backup og meta

แผลผ่าคลอดปริ เกิดจากอะไร คุณแม่ควรดูแลแผลอย่างไร

แผลผ่าคลอดปริ เกิดจากอะไร คุณแม่ควรดูแลแผลอย่างไร

คุณแม่ที่เพิ่งผ่านการผ่าคลอด อาจประสบปัญหาแผลผ่าคลอดปริ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เนื้อตาย การดูแลรักษาแผลได้ไม่ดี แผลถูกกระทบกระเทือนหรืออาจเกิดจากภาวะสุขภาพที่ส่งผลต่อการสมานตัวของแผล เมื่อ แผลผ่าคลอดปริ อาจทำให้มีอาการเจ็บปวด เลือดออกมาก มีไข้สูง มีหนอง หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาทันที

[embed-health-tool-ovulation]

สาเหตุของแผลผ่าคลอดปริ

แผลผ่าคลอดปริ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

การดูแลรักษาแผลได้ไม่ดี

การดูแลรักษาแผลอาจช่วยให้แผลสมานตัวเร็วขึ้น แต่สำหรับบางคนอาจดูแลรักษาแผลได้ไม่ดีพอหรืออาจมีภาวะสุขภาพบางประการ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ซึ่งอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของบาดแผล ทำให้แผลหายช้าลงจนเกิดแผลปริ

แผลถูกกระทบกระเทือน

หลังการผ่าคลอดคุณแม่ควรพักฟื้นและพักผ่อนให้เพียงพอและดูแลตนเอง เพื่อให้แผลสมานตัวดีและไม่เกิดปัญหาแผลปริ หลีกเลี่ยงการเกิดแรงกดทับหรือแรงดันที่ท้องมากเกินไป เช่น การอุ้มเด็กที่มีน้ำหนักมาก การยกของหนัก การลุกขึ้นจากท่านั่งยอง ๆ การเริ่มออกกำลังกายเร็วเกินไป ซึ่งอาจส่งผลทำให้แผลเปิดหรือฉีกขาดได้

การติดเชื้อ

แผลติดเชื้อจะทำให้การสมานตัวของแผลช้าลงหรืออาจทำให้เนื้อเยื่อตายจนแผลไม่สามารถสมานตัวต่อได้

ในบางกรณีรูปแบบการผ่าตัดคลอดอาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดแผลปริได้เช่นกัน โดยการผ่าคลอดอาจแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

  • ผ่าตัดแนวตั้ง คือ แนวแผลจากใต้สะดือไปจนถึงไรขนอวัยวะเพศ
  • ผ่าตัดแนวนอน คือ แนวแผลตามขวางบริเวณเหนือไรขนอวัยวะเพศ

ซึ่งการผ่าตัดคลอดแบบแนวนอนอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลปริน้อยกว่า การดูแลรักษาง่ายกว่า ซึ่งอาจทำให้แผลสมานตัวได้เร็ว

อาการเมื่อแผลผ่าคลอดปริ

ควรพบคุณหมอทันทีหากมีสัญญาณของแผลปริ ดังนี้

  • มีไข้สูง
  • มีเลือดออกบริเวณแผลและช่องคลอด
  • อาการปวดรุนแรง รอบแผลแดง หรือมีอาการบวมรอบแผล
  • ลิ่มเลือดในช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
  • บริเวณแผลมีกลิ่นเหม็น มีหนอง
  • เจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ

การดูแลแผลผ่าคลอดปริ

แผลผ่าคลอดปริอาจต้องมีการดูแลเป็นพิเศษเพื่อทำให้แผลหายสนิทและป้องกันแผลปริซ้ำ ดังนี้

  • การบรรเทาอาการปวด ด้วยการรับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด รับประทานยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือยาอื่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวด
  • เข้าพบคุณหมอเพื่อประเมินแผลที่ปริ ว่าควรได้รับยาฆ่าเชื้อเป็นแบบรับประทาน หรือมีภาวะรุนแรงถึงขั้นต้องให้ยาฆ่าเชื้อทางเส้นเลือด
  • ควรทำความสะอาดแผลทุกวันจนกว่าแผลจะแห้ง
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือสิ่งที่ทำให้เกิดแรงดันและแรงกด เช่น การยืนนานเกินไป การออกกำลังกายหนักเกินไป การสวมเสื้อผ้าคับแน่น การลุกขึ้นจากท่านั่งยอง ๆ เนื่องจาก พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้เกิดแรงดันในมดลูกและแผลผ่าคลอดจนอาจทำให้แผลผ่าคลอดปริได้
  • หลังการผ่าคลอดหรือหลังเกิดแผลปริ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และการกระทบกระเทือนบริเวณแผลที่อาจก่อให้เกิดการอักเสบและแผลปริได้
  • หลีกเลี่ยงการขัดถู การกดบริเวณแผล ทั้งยังควรลุกและนั่งอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจนกระทบกระเทือนแผล

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Do’s and Don’ts of Healing from a C-Section. https://intermountainhealthcare.org/blogs/topics/intermountain-moms/2018/03/the-dos-and-donts-of-healing-from-a-csection/. Accessed April 15, 2022

Delayed uterine rupture occurred 4 weeks after cesarean section following sexual intercourse: A case report and literature review. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1028455913001277. Accessed April 15, 2022

Cesarean Section. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK546707/. Accessed April 15, 2022

C-section. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/c-section/about/pac-20393655. Accessed April 15, 2022

A rare complication of uterine rupture following C-section: Intestinal

obstruction due to internal hernia. http://www.jcasesobstetgynecol.com/Volume-3-Issue-2-April-2016/2-5.pdf. Accessed April 15, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/06/2024

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงวรัญญา สิริธนาสาร

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผ่าคลอด ทางเลือกสำหรับคุณแม่ที่ไม่พร้อมคลอดแบบธรรมชาติ

การดูแล แผลผ่าคลอด ให้ปลอดภัย ไร้แผลเป็น


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงวรัญญา สิริธนาสาร

สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 30/06/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา