backup og meta

เต้านมคัด อาการที่คุณแม่หลังคลอดต้องเผชิญ

เต้านมคัด อาการที่คุณแม่หลังคลอดต้องเผชิญ

เต้านมคัด เป็นหนึ่งในอาการที่ผู้หญิงแทบทุกคนต้องเผชิญหลังจากคลอดลูก เนื่องจากร่างกายผู้หญิงจะมีการผลิตน้ำนมเพื่อให้ลูกน้อยได้ดื่ม จึงมักทำให้คุณแม่มีอาการเต้านมคัดได้  จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและหาวิธีรับมือหากเกิดอาการเต้านมคัดที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด

อาการเต้านมคัด 

อาการเต้านมคัดเป็นอาการที่เต้านมเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับผลิตน้ำนม ทำให้เกิดการคัด บวม แข็ง ส่งผลรู้สึกเจ็บได้ ทั้งนี้ อาการเต้านมคัดเกิดจากการไหลเวียนของเลือดและปริมาณน้ำนมแม่ที่มีเพิ่มมากขึ้น มักเป็นทั้งเต้าและทั้ง 2 ข้าง แต่ไม่เป็นอันตราย โดยคุณแม่หลังคลอดอาจมีอาการนี้ในช่วงสองสามวันแรกและมักหายไปเอง เมื่อเต้านมคัดอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาจมีไข้เล็กน้อย หัวนมสั้นลงจนลูกดูดนมไม่ได้ น้ำนมไหลไม่ดี

สาเหตุเต้านมคัด

สาเหตุที่คุณแม่มีอาการคัดเต้านมนั้นมีหลายปัจจัย ซึ่งได้แก่

  • ร่างกายสร้างน้ำนมได้มากกว่าปริมาณที่ลูกต้องการ
  • เว้นระยะการให้นมลูกนานเกินไป
  • ลูกดูดนมแม่ไม่บ่อยพอ หรือลูกดูดนมแม่น้อยเกินไป
  • ไม่ได้ระบายน้ำนมออกในช่วงที่ไม่ได้ให้นมลูก
  • การให้ลูกหย่านมแม่เร็วเกินไป
  • คุณแม่ให้นมลูกไม่ถูกวิธี หรืออยู่ผิดท่า ทำให้ลูกน้อยดูดนมไม่สะดวก จึงเกิดการระบายน้ำนมได้ไม่ดีเท่าที่ควร

วิธีป้องกันเต้านมคัด

เพื่อบรรเทาความรู้สึกอาการไม่สบายจากการคัดเต้านม นอกจากการวิธีการให้นมลูกน้อยแล้ว ยังมีวิธีอื่น ๆ ที่สามารถป้องกันการคัดเต้านม ได้แก่

  • นวดหน้าอกขณะให้นม
  • พยายามให้ลูกดูดน้ำนมจนหมดเต้า
  • เรียนรู้วิธีให้ลูกน้อยดูดนมแม่ได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นท่าทางของแม่ หรือแม้แต่ลูกน้อย
  • ใช้ลูกประคบอุ่นหรืออาบน้ำอุ่น เพื่อให้น้ำนมลดลง
  • ให้นมลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอมากขึ้น หรืออย่างน้อยทุก ๆ หนึ่งถึงสามชั่วโมง หากลูกน้อยง่วงนอนคุณแม่อาจจำเป็นที่จะต้องปลุกลูกน้อยและกระตุ้นให้ดูดนม นั้นหมายถึงในช่วงเวลากลางคืนด้วย ไม่อย่างนั้นเต้านมจะคัดในเช้าวันรุ่งขึ้นอีก แต่ถ้าไม่สามารถให้นมลูกได้ตามเวลา ควรบีบน้ำนมออกเก็บไว้
  • สลับตำแหน่งป้อนนม เพื่อระบายน้ำนมออกจากทุกส่วนของเต้านม รวมไปถึงการสลับเต้านมในการให้นม เพื่อให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมอย่างสม่ำเสมอ
  • ถ้าแม่เจ็บมากจนให้ลูกดูดนมไม่ได้ อาจต้องพักเต้า  แล้วระบายน้ำนมออกโดยวิธีการบีบด้วยมือหรือปั๊มออก
  • หากยังคงรู้สึกไม่สบายตัวหรือเจ็บเต้าหลังจากการให้นม ให้ลองประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม อาจใช้ผ้าเปียกแช่แข็ง ถุงเย็น แนบลงบนหน้าอกครั้งละ 15 นาที
  • ควรใส่เสื้อชั้นในเพื่อพยุงเต้านมไว้ โดยสวมเสื้อชั้นในให้นมที่กระชับพอดีตัว ไม่บีบหน้าอก
  • รับประทานพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนในปริมาณที่แพทย์แนะนำเพื่อบรรเทาอาการปวด

หากอาการเต้านมคัดไม่ดีขึ้น คุณแม่ควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม อาจจำเป็นต้องปรับปรุงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือหาวิธีลดปริมาณน้ำนม

[embed-health-tool-ovulation]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Breast Engorgement. https://www.webmd.com/women/what-is-engorgement. Accessed January 17, 2022.

Breast pain and breastfeeding. https://www.nhs.uk/conditions/baby/breastfeeding-and-bottle-feeding/breastfeeding-problems/breast-pain/. Accessed January 17, 2022.

Breast Engorgement. https://www.uofmhealth.org/health-library/hw133953. Accessed January 17, 2022.

Engorged Breasts – avoiding and treating. https://www.laleche.org.uk/engorged-breasts-avoiding-and-treating/. Accessed January 17, 2022.

What to Expect While Breastfeeding. https://www.cdc.gov/nutrition/infantandtoddlernutrition/breastfeeding/what-to-expect.html. Accessed January 17, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/01/2022

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำคาวปลา กี่วันหมด และวิธีการดูแลตัวเองหลังคลอด

ยาเพิ่มน้ำนม ช่วยกระตุ้นน้ำนมได้อย่างไร และมีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 17/01/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา