backup og meta

เทคนิคการวิ่ง ที่ถูกวิธีสำหรับผู้ที่มีปัญหาข้ออักเสบ

เทคนิคการวิ่ง ที่ถูกวิธีสำหรับผู้ที่มีปัญหาข้ออักเสบ

คุณเคยมีปัญหากับโรคข้ออักเสบหรือเปล่า? มันเจ็บปวดมากเลยใช้มั้ยล่ะ ความเจ็บปวดที่ข้อต่อรอเวลาที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อที่คุณเคลื่อนไหว ดังนั้น คุณจึงมักจะไม่อยากที่จะเดิน หรือเคลื่อนไหวมากนัก แต่แบบนั้นไม่ใช่เรื่องดีเลย ที่จริงแล้ว มูลนิธิโรคข้ออักเสบในสหรัฐฯ แนะนำว่า ผู้ที่มีโรคข้ออักเสบควรออกกำลังกาย โดยวางแผนการออกกำลังอย่างเหมาะสม และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แล้วรู้หรือเปล่าว่า การวิ่งนั้นเป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง ที่คุณควรทำเพื่อข้อต่อของคุณ แต่เราจะทำยังไงดีล่ะ? ด้วยอาการเจ็บปวดที่สามารถคืบคลานขึ้นมาได้ทุกเมื่อ เมื่อเราเคลื่อนไหวขาคู่นั้น แน่นอนว่า มันมีวิธีการที่จะจัดการกับมันได้ ด้วยการใช้ เทคนิคการวิ่ง ที่ถูกต้องดังต่อไปนี้

เทคนิคการวิ่ง สำหรับผู้ที่มีปัญหาข้ออักเสบ

ทำให้แรงกระแทกเบาลง

การทำให้แรงกระแทกเบาลง หมายถึงการหลีกเลี่ยงการวิ่งบนพื้นคอนกรีต เท้าของคุณควรสัมผัสกับพื้นผิวที่นุ่มกว่าอย่างเช่นพื้นหญ้า หรือพื้นดิน เพราะคอนกรีตมีความแข็งกว่ายางมะตอยถึงสิบเท่า ฉะนั้น การปล่อยให้เท้าต้องกระแทกกับพื้นคอนกรีตจึงไม่ใช่เรื่องดี แรงกระแทกที่เกิดกับหัวเข่าหรือข้อต่อของคุณ จะกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บปวดได้อย่างง่ายดาย และทำให้การวิ่งในเช้าวันหยุดอันแสนสวยงามของคุณ ต้องพังทลายลงอย่างไม่เป็นท่า

ยืดกล้ามเนื้อ

การวอร์มอัพก่อนวิ่งด้วยการยืดกล้ามเนื้อ สามารถช่วยได้อย่างมาก ทั้งคนที่มีปัญหาโรคข้ออักเสบหรือไม่มีก็ตาม การยืดกล้ามเนื้อช่วยเตรียมพร้อมร่างกายของเราสำหรับการวิ่ง มันจะทำให้กล้ามเนื้อที่ต้องใช้งานอบอุ่นขึ้น และทำให้การไหลเวียนโลหิตมีความสม่ำเสมอ การแช่น้ำร้อนก่อนออกไปวิ่งก็เป็นไอเดียที่ไม่เลว โดยเฉพาะในช่วงอาการเย็น เนื่องจากอย่างที่เรารู้กันอยู่ว่า โรคข้ออักเสบนั้นไม่ถูกกับความหนาวเย็น การเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกายจึงถือว่าช่วยในเรื่องอาการโรคได้อย่างมาก

กายบริหารเพิ่มความแข็งแรง

เพื่อสร้างความสมดุลให้การออกกำลังกายของคุณ สลับการวิ่งทุกวันกับการเข้ายิมดูบ้าง คุณต้องการการสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะด้วยการยกน้ำหนัก หรือการบริหารร่างกายที่ใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงต้าน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจำเป็นต่อประสิทธิภาพในการวิ่งของคุณ ข้อต่อต่างๆ บนร่างกายของเราอาจไม่สามารถรองรับกับการวิ่งได้ ถ้าเราไม่ได้เตรียมความพร้อมให้กับมัน ฉะนั้น การสลับมาเข้ายิมบ้าง ไม่เพียงแต่สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกาย แต่ยังช่วยลดความเจ็บปวดของข้อต่อได้ในท้ายที่สุดด้วย

อย่าออกแรงหนักเกินไป

หลีกเลี่ยงการพยายามดึงดันจะทำในสิ่งที่คุณแค่อยากทำ แต่จงฟังเสียงตัวเองด้วย ถ้าคุณรู้สึกไม่ค่อยดี ก็ผ่อนตัวเองลงหน่อย การผลักดันตัวเองมากจนเกินไป มีแต่จะทำให้เราเสี่ยงมากขึ้นในระยะยาว มันยังทำให้มีโอกาสเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ หรือเกิดความเจ็บปวดมากขึ้นไปอีก คุณสามารถทดสอบได้ด้วยตัวเองว่า คุณกำลังออกกำลังหนักเกินไปหรือเปล่า ด้วยการดูว่า ในระหว่างวิ่ง ถ้าคุณยังสามารถพูดคุยได้ โดยไม่หายใจหอบตลอดเวลา ก็ถือว่าใช้ได้ แต่ถ้าพูดไปหอบไปแทบจะทุกคำ ก็หมายความว่าคุณต้องการพักหายใจสักหน่อย เช่นนั้น คุณก็ควรผ่อนฝีเท้าลงสักหน่อย แล้วก็หยุดพักชั่วคราว

จงสม่ำเสมอ

อุทิศตัวเองให้กับการวิ่ง แม้มันจะยากเย็นแค่ไหนก็ตาม มันอาจมีบางเวลาที่คุณอยากจะยอมแพ้ และเรียกคนมารับกลับบ้าน แต่การยอมแพ้มีแต่จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ลองจัดตารางเวลาที่เหมาะสำหรับคุณ และอาจหาเพื่อนสักคนที่จะคอยกระตุ้นคุณให้ทำตามนั้น ลองวิ่งตามแผนการนั้นอย่างต่อเนื่อง แล้วก็ค่อยๆ เพิ่มหรือปรับการวิ่งเมื่อเวลาผ่านไป ถ้าคุณต้องการ สุขภาพของข้อต่อคุณขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งานของคุณด้วย เพราะฉะนั้นจงออกกำลังกายให้พอเหมาะพอดี

นี่เป็นข้อควรระวังบางอย่างในเรื่องการวิ่ง สำหรับผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ เมื่อทำทุกอย่างอย่างเหมาะสม คุณควรจะสามารถวิ่งออกกำลังได้ไม่เกิดอาการเจ็บปวด หรือเกิดเพียงนิดหน่อย แต่ถ้ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น อย่าได้รีรอที่จะไปพบหมอ ถ้าคุณรู้สึกถึงอาการร้อนวูบวาบที่ข้อต่อมากเกินไป ควรหยุดเพื่อให้ข้อต่อของคุณได้พัก เพื่อที่จะได้ไม่เกิดผลเสียต่อไปในระยะยาว

 

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

“Running with Arthritis: 13 Training Strategies”. http://www.runnersworld.com/ask-coach-jenny/running-with-arthritis-13-training-strategies. Accessed April 15, 2017.

“How to Run With Arthritis”. http://www.livestrong.com/article/81551-run-arthritis/. Accessed April 15, 2017.

“Ask the doctor: Jogging and arthritis”. https://www.health.harvard.edu/pain/ask-the-doctor-jogging-and-arthritis. Accessed April 15, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย pimruethai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ป่วยเบาหวาน ออกกำลังกาย ด้วยการวิ่งได้หรือเปล่า

อยากให้ เซ็กส์ ดีขึ้น ออกกำลังกายสิ..ช่วยได้!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา