backup og meta

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 1 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 1 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 1

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 1

ทารกในครรภ์ จะเติบโตอย่างไร

ในช่วงสัปดาห์แรกคุณแม่อาจจะสับสน เนื่องจากไม่รู้วันเวลาที่แน่ชัดในช่วงวันไข่ตก แต่คุณหมอจะคำนวณวันคลอดโดยเริ่มนับจากวันแรกที่มีรอบเดือนครั้งล่าสุด โดยอายุการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 40 สัปดาห์

แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจมีอายุครรภ์ได้ตั้งแต่ 38-42 สัปดาห์ โดยคุณหมอจะไม่ยอมให้มีการตั้งครรภ์นานเกิน 42 สัปดาห์โดยเด็ดขาด

ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต

ขณะการตั้งครรภ์ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

ในช่วงเวลานี้ร่างกายจะเตรียมความพร้อมสำหรับการตกไข่ ซึ่งก็คือ ในช่วงวันที่ 12-14 ของการมีประจำเดือน การตกไข่ คือ การปล่อยไข่สุกออกจากรังไข่มาตามหลอดมดลูกและพร้อมสำหรับการปฎิสนธิ

ถ้าวางแผนที่จะมีการตั้งครรภ์ ช่วงเวลาเหมาะที่สุดที่ควรให้ไข่ปฏิสนธิกับอสุจิ คือ ประมาณ 2 สัปดาห์นับจากวันตกไข่

ควรระมัดระวังอะไรบ้าง

ในสัปดาห์นี้ยังไม่มีอะไรน่าห่วง คุณแม่เพียงแค่ต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และรับประทานวิตามินที่ช่วยบำรุงร่างกายก่อนคลอดด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดโฟลิค เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural Tube Defect หรือ NTD) ซึ่งเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดของระบบประสาทส่วนกลางและไขสันหลัง อันเนื่องมาจากการเจริญเติบโตของสมองหรือเส้นประสาทไม่สมบูรณ์ ทำให้ทารกที่เกิดมาเป็นโรคความบกพร่องของกระดูกสันหลัง เช่น กระดูกสันหลังโหว่

โดยปริมาณกรดโฟลิคที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับในแต่ละวัน คือ ประมาณ 400 ไมโครกรัม และอาจต้องมากกว่านี้ หากเคยมีประวัติเป็นโรคความบกพร่องของกระดูกสันหลัง

การพบคุณหมอ

ควรปรึกษาคุณหมอย่างไรบ้าง

หากวางแผนสำหรับการตั้งครรภ์ ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับยาที่รับประทานอยู่ เนื่องจากการใช้ยาอาจมีผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ แต่ไม่ควรหยุดการใช้ยาโดยไม่ปรึกษาคุณหมอก่อน

คำถามสำหรับถามคุณหมอ

  • สามารถใช้ยาตามใบสั่งแพทย์หรือยาที่ซื้อเองระหว่างการตั้งครรภ์หรือไม่
  • ควรปฏิบัติตนก่อนการตั้งครรภ์อย่างไร
  • จำเป็นต้องได้รับวัคซีนอะไรก่อนการตั้งครรภ์หรือไม่

การทดสอบที่ควรรู้

เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการมีลูกน้อย คุณหมอจะเตรียมการตรวจร่างกายดังต่อไปนี้

  • การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) เพื่อใช้ตรวจหาปัจจัยที่อาจเป็นตัวขัดขวาง การตั้งครรภ์ ได้
  • การตรวจหาความผิดปกติในดีเอ็นเอ (Genetic Testing) เพื่อช่วยป้องกันความบกพร่องทางยีนที่อาจถ่ายทอดสู่ลูกได้ เช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle Cell Disease) ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) โรคที่สืบทอดมาจากยีนผิดปกติ (Tay-Sachs)
  • การตรวจเลือด เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงโรคหัดเยอรมันและโรคอีสุกอีใส เพื่อพิจารณาดูว่าต้องให้วัคซีน หรือการรักษาก่อนการตั้งครรภ์หรือไม่

การตรวจสอบต่าง ๆ นี้ ช่วยให้คุณหมอสามารถแนะแนวทางในการเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ได้

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์

คุณแม่อาจสงสัยว่า ต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ในระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะในช่วงที่ตั้งครรภ์ ระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอลง ทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรค และเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ฉะนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงจำเป็นต้องปรึกษาคุณหมอเรื่องการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ ได้แก่

  • วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR)

โรคหัดเป็นโรคจากเชื้อไวรัส อาการและสัญญาณของโรค คือ มีไข้อ่อน ๆ ไอ มีน้ำมูก และหลังจากนั้น 2-3 วัน อาจเกิดผื่นแดง ส่วนโรคคางทูมก็เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเช่นกัน หากเป็นโรคคางทูม จะทำให้ต่อมน้ำลายบวม

หากคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคนี้ ก็อาจเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้ ไวรัสหัดเยอรมันทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัด แตกต่างกันตรงที่หากเป็นหัดเยอรมันอาจมีผื่นคันตามมา โดยในช่วง 3 เดือนแรกหลังคลอด  85 % ของทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่ติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน มักมีอาการร้ายแรง เช่น สูญเสียการได้ยิน พิการทางสติปัญญา

อย่างไรก็ตาม วัคซีนนี้อาจเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ โดยปกติ เมื่อฉีดวัคซีนแล้วต้องรอ 1-3 เดือนก่อนจึงจะตั้งครรภ์ได้

โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ทำให้มีไข้และผื่นคัน โดยในช่วง 5 เดือนแรกของทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่เป็นอีสุกอีใสระหว่างตั้งครรภ์อาจมีความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น พิการ เป็นอัมพาต หากคุณแม่ที่เป็นโรคอีสุกอีใสช่วงใกล้คลอด ก็อาจส่งผลกระทบกับทารกในครรภ์ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม วัคซีนนี้อาจเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ จึงควรปรึกษาคุณหมอก่อนตั้งครรภ์

  • วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

หากเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ในขณะตั้งครรภ์ อาจเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคปอดบวม ซึ่งถือเป็นโรคร้ายแรงที่อันตรายถึงชีวิต และเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เมื่อมีการตั้งครรภ์ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ถือเป็นวัคซีนที่ไม่เป็นอันตรายสำหรับทารกในครรภ์ เนื่องจากผลิตจากเชื้อไวรัสที่ตายแล้ว โดยมีหลักฐานยืนยันว่าการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้คุณแม่ แต่ยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ทารกที่เกิดมาด้วย

เนื่องจากเด็กจะได้รับสารภูมิต้านทานจากคุณแม่ และเมื่อคุณแม่มีภูมิคุ้มกันที่ดี โอกาสที่ทารกแรกเกิดติดโรคไข้หวัดใหญ่ก็จะมีน้อยลง อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประเภทชนิดพ่นจมูก เพราะทำจากไวรัสที่มีชีวิต

แล้วมาดูกันว่า ในสัปดาห์ต่อไป คุณแม่ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร และทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

[embed-health-tool-due-date]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Poppy seed to pumpkin: How big is your baby?. http://www.babycenter.com/slideshow-baby-size. Accessed June 06, 2015

Your pregnancy: 2 weeks. http://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-2-weeks_6000.bc. Accessed June 06, 2015

Pregnancy Calendar – Week 1. http://kidshealth.org/parent/pregnancy_center/pregnancy_calendar/week1.html . Accessed June 06, 2015

1 Week Pregnant. https://flo.health/pregnancy/week-by-week/1-week-pregnant. Accessed June 06, 2015

You and your pregnancy at 1 to 3 weeks. https://www.nhs.uk/pregnancy/week-by-week/1-to-12/1-2-3-weeks/. Accessed August 22, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/08/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ขนาดท้อง1เดือน ใหญ่แค่ไหน อาการคนท้องมีอะไรบ้าง

กรดไหลย้อนระหว่างตั้งครรภ์ บรรเทาอาการได้ด้วยวิธีใดบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 22/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา