backup og meta

เลือดล้างหน้า สัญญาณเตือนที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์

เลือดล้างหน้า สัญญาณเตือนที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์

เลือดล้างหน้า หรือ เลือดล้างหน้าเด็ก เป็นเลือดปริมาณเล็กน้อยที่ไหลออกมาจากช่องคลอด เกิดจากตัวอ่อนฝังตัวกับเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังการปฏิสนธิประมาณ 10-14 วัน บางคนอาจเข้าใจผิดว่าเป็นเลือดประจำเดือน เพราะอาจมีสีและลักษณะคล้ายประจำเดือน และมักเกิดขึ้นใกล้ระยะเวลาที่จะมีประจำเดือน เลือดล้างหน้าไม่ใช่อาการผิดปกติ แต่หากกังวลว่าเลือดที่ออกจากช่องคลอดเป็นเลือดประเภทใด ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจให้แน่ชัด

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

เลือดล้างหน้าเด็ก คืออะไร

เลือดล้างหน้า หรือ เลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation Bleeding) คือ อาการเลือดออกจากช่องคลอด ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก ส่วนใหญ่จะมีเลือดล้างหน้าหลังจากไข่ผสมกับอสุจิจนเกิดการปฏิสนธิและกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวในมดลูก 10-14 วัน ลักษณะคือ มีเลือดสีชมพูหรือสีน้ำตาลไหลออกจากช่องคลอดเล็กน้อยแบบกะปริบกะปรอย เป็นระยะเวลาประมาณ 1-2 วัน และอาจมีอาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อย ซึ่งเกิดจากมดลูกบีบตัว

ระยะเวลาการปฏิสนธิและการเกิดเลือดล้างหน้า

ระยะเวลาในการเกิดเลือดล้างหน้าเด็กนั้นสั้นมาก ส่วนใหญ่มักมีอาการไม่เกิน 1-2 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ไข่ซึ่งผสมกับตัวอสุจิแล้วเคลื่อนไปฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก แต่หากเลือดออกนานกว่า 2 วัน เลือดมีสีแดงสดหรือสีแดงเข้ม มีปริมาณที่มาก หรือปวดท้องน้อย ควรปรึกษาคุณหมอ เพราะอาจเป็นไปได้ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในมดลูก

 

เลือดล้างหน้าเด็ก ต่างจากประจำเดือนอย่างไร

เลือดล้างหน้าเด็ก กับการมีประจำเดือนกับ อาจมีความแตกต่างกัน ดังนี้

ลักษณะของเลือดล้างหน้า

  • ระยะเวลา 1-2 วัน
  • ปริมาณเลือด เบาบาง กะปริบกะปรอย
  • สีเลือด สีน้ำตาลหรือสีชมพู หรือเป็นเลือดเก่า ๆ

ลักษณะของเลือดประจำเดือน

  • ระยะเวลา 4-7 วัน
  • ปริมาณเลือด เลือดไหลออกมามาก
  • สีเลือด สีแดง

หากรอบประจำเดือนในแต่ละเดือนไม่ตรง หรือไม่มั่นใจว่าอาการที่เป็นอยู่เป็นอาการของประจำเดือนหรือ เลือดล้างหน้าเด็ก อาจสังเกตได้จากอาการเหล่านี้

  • รู้สึกเมื่อยล้า
  • เจ็บเต้านม
  • เลือดมีสีน้ำตาล หรือชมพู
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดหลัง
  • ท้องเสีย
  • อาเจียน แพ้ท้อง
  • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • อารมณ์แปรปรวน
  • อยากอาหารเพิ่มขึ้น
  • เป็นตะคริว

หากเลือดที่ออกมาเป็นสีแดงสดหรือแดงเข้ม และเกิดขึ้นนานกว่า 3 วัน รวมถึงเลือดไหลเต็มผ้าอนามัย อาจไม่ใช่เลือดล้างหน้า แต่หากมีรอบเดือนน้อยกว่า 3 วัน แล้วเลือดที่ออกมามีสีชมพูหรือน้ำตาลมากกว่าสีแดง อาจเป็นไปได้ว่ากำลังเกิดภาวะเลือดล้างหน้า และหากสงสัยว่าอาจเป็นเลือดล้างหน้า หรือกำลังตั้งครรภ์ สามารถทดสอบการตั้งครรภ์โดยใช้ชุดตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง หรือไปพบคุณหมอเพื่อตรวจครรภ์ที่สถานพยาบาลก็ได้

เมื่อไหร่ควรปรึกษาคุณหมอ

หากตรวจการตั้งครรภ์แล้วผลออกมาว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่มีเลือดไหลกะปริบกะปรอย ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจซ้ำอีกครั้ง แต่หากผลออกมาว่าตั้งครรภ์ ให้รีบปรึกษาคุณหมอว่าใช่เลือดล้างหน้าหรือไม่ และควรฝากครรภ์ทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Implantation Bleeding. https://www.webmd.com/baby/implantation-bleeding-pregnancy#1. Accessed December 24, 2021

How to Get Pregnant Fast: Expert Advice for Women https://blog.lumahealth.com/how-to-get-pregnant-fast-expert-advice-for-women. Accessed December 24, 2021

Vaginal bleeding in very early pregnancy. https://academic.oup.com/humrep/article/18/9/1944/708284. Accessed December 24, 2021

Home pregnancy tests: Can you trust the results?. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/home-pregnancy-tests/art-20047940. Accessed December 24, 2021

Miscarriage. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pregnancy-loss-miscarriage/symptoms-causes/syc-20354298. Accessed December 24, 2021

Is implantation bleeding normal in early pregnancy?. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/expert-answers/implantation-bleeding/faq-20058257. Accessed December 24, 2021

What is Implantation Bleeding?. https://americanpregnancy.org/pregnancy-symptoms/what-is-implantation-bleeding/. Accessed December 24, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/10/2022

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

Molar pregnancy คืออะไร

เลือดล้างหน้า คืออะไร เกิดจากสาเหตุใด


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลนครพิงค์


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 31/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา