backup og meta

น้ำคาวปลา คืออะไร เรื่องที่คุณแม่มือใหม่ทุกคนควรรู้

น้ำคาวปลา คืออะไร เรื่องที่คุณแม่มือใหม่ทุกคนควรรู้

น้ำคาวปลา คือของเหลวที่ร่างกายขับออกมาหลังคลอด ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดลูกแล้ว โดยน้ำคาวปลาจะมีสีแดงคล้ำและกลิ่นคล้ายคาวปลาแต่ไม่แรงเท่า บางครั้งอาจมีเศษเลือด หรือเศษเนื้อเยื่อออกมาด้วย หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะของน้ำคาวปลาว่ามีสี กลิ่น และลักษณะอย่างไร หากพบความผิดปกติจะได้รู้เท่าทันและรับมือได้

[embed-health-tool-ovulation]

น้ำคาวปลา คืออะไร

น้ำคาวปลา คือ ของเหลวที่ร่างกายขับออกมาหลังคลอด เพื่อระบายเลือด เศษเนื้อเยื่อ และของเหลวต่าง ๆ เช่น น้ำคร่ำ ออกจากมดลูก น้ำคาวปลามักมีสีแดงเข้มในช่วงวันแรก ๆ และจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีที่อ่อนลงเมื่อเวลาผ่านไป น้ำคาวปลามีกลิ่นคาวเฉพาะตัว แต่บางครั้งอาจมีกลิ่นเหม็น โดยร่างกายของคุณแม่จะเริ่มขับน้ำคาวปลาออกมา ตั้งแต่ 3 วันแรกหลังจากการคลอดบุตร 

น้ำคาวปลา มีกี่ชนิด

ชนิดของ น้ำคาวปลาหลังคลอด จะแบ่งออกตามระยะเวลาที่เกิด ดังนี้

  • ช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด น้ำคาวปลาจะมีสีแดงเข้ม ส่วนใหญ่เป็นเลือดที่ถูกขับออกมา และจะไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง คุณแม่อาจควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ ชั่วโมง
  • ช่วง 2-6 วันหลังคลอด น้ำคาวปลาจะถูกขับออกมาน้อยลง มีสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้ม หรือสีแดงอมชมพู 
  • ช่วง 4-10 หรือ 7-10 วันหลังคลอด ระยะนี้น้ำคาวปลาจะมีสีชมพู หรือมีสีน้ำตาลอ่อน
  • ช่วง 10-14 วันหลังคลอด น้ำคาวปลาจะมีสีที่จางลงมากกว่า 10 วันแรก รวมถึงมีปริมาณน้ำคาวปลาที่ลดลงด้วย อย่างไรก็ตาม หากมีการออกแรง หรือออกกำลังกายในช่วงนี้ ก็อาจจะมีเลือดขับออกมาทำให้น้ำคาวปลามีสีแดงได้เช่นกัน
  • ช่วง 3-4 สัปดาห์หลังคลอด ระยะนี้น้ำคาวปลามักจะไม่ค่อยมีเลือดปน ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นเมือกสีขาว หรือสีขาวอมเหลือง 
  • ช่วง 5-6 สัปดาห์หลังคลอด ระยะนี้มักจะไม่มีการขับน้ำคาวปลาออกมาแล้ว

โดยน้ำคาวปลามักจะถูกขับออกมาในตอนเช้า ตอนที่ให้นมบุตร หรือในตอนที่มีการออกกำลังกาย 

น้ำคาวปลากับประจำเดือนต่างกันอย่างไร

เนื่องจากในระยะแรกนั้น น้ำคาวปลาหลังคลอด ที่ร่างกายขับออกมามักจะมีสีแดง เพราะเป็นการขับเอาเลือดออกมาก่อน ทำให้คุณแม่มือใหม่บางรายอาจสับสนได้ว่า เป็นน้ำคาวปลาหรือประจำเดือน อย่างไรก็ตาม ของเหลวทั้งสองชนิดนี้มีข้อแตกต่างคือ น้ำคาวปลาจะถูกขับออกมาหลังคลอด โดยปริมาณของน้ำคาวปลามักจะถูกขับออกมามากกว่าประจำเดือน และน้ำคาวปลาจะถูกขับออกมาเป็นระยะเวลาที่นานกว่าประจำเดือน ซึ่งปกติแล้วน้ำคาวปลาจะถูกขับออกมาเป็นระยะเวลาระหว่าง 5-6 สัปดาห์หลังคลอด อีกทั้ง น้ำคาวปลาอาจมีเศษหรือชิ้นส่วนของเนื้อเยื่อซึ่งอาจเป็นชิ้นส่วนรกถูกขับออกมาด้วย และที่สำคัญ ประจำเดือนจะมาหลังคลอดแล้วประมาณสามหรือสี่เดือนขึ้นไป

ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีน้ำคาวปลา

น้ำคาวปลาหลังคลอด ถือเป็นเรื่องปกติหลังการคลอดบุตร ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด และเมื่อมีน้ำคาวปลาไหลออกมา คุณแม่สามารถดูแลตัวเองได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • คุณแม่ควรสวมผ้าอนามัย หรือผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่ เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อและการเปรอะเปื้อน
  • สวมใส่เสื้อผ้าสบาย ๆ และไม่สวมชุดชั้นในที่รัดจนเกินไป
  • รับประทานยาแก้ปวดหากมีอาการเจ็บปวดเมื่อมีน้ำคาวปลา
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่หักโหมทำกิจกรรมหนัก เพราะอาจเสี่ยงที่จะมีน้ำคาวปลาออกมามากกว่าปกติ หรืออาจทำให้น้ำคาวปลามีสีแดงเข้มกว่าปกติด้วย

ทั้งนี้ หากน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นรุนแรง มีลิ่มเลือดหลุดออกมามากผิดปกติ ร่วมกับคุณแม่มีอาการไข้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำหรือเข้ารับการตรวจเพื่อดูว่าเกิดปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับภาวะหลังคลอดหรือไม่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pregnancy: Physical Changes After Delivery. https://my.clevelandclinic.org/health/articles/9682-pregnancy-physical-changes-after-delivery. Accessed August 28, 2022.

What Is Lochia?. https://www.verywellfamily.com/what-is-lochia-5079613. Accessed August 28, 2022.

Postpartum Bleeding (Lochia). https://www.whattoexpect.com/pregnancy/symptoms-and-solutions/postpartum-bleeding.aspx#period. Accessed August 28, 2022.

Vaginal Bleeding After Birth: When to Call a Doctor. https://www.webmd.com/women/vaginal-bleeding-after-birth-when-to-call-doctor. Accessed August 28, 2022.

Postpartum care: What to expect after a vaginal birth. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/postpartum-care/art-20047233. Accessed August 28, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/08/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิ่ง พร้อมเข็นลูก เทคนิคออกกำลังกาย สำหรับคุณแม่หลังคลอดที่อยากกลับมาฟิตแอนด์เฟิร์ม

อาหารสุขภาพสำหรับคุณแม่หลังคลอด ที่ช่วยบำรุงร่างกายจากภายใน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 28/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา