus.gov/ency/article/002220.htm. Accessed March 16, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/08/2023

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความเครียดตอนท้อง ส่งผลอย่างไรต่อทารกในครรภ์

ลูกไม่ดิ้น ควรทำอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไข 08/08/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา