backup og meta

ผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกัน

ผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกัน

ผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม (Omphalocele) เป็นภาวะผนังหน้าท้องของทารกในครรภ์ปิดไม่สนิท ทำให้อวัยวะภายในช่องท้องอื่น ๆ เช่น ตับ ลำไส้ ยื่นนูนออกมา โดยมีชั้นบาง ๆ โปร่งใสหุ้มอยู่ ปัจจัยต่าง ๆ เช่น พันธุกรรม การสูบบุหรี่ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้มได้ ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการ และเข้ารับการตรวจกับคุณหมอเป็นประจำ เพื่อทำการรักษาอย่างรวดเร็ว

[embed-health-tool-due-date]

ผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม คืออะไร

ผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม เป็นข้อบกพร่องของผนังหน้าท้องของทารกในครรภ์ ทำให้ลำไส้ ตับ และอวัยวะในช่องท้องอื่น ๆ ของเด็กทารกออกมาอยู่ด้านนอกใกล้กับฐานสายสะดือ โดยชั้นบาง ๆ โปร่งใสหุ้มอยู่โดยรอบ

โดยปกติแล้ว เมื่อเข้าสู่ช่วง 6-10 สัปดาห์ ลำไส้ของทารกในครรภ์จะเริ่มยาวขึ้นตามการเจริญเติบโต และยื่นออกมาผ่านทางสะดือ ที่ถูกปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อใสบาง ๆ ลำไส้ที่นูนออกมาควรจะกลับเข้าสู่ช่องท้องทารกดังเดิมในสัปดาห์ที่ 11 แต่หากลำไส้และอวัยวะภายในเหล่านี้ไม่กลับเข้าไปภายในท้อง ก็จะกลายเป็น ภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม

ภาวะนี้จัดได้ว่าเป็นข้อบกพร่องหายากที่อาจเกิดขึ้นได้ 1 ใน 7,000 และสามารถพบได้บ่อยสำหรับคุณแม่ช่วงอายุมากกว่า 35 ปีที่กำลังตั้งครรภ์

อาการของภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม

อาการของหลัก ๆ ภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม คืออาการที่อวัยวะช่องท้องของทารก เช่น ลำไส้ หรือตับ นูนออกมาจากท้องท้องตามปกติ และมีผนังหน้าท้องบาง ๆ หุ้มอยู่ โดยไม่ยอมกลับเข้าไปในร่างกาย แม้ว่าจะเลยสัปดาห์ที่ 11 ไปแล้วก็ตาม และมักพบความผิดปกติของอวัยวะอื่น ๆ ร่วมด้วยถึง 70% โดยเฉพาะความผิดปกติของหัวใจ นอกจากนี้ ยังพบความผิดปกติของโครโมโซมร่วมด้วยถึง 20-50% โดยเฉพาะ Trisomy 18 และ 13

ภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม อาจสังเกตได้ยาก เนื่องจากเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ คุณแม่จึงจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจอัลตร้าซาวด์ตามการนัดหมายของคุณหมอที่กำหนดเป็นระยะ เพื่อตรวจเช็กสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงของลูกน้อยภายในครรภ์

สาเหตุของ ภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม

ถึงแม้จะไม่ทราบสาเหตุของ ภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม ที่แน่ชัด แต่อาจเป็นไปได้ว่า สาเหตุมาจากความผิดปกติของของโครโมโซม การรวมตัวกันของยีนส์ รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ จากสภาพแวดล้อมภายนอกจากคุณแม่สู่ลูก เช่น อาหารที่คุณแม่รับประทาน หรือการใช้ยาบางชนิดที่เข้าไปสร้างอันตรายแก่สุขภาพทารก

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม

นักวิจัยของ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ (CDC) ค้นพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ จนเกิดความเสี่ยงที่จะทำให้ลูกน้อยนั้นเป็น ภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม มีดังต่อไปนี้

หากกำลังวางแผนว่าจะตั้งครรภ์ คุณแม่อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

การวินิจฉัยและการรักษาผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม

คุณหมออาจเริ่มการวินิจฉัย ภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม ด้วยการอัลตร้าซาวด์ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ และมีการเจาะน้ำคร่ำ เพื่อนำไปประเมินความผิดปกติของโครโมโซมร่วม โดยมีเทคนิคการตรวจ 3 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้

  • การอัลตร้าซาวด์ด้วยภาพละเอียดสูง
  • การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  • การอัลตร้าซาวด์ 3 มิติ

การรักษาผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม

เมื่อเข้าสู่ช่วง 11 สัปดาห์แล้วลำไส้ของทารกไม่กลับเข้าที่ดังเดิม ในการรักษาด้วยการผ่าตัดนี้ก็อาจเกิดขึ้นในช่วงหลังคลอดเป็นต้นไป เพื่อนำลำไส้ หรืออวัยวะภายในที่ยื่นออกมา กลับเข้าสู่ช่องท้องทารก โดยต้องพิจารณาจากขนาดของผนังหน้าท้อง และช่วงอายุอีกครั้ง

การป้องกันปัญหาผนังหน้าท้องไม่ปิดแบบมีถุงหุ้ม

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อาจต้องเน้นการบำรุงด้วยอาหารเสริมสร้างสุขภาพ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ประกอบด้วยแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ แต่หากเป็นหลังจากทารกได้รับการผ่าตัดแล้ว คุณแม่อาจให้ลูกรักอยู่ในการดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด จนกว่าจะได้รับอนุญาตให้พากลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Omphalocele. https://www.mottchildren.org/conditions-treatments/peds-fetal-medicine/omphalocele. Accessed March 02, 2021

Omphalocele. https://www.chop.edu/conditions-diseases/omphalocele. Accessed March 02, 20212021

Facts about Omphalocele. https://www.cdc.gov/ncbddd/birthdefects/omphalocele.html. Accessed March 02, 2021

Omphalocele. https://medlineplus.gov/ency/article/000994.htm. Accessed March 16, 2022.

Omphalocele. https://fetus.ucsf.edu/omphalocele/. Accessed March 16, 2022.

Omphalocele. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK519010/. Accessed March 16, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/11/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความเครียดตอนท้อง ส่งผลอย่างไรต่อทารกในครรภ์

ครรภ์เป็นพิษ และผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 28/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา