backup og meta

น้ำคร่ำน้อย คือ อะไร อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการรักษา

น้ำคร่ำน้อย คือ อะไร อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการรักษา
น้ำคร่ำน้อย คือ อะไร อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการรักษา

น้ำคร่ำน้อย คือ ภาวะที่ระดับของน้ำคร่ำภายในครรภ์ต่ำเกินไป จนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ และเพิ่มความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด ปัญหาการคลอดยาก การผ่าคลอด หรืออาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้ ดังนั้น คุณแม่จึงควรคอยสังเกตอาการของภาวะน้ำคร่ำน้อย และเข้ารับการรักษาในทันทีเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของทารกในครรภ์

[embed-health-tool-due-date]

น้ำคร่ำน้อย คือ อะไร

ภาวะน้ำคร่ำน้อย เป็นภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อระดับน้ำคร่ำ มีน้อยเกินไปในช่วงตั้งครรภ์ น้ำคร่ำมีบทบาทสำคัญ ในการรักษากลไกชีวิตของทารกที่อยู่ในครรภ์ น้ำคร่ำปกป้องและช่วยทารกในด้านพัฒนาการของอวัยวะต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อ แขนขา ปอดและระบบขับถ่าย ของเหลวชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นทันทีหลังจากกถุงน้ำคร่ำเริ่มสร้างขึ้น ประมาณ 12 วันหลังจากมีการปฏิสนธิ ในช่วงแรก น้ำคร่ำถูกสร้างจากน้ำที่อยู่ในร่างกายของผู้เป็นแม่ จากนั้น ประมาณสัปดาห์ที่ 20 ปัสสาวะของทารกจะกลายเป็นสารหลักของน้ำคร่ำ ประมาณร้อยละ 8 ของผู้ที่ตั้งครรภ์ สามารถมีปริมาณน้ำคร่ำน้อยได้ และร้อยละ 4 มักได้รับการวินิจฉัยว่า มีภาวะน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ ภาวะนี้สามารถเกิดได้ทุกเมื่อขณะตั้งครรภ์ แต่ช่วงเวลาที่เกิดโดยส่วนใหญ่ อยู่ระหว่างช่วงที่ 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย

  • ปัจจัยแรกคือ การพิการแต่กำเนิด หมายถึง ทารกมีความผิดปกติทางด้านเจริญเติบโตของไต หรือทางเดินปัสสาวะ จึงส่งผลให้มีการผลิตปัสสาวะได้น้อย ทำให้ระดับน้ำคร่ำน้อยตามไปด้วย
  • ความผิดปกติของรก เป็นสาเหตุที่สองในการเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย การที่เลือดและสารอาหาร ไม่สามารถส่งไปยังทารกผ่านรกได้นั้น ทำให้การไหลเวียนของของเหลวในร่างกายของทารกหยุดลง
  • ประการที่สาม คือถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตก การรั่วไหลของน้ำคร่ำจากถุงน้ำคร่ำ ทำให้ปริมาณของน้ำคร่ำน้อยลง ซึ่งเกิดจากสาเหตุการฉีกขาดของเยื่อบุถุงน้ำคร่ำ อาการถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ส่งผลต่อปริมาณน้ำคร่ำที่ลดลงได้เช่นกัน
  • สาเหตุต่อมาคือ การตั้งครรภ์เกินกำหนด สามารถทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำน้อยได้ ผู้ที่ตั้งครรภ์เกิดกำหนด คือเกินกว่า 42 สัปดาห์ อาจประสบกับภาวะปริมาณน้ำคร่ำน้อย ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของรกลดลง
  • สาเหตุประการสุดท้าย คือภาวะแทรกซ้อนของผู้เป็นแม่ เช่น ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) ความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ เบาหวาน และภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย ล้วนเป็นสาเหตุการเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อยได้

ความเสี่ยงการเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะการตั้งครรภ์ ปริมาณน้ำคร่ำเป็นสิ่งสำคัญในการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ แขนขา ปอด และระบบย่อยอาหารของทารก โดยทั่วไป ทารกจะเริ่มหายใจและกลืนน้ำคร่ำเพื่อช่วยในการเติบโตของปอด ในช่วงอายุครรภ์ในไตรมาสที่สอง นอกจากนี้ น้ำคร่ำยังเป็นพื้นที่ที่ทำให้ทารกได้เคลื่อนไหวในครรภ์อีกด้วย

อาการของภาวะน้ำคร่ำน้อย

หากภาวะน้ำคร่ำน้อยเกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของการตั้งครรภ์ ความรุนแรงจะมีมากกว่า เนื่องจากจะเกิดการบีบอัดของอวัยวะของทารก และส่งผลให้เกิดความผิดปกติเมื่อคลอด รวมไปถึงอันตรายที่เกิดขึ้น จนถึงขั้นแท้ง หรือเสียชีวิตขณะคลอดได้ ในกรณที่พบว่ามีภาวะน้ำคร่ำน้อย ในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (Intrauterine Growth Restriction: IUGR) การคลอดก่อนกำหนด ปัญหาการคลอดยาก เช่น สายสะดือถูกบีบ ขี้เทาปนในน้ำคร่ำ และการคลอดโดยการผ่าหน้าท้อง

การวินิจฉัยภาวะน้ำคร่ำน้อย

หากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์สงสัยว่า คุณแม่อาจมีภาวะน้ำคร่ำน้อย พวกเขาอาจทำการตรวจ เพื่อวัดปริมาณของน้ำคร่ำด้วยวิธีการต่างๆ วิธีการที่ใช้กันทั่วไปคือ การวัดดัชนีน้ำคร่ำ (amniotic fluid index: AFI) หรือการวัดแอ่งของน้ำคร่ำในถุงน้ำคร่ำ

การรักษาภาวะน้ำคร่ำน้อย

การรักษาภาวะน้ำคร่ำน้อยต้องประเมินจากอายุครรภ์ หากทารกยังเติบโตไม่เต็มที่ แพทย์จำเป็นต้องตรวจดูแลทั้งแม่และทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด การตรวจด้วยวิธีต่างๆ เช่น การตรวจครรภ์โดยไม่มีแรงกดทับทารก (non-stress) หรือการตรวจภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ในขณะที่มีการหดรัดตัวของมดลูก (contraction stress tests) อาจทำขึ้นเพื่อสังเกตการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ หากกรณีที่ใกล้คลอด แพทย์จะพิจารณาให้ทำการคลอดหากเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Low Amniotic Fluid Levels: Oligohydramnios. http://americanpregnancy.org/pregnancy-complications/oligohydramnios/. Accessed March 21, 2017.

What are the treatment options for low amniotic fluid during pregnancy? http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/expert-answers/low-amniotic-fluid/faq-20057964. Accessed March 21, 2017.

What Does Low Amniotic Fluid Really Mean. https://intermountainhealthcare.org/blogs/topics/intermountain-moms/2018/05/what-does-having-low-amniotic-fluid-really-mean/. Accessed November 04, 2019.

Oligohydramnios. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK562326/. Accessed March 16, 2022.

Amniotic fluid. https://medlineplus.gov/ency/article/002220.htm. Accessed March 16, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/08/2023

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความเครียดตอนท้อง ส่งผลอย่างไรต่อทารกในครรภ์

ลูกไม่ดิ้น ควรทำอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 08/08/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา