backup og meta

ไข่ตกกี่วันถึงจะท้อง สิ่งที่ควรรู้ เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งท้อง

ไข่ตกกี่วันถึงจะท้อง สิ่งที่ควรรู้ เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งท้อง

การนับวันไข่ตกเป็นวิธีที่จะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งท้องได้ แต่หลายคนยังอาจมีคำถามว่า ไข่ตกกี่วันถึงจะท้อง ซึ่งการรู้ถึงวันที่ไข่ตกอาจช่วยให้คู่รักมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มโอกาสตั้งท้องได้มากที่สุด โดยการตั้งท้องสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อตัวอสุจิผสมกับไข่ตั้งแต่วันแรกของการตกไข่

[embed-health-tool-due-date]

ไข่ตกกี่วันถึงจะท้อง

รอบประจำเดือนจะเกิดขึ้นอย่างเป็นวัฏจักรเฉลี่ย 28 วัน และการตกไข่จะเกิดขึ้นประมาณ 14 วัน ก่อนเริ่มรอบเดือนถัดไป อย่างไรก็ตาม ระยะเวลารอบเดือนของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ดังนั้น การจดบันทึกรอบเดือนจึงอาจเป็นวิธีที่จะช่วยประมาณการวันไข่ตกได้

บางคนอาจมีข้อสงสัยว่า ไข่ตกกี่วันถึงท้อง โดยปกติหากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไข่ตกก็สามารถทำให้ตั้งท้องได้ทันทีตั้งแต่วันแรกของการตกไข่ โดยเฉพาะ 5 วันก่อนไข่ตกจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการมีเพศสัมพันธ์มากที่สุด เนื่องจากตัวอสุจิจะสามารถมีชีวิตอยู่ในช่องคลอดได้นานถึง 5 วัน ซึ่งหลังจากไข่ตกตัวอสุจิที่รออยู่จะสามารถเข้าไปผสมกับไข่ได้ทันที

ดังนั้น การมีเพศสัมพันธ์ภายใน 5 วันก่อนไข่ตกจึงอาจเพิ่มโอกาสในการตั้งท้องได้มากขึ้น เพราะตัวอสุจิสามารถเข้าไปผสมกับไข่ได้ตั้งแต่วันแรกของการตกไข่

สัญญาณไข่ตก

สัญญาณไข่ตกที่ควรสังเกตเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งท้องให้มากขึ้น อาจมีดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของสารคัดหลั่งในช่องคลอด โดยสารคัดหลั่งอาจมีปริมาณมากขึ้น หนา เหนียวและลื่น มีลักษณะคล้ายไข่ขาว
  • อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ในช่วงที่ไข่ตก ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จึงส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ทำให้รู้สึกมีอาการตัวร้อนรุม ๆ
  • ปวดท้องเล็กน้อย อาจเกิดจากรังไข่ที่ตึงตัวเต็มที่พร้อมจะปล่อยไข่ จึงอาจทำให้มีอาการปวดท้องเล็กน้อย
  • เจ็บเต้านม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ส่งผลให้มีอาการคัดตึงเต้านมเกิดขึ้น
  • ความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน รวมทั้งเป็นการตอบสนองของร่างกายในการสืบพันธุ์

อย่างไรก็ตาม สัญญาณไข่ตกเหล่านี้เป็นเพียงอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งบางคนอาจไม่มีอาการใด ๆ เกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ

ปัญหาการเจริญพันธุ์ที่อาจทำให้ท้องยาก

การตั้งท้องไม่สามารถกำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนได้ ซึ่งบางคนที่ท้องยากอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของภาวะเจริญพันธุ์ เมื่ออายุมากขึ้นผู้หญิงและผู้ชายอาจมีภาวะเจริญพันธุ์ที่น้อยลง เช่น ความต้องการทางเพศลดลง ไข่ลดลง อสุจิไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ท้องยากขึ้น
  • ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ปัญหาต่อมไทรอยด์
  • ความผิดปกติทางร่างกาย เช่น เบื่ออาหาร ผอมเกินไป โรคอ้วน ออกกำลังกายมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้ฮอร์โมนไม่ปกติและส่งผลต่อการตกไข่
  • ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ เช่น การติดเชื้อ ท่อนำไข่อุดตัน เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) จำนวนอสุจิน้อย
  • วัยหมดประจำเดือน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ovulation signs. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/ovulation-signs. Accessed February 28, 2023.

Your Best Days for Making a Baby. https://www.webmd.com/baby/features/best-days-making-baby. Accessed February 28, 2023.

Ovulation and fertility. https://www.tommys.org/pregnancy-information/planning-a-pregnancy/how-to-get-pregnant/ovulation-and-fertility. Accessed February 28, 2023.

How long does it usually take to get pregnant?. https://www.nhs.uk/pregnancy/trying-for-a-baby/how-long-it-takes-to-get-pregnant/. Accessed February 28, 2023.

What ovulation signs can I look out for if I’m trying to conceive?. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/expert-answers/ovulation-signs/faq-20058000. Accessed February 28, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/02/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการไข่ตก และวิธีนับวันตกไข่ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

อาหารคนท้องอ่อนห้ามกิน และอาหารบำรุงคนท้องอ่อน ๆ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา