backup og meta

วิธีนับรอบเดือน ช่วยคำนวณวันไข่ตก เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

วิธีนับรอบเดือน ช่วยคำนวณวันไข่ตก เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

วิธีนับรอบเดือน ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ด้วยการคำนวณวันไข่ตก การจดบันทึกรอบเดือนหรือประจำเดือนจึงเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งยังช่วยให้คำนวณวันปลอดภัยในรอบเดือน เป็นการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ

ประจำเดือน คืออะไร

ในทุกเดือนไข่ 1 ใบจะเคลื่อนตัวออกจากรังไข่ โดยไข่ที่ออกมาจะเคลื่อนไปตามท่อรังไข่หรือปีกมดลูกไปยังมดลูก ในช่วงเวลานั้นหากไข่ผสมกับตัวอสุจิก็จะเคลื่อนไปฝังตัวที่มดลูก แต่หากไข่ไม่ได้รับการผสมกับตัวอสุจิ ผนังมดลูกและไข่จะหลุดลอกออกมาทางช่องคลอด เลือดที่ไหลออกมาทางช่องคลอดของผู้หญิง จะเรียกว่า ประจำเดือน แต่ละครั้งจะมีประมาณ 3-7 วัน

วิธีนับรอบเดือน

ช่วงเวลาระหว่างประจำเดือนแต่ละครั้งจะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่ประจำเดือนมาจนถึงวันก่อนมีประจำเดือนครั้งต่อไป โดยทั่วไป ระยะห่างของแต่ละรอบเดือนอยู่ที่ 24-38 วัน สามารถลองเทียบได้จากวันแรกของประจำเดือนรอบนี้ กับวันแรกของประจำเดือนครั้งก่อน

คำนวณหาวันปลอดภัยด้วยวิธีนับรอบเดือน

การคำนวณหาวันปลอดภัยเป็นการคุมกำเนิดที่เหมาะกับผู้ที่มีรอบประจำเดือนสม่ำเสมอ ช่วงที่ปลอดภัยหรือมีเพศสัมพันธ์แล้วไม่ตั้งครรภ์ คือ ก่อน 7 หลัง 7 เป็นช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ต่ำ จึงต้องใช้วิธีนับรอบเดือนเพื่อหาช่วงก่อนมีประจำเดือน 7 วัน และหลังจากมีประจำเดือน 7 วัน วิธีนี้มีความผิดพลาดได้ค่อนข้างสูง หากใช้วิธีนับรอบเดือนเพื่อการคุมกำเนิด ควรใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย 

  • วิธีคำนวณกรณีประจำเดือนมาสม่ำเสมอให้วันที่ 12 – 16 เป็นวันที่ ไม่ปลอดภัย เช่น หากประจำเดือนห่างกันรอบละ 30 วัน วันที่ 1-7 หลังมีประจำเดือน และก่อนมีประจำเดือน 7 วันจะเป็นระยะปลอดภัย

นับวันตกไข่ด้วยวิธีนับรอบเดือน

ในแต่ละเดือนไข่ที่ตกจะรอปฏิสนธิอยู่ที่ปลายท่อนำไข่ 12-24 ชั่วโมง การนับวันตกไข่ด้วยตัวเอง โดยทั่วไปผู้หญิงจะมีรอบเดือนทุก 28 วัน ให้นับหลังจากวันที่ประจำเดือนมาเป็นวันที่ 1 ส่วนวันที่ 14 จะเป็นวันที่ตกไข่ หากต้องการมีบุตรควรมีเพศสัมพันธ์ 1-2 วันก่อนไข่ตก เพราะอสุจิจะรอปฏิสนธิอยู่ในรังไข่ได้ 2 วัน จึงพอดีกับวันไข่ตก หรือหากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงกลางรอบประจำเดือนประมาณ 10-14 วันนับหลังจากวันแรกของประจำเดือนรอบล่าสุด ก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้

สังเกตอย่างไรว่าอยู่ในช่วงวันตกไข่

  1. มูกที่ปากมดลูก เกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้มูกที่ปากมดลูกที่มีลักษณะคล้ายไข่ขาวดิบ เกิดความข้นเหนียวและยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อนำพาอสุจิเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้ง่ายขึ้น
  2. อารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้น ขณะตกไข่จะส่งผลให้มีเลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณช่องคลอด รวมถึงการสร้างของเหลวหล่อลื่นมากเป็นพิเศษ 
  3. อุณหภูมิร่างกายที่เพิ่มขึ้น ระหว่างการตกไข่ ร่างกายจะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น อุณหภูมิร่างกายจึงสูงขึ้นเล็กน้อยประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส
  4. เจ็บคัดเต้านมและปวดท้องน้อยข้างเดียว อาการปวดท้องน้อยข้างเดียวในขณะที่มีการตกไข่ เพราะรังไข่เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพให้เหมาะสมกับการฝังตัวของตัวอ่อน แต่เมื่อไม่เกิดการปฏิสนธิ ผนังภายในรังไข่จะมีการหลุดลอกส่งผลให้ปวดท้องน้อยได้มากขึ้น

สำหรับผู้ที่ต้องการความแม่นยำสามารถใช้ชุดตรวจการตกไข่ โดยตรวจด้วยปัสสาวะเพื่อคาดคะเนการตกไข่ได้อย่างแม่นยำ 

หรือเลือกใช้ เครื่องคำนวณวันตกไข่ของ Hello คุณหมอ !

[embed-health-tool-ovulation]

สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

  • ความเครียดจากปัญหาชีวิต การเรียน การทำงาน อาจทำให้ไข่ไม่ตกได้
  • เกิดความผิดปกติของฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานรังไข่ เช่น อร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนต่อมใต้สมองหรือว่าฮอร์โมนน้ำนม
  • ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังในผู้หญิง จากภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ พบได้บ่อยจากการทำงานที่ผิดปกติของตัวรังไข่ ทำให้ผู้หญิงมีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • อาการเลือดออกที่ผิดปกติ ที่ไม่ใช่เลือดจากประจำเดือน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

การคุมกำเนิด ( ตอนที่ 2 )

https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=576 

accessed June 29, 2023

ประจำเดือนแบบไหนไม่ปกติ

https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge-2/menstruation/ 

accessed June 29, 2023

นับวันไข่ตกอย่างไรไม่ให้พลาด

https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/calendar-method/ 

accessed June 29, 2023

 

การนับวันปลอดภัยในรอบเดือน

https://il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter5/fertility_method.htm 

accessed June 29, 2023

ทำไมประจำเดือนมาไม่ปกติ ?

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%95/ 

accessed June 29, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/04/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาคุม 28 เม็ด กินอย่างไรให้ปลอดภัย ป้องกันไม่ให้ตั้งครรภ์

วิธีตรวจครรภ์ ทำได้อย่างไร วิธีใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ตรวจด้วยตัวเอง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 18/04/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา