backup og meta

ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Venous Thromboembolism : VTE)

ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Venous Thromboembolism : VTE)

ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Venous Thromboembolism : VTE)  คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อก้อนเลือดก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดดำ มักเกิดขึ้นในบริเวณน่อง ต้นขา หรือกระดูกเชิงกราน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดขา ขาบวม

คำจำกัดความ

ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ คืออะไร

ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Venous Thromboembolism : VTE)  คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อก้อนเลือดก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดดำ มักเกิดขึ้นในบริเวณน่อง หรือต้นขา หรือกระดูกเชิงกราน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดขา ขาบวม

อย่างไรก็ตาม โรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำสามารถเกิดขึ้นได้ในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย หากผู้ป่วยพบอาการผิดปกติในร่างกายควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อรับการรักษา

ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ พบได้บ่อยเพียงใด

โรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีโอกาสเป็นสูงที่จะเป็นลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ

อาการ

อาการของ ลิ่มเลือดอุดตัน ในหลอดเลือดดำ

อาการโดยทั่วไปของลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ มีดังนี้

  • ปวดขา
  • ตะคริว
  • ผิวหนังบริเวณที่ได้รับผลกระทบเปลี่ยนสีเป็นสีซีด สีแดงหรือน้ำเงิน
  • รู้สึกร้อนบริเวณที่ได้รับผลกระทบ

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ.

สาเหตุของลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ

ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำเกิดจากความผิดปกติของการไหลเวียนเลือด ซึ่งมีสาเหตุดังนี้

  • การได้บาดเจ็บ การได้รับบาดเจ็บหรือมีบาดแผล อาจทำให้เลือดแคบลงหรืออุดตัน
  • การผ่าตัด ความเสียหายระหว่างผ่าตัดอาจทำให้ลิ่มเลือดอุดตัน
  • เคลื่อนไหวน้อย เมื่อนั่งบ่อย ๆ เลือดอาจสะสมที่ขาทำให้เลือดอุดตันเป็นก้อน
  • ยาบางชนิด การรับประทานยาบางชนิดอาจเพิ่มโอกาสที่เลือดจะจับตัวเป็นก้อน

ปัจจัยเสี่ยงของ ลิ่มเลือดอุดตัน ในหลอดเลือดดำ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ มีดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเกี่ยวกับลิ่มเลือดอุดตัน อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคดังกล่าวได้
  • การตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์อาจเพิ่มความดันในหลอดเลือดดำในกระดูกเชิงกรานและขา
  • ยาคุมกำเนิด การรับประทานยาคุมกำเนิดบางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เลือดแข็งตัว
  • อายุ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ
  • สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่อาจส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือดและการไหลเวียนเลือด

การวินิจฉัยและการรักษา

การวินิจฉัยลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย และเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยดังต่อไปนี้ เพื่อระบุความแม่นยำของโรค

  •  การอัลตราซาวด์ (Ultrasonography)  เพื่อตรวจดูความผิดปกติของหลอดเลือดดำ รวมถึงการไหลเวียนของระบบเลือด
  • การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด (Venography) การใช้สารทึบรังสี (Contrast Media) ตรวจดูความผิดปกติของเส้นเลือด

การรักษา ลิ่มเลือดอุดตัน ในหลอดเลือดดำ

วิธีการรักษาลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ มุ่งเน้นไม่ให้ก้อนเลือดโตและป้องกันการอุดตันของเลือด โดยส่วนใหญ่มีวิธีการรักษา ดังนี้

  • ยา ยาที่ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาเฮพาริน (Heparin) ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) ยาอีน็อกซาพาริน (Enoxaparin)
  • การผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อนำก้อนเลือดที่อุดตันบริเวณขาหรือแขนออก

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตดังต่อไปนี้ อาจช่วยรับมือกับลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำได้

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด
  • หลีกเลี่ยงการนั่งนิ่งๆ นานๆ หากคุณได้รับการผ่าตัดหรือนั่ง นอน เป็นเวลานานๆ ให้พยายามเคลื่อนไหวเพื่อให้เลือดไหลเวียนปกติ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Deep vein thrombosis (DVT). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/deep-vein-thrombosis/symptoms-causes/syc-20352557. Accessed on October 06, 2020.

Everything You Want to Know About Deep Vein Thrombosis (DVT). https://www.healthline.com/health/deep-venous-thrombosis. Accessed on October 06, 2020.

Deep Venous Thrombosis (DVT). https://www.msdmanuals.com/professional/cardiovascular-disorders/peripheral-venous-disorders/deep-venous-thrombosis-dvt. Accessed on October 06, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/03/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยวิธีที่คุณเองก็ทำได้

หลอดเลือดแดงอักเสบทากายาสุ (Takayasu's Arteritis)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 12/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา