backup og meta

หัวโน อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษา

หัวโน อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษา

หัวโน คือ อาการที่ศีรษะได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม กระแทก จนเกิดการปูดนูนขึ้นมาในบริเวณนั้น ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยอาการหัวโนอาจมีอาการเจ็บเล็กน้อยในระยะสั้น รวมถึงระยะยาวหากเกิดการกระแทกอย่างรุนแรง ซึ่งควรหมั่นสังเกตอาการข้างเคียง และหากมีอาการใดที่บ่งชี้ถึงความผิดปกติ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัย

[embed-health-tool-heart-rate]

คำจำกัดความ

หัวโน เกิดจากอะไร 

หัวโน หมายถึง ศีรษะบริเวณที่ได้รับการกระทบกระเทือกจากอุบัติเหตุ ทำให้เกิดการปูดนูนขึ้นมา หากกระแทกไม่แรงอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อย และสามารถหายได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยส่วนใหญ่หัวโนในเด็กมักเกิดจากการชนสิ่งของ เช่น เฟอร์นิเจอร์ มุมโต๊ะ รวมถึงหกล้ม ถึงแม้ว่าเด็กอาจตกลงมาไม่สูง แต่การกระแทกอาจส่งผลกระทบต่อศีรษะของเด็ก ทำให้เกิดการฟกซ้ำ หรือปวดศีรษะ   

อย่างไรก็ตามหัวโนอาจส่งผลกระทบต่อศีรษะ และเนื้อเยื้อรอบศีรษะได้หากเกิดการกระแทกที่รุนแรง ซึ่งอาจส่งผลกระทบในระยะยาว เช่น เลือดคั่งในสมอง พูดติดขัด 

หัวโน พบได้บ่อยแค่ไหน

หัวโนอาจพบเจอได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่ส่วนมากมักพบเจอในวัยเด็กที่ซุกซน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังในการดูแล เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ แต่วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน

อาการ

อาการของหัวโน 

หากหัวโนจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงมากนัก อาจมีอาการฟกซ้ำ เวียนศีรษะเล็กน้อย มึนงง ซึ่งอาการอาจเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่หากได้รับการกระทบกระเทือนที่รุนแรง อาจเกิดอาการเหล่านี้ได้ เช่น 

  • ปวดศีรษะรุนแรง และเรื้อรัง 
  • อาเจียนบ่อย จนผิดสังเกต 
  • อาจเกิดอาการชัก 
  • แขน หรือขาอาจเกิดอาการอ่อนแรง 
  • พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น หงุดหงิด โมโห 
  • สับสนในความคิด อาจรู้สึกคิดไม่ค่อยออก
  • พูดไม่ชัด อาจปัญหาด้านการสื่อสาร รวมถึงอาจมีปัญหาด้านการฟัง และการมอง 
  • อาจมีปัญหาด้านการทรงตัว 

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ ควรปรึกษาคุณหมอ 

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

อาการปวดศีรษะรุนแรง และเป็นมานาน รวมถึงอาการไม่บรรเทาลง และอาการดังกล่าวที่ระบุข้างต้น ควรไปพบคุณหมอ เพื่อรับการวินิจฉัย แต่ถ้าหากบาดเจ็บเล็กน้อยที่ศีรษะเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วยังไม่หายดีก็ควรปรึกษาคุณหมอเช่นกัน เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงของระบบประสาทได้ 

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ และระดับความรุนแรง

สาเหตุ

สาเหตุของการเกิดหัวโน

สาเหตุของการเกิดหัวโน อาจเกิดได้จากสิ่งเหล่านี้ เช่น 

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของหัวโน

เนื่องจากศีรษะเป็นส่วนที่มีเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก และอาจมีความเบาะบาง หากได้รับบาดเจ็บจากการกระทบกระเทือน อาจทำให้เลือดออกได้ทั้งภายนอก คือ หนังศีรษะ และภายใน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกะโหลกศีรษะ สมอง หลอดเลือด โดยปัจจัยเสี่ยงของหัวโน อาจมีดังนี้ 

  • ฟกช้ำ แม้ไม่มีเลือดออกภายนอก แต่อาจมีเลือดออก และบวมภายในสมองบริเวณที่ศีรษะถูกกระแทก เกิดเป็นรอยแดงหรือม่วงบนผิวหนัง อาจทำให้เยื่อบุ เนื้อเยื่อ รวมถึงหลอดเลือดในสมองฉีกขาด
  • ศีรษะถูกกระทบกระเทือน อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง และอาจทำให้เซลล์สมองเสียหาย ซึ่งอาจทำให้สมองทำงานไม่ปกติ
  • กะโหลกศีรษะแตก เกิดจากการกระทบกระเทือนของศีรษะ อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่สมอง

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในนี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม 

การวินิจฉัยของหัวโน

คุณหมออาจจะทำการประเมินอาการเบื้องต้น ด้วยการสอบถามประวัติ และดำเนินการวินิจฉัยตามขั้นตอน โดยอาจทำการทดสอบ เช่น 

  • การตรวจเลือด อาจมีการเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อนำไปวินิจฉัย และตรวจสอบปัญหา ซึ่งการตรวจเลือดเป็นอีกหนึ่งวิธีในการหาสาเหตุของโรคต่าง ๆ
  • การตรวจทางระบบประสาท เป็นการตรวจการทำงานของสมองว่าทำงานผิดปกติหรือไม่ โดยตรวจการทำงานประสานกันของระบบประสาท ปฏิกิริยาการตอบสนอง ระบบกล้ามเนื้อ เพื่อดูความแข็งแรงของแขน และขา วิสัยทัศน์ รวมถึงการได้ยิน 
  • สแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เป็นการทดสอบในผู้ใหญ่เพื่อประเมินสมองโดยฉายลำแสงเอกซ์ผ่านอวัยวะที่ต้องการตรวจในแนวตัดขวาง และให้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ แต่หากเป็นเด็ก คุณหมออาจจะดูตามเกณฑ์เฉพาะ เช่น ประเภทของการบาดเจ็บ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กต้องสัมผัสกับรังสี
  • เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) อาจใช้เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงในสมอง และเพื่อวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น หลังจากศีรษะถูกกระแทก

การรักษาของหัวโน

การรักษาหัวโน อาจเริ่มด้วยการสังเกตอาการ หากเป็นเล็กน้อยอาจปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่บ้านได้ด้วยวิธีการประคบเย็นเป็นระยะ ๆ ครั้งละประมาณ 2-5 นาที ทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้เส้นเลือดหดตัว และอาจช่วยลดอาการบวม ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดเป็นเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง หากเกิดอาการที่รุนแรง หรือมีอาการปวดศีรษะ อาจรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล แต่ควรหลีกเลี่ยงไอบูโพรเฟน และแอสไพริน เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงเกี่ยวกับเลือด เพราะในตัวยาอาจมีฤทธิ์ทำให้ต้านการแข็งตัวของเลือด ยกเว้นคุณหมอจ่ายยาให้ แต่ถ้าหากเป็นหนักคุณหมออาจทำการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น 

หากผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะ อาจปฏิบัติดังนี้ 

  • อาจโทรเรียกรถพยาบาลทันที หากมีอาการปวดศีรษะรุนแรง 
  • หากมีเลือดออก ให้พยายามหยุดเลือด โดยใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาด
  • หากแผลเปิด ห้ามสัมผัสหรือกดทับ เพราะอาจทำให้แผลติดเชื้อ หรือเลือดออกมากกว่าเดิม ดังนั้นให้พันแผลด้วยผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดแทน 
  • หากผู้ป่วยอาเจียนขณะนั่ง ให้เอนตัวไปข้างหน้า แต่ถ้าหากอาเจียนขณะนอนราบ ให้พลิกตัวไปด้านข้าง เพื่อป้องกันการสำลัก
  • หากผู้ป่วยมีสติอยู่ไม่ควรขยับร่างกาย เพื่อช่วยป้องกันผลกระทบที่อาจส่งผลต่อกระดูกสันหลัง 

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง  

การปรับไลฟ์สไตล์บางอย่างอาจช่วยป้องกัน และลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดหัวโน เช่น 

  • เวลาขับขี่มอเตอร์ไซค์ หรือจักรยานอาจสวมใส่หมวกกันน็อคที่ได้รับมาตรฐาน มอก. และสวมใส่ได้พอดี ไม่หลวมหรือคับแน่นจนเกินไป เพราะหากหลวมเกินไปอาจจะหลุดออกจากศีรษะได้ แต่หากคับแน่นเกินไปอาจรู้สึกสวมใส่ได้ไม่สบาย และอึดอัด รวมถึงผู้ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ก็ควรสวมใส่ด้วยเช่นกัน 
  • เวลาขับรถยนต์ควรรัดเข็มขัดนิรภัย และตรวจเช็คสภาพรถอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ หากมีเด็กเล็กควรใช้คาร์ซีทสำหรับเด็ก เนื่องจากสายนิรภัยของผู้ใหญ่อาจป้องกันเด็กที่ยังตัวเล็กได้ไม่ดีพอ  
  • เวลาเล่นกีฬาที่อาจมีการกระทบกระเทือนต่อศีรษะ เช่น สเก็ตบอร์ด มวย ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันก่อนเล่น 
  • ปฏิบัติตามข้อระวังของสถานที่ต่าง ๆ เช่น สถานที่ก่อสร้าง สนามเด็กเล่น เพื่อความปลอดภัย 
  • จัดระเบียบสิ่งของภายในบ้าน โดยไม่วางสิ่งของเกะกะที่พื้น หรือตามบันได เพื่อป้องกันการเดินสะดุดหกล้ม

การดูแลตัวเองหลังจากได้รักษา อาจทำได้ดังนี้

  • อาจหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสมอง และการตัดสินใจ 
  • อาจหลีกเลี่ยงการขับรถ เนื่องจากการขับรถต้องใช้สมอง และกล้ามเนื้อ ดังนั้นผู้ป่วยไม่ควรขับรถ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ถนน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Head Injury in Children. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=head-injury-in-children-90-P02604. Accessed September 23, 2021

Head Injuries. https://kidshealth.org/en/parents/head-injury.html. Accessed September 23, 2021

Minor Head Injury in Children.  http://conditions.health.qld.gov.au/HealthCondition/condition/6/101/664/Minor-Head-Injury-in-Children. Accessed September 23, 2021

Head injury – general advice. https://www.rch.org.au/kidsinfo/fact_sheets/Head_injury/. Accessed September 23, 2021

Head injury – first aid. https://medlineplus.gov/ency/article/000028.htm. Accessed September 23, 2021

Head Injury. https://www.moh.gov.sa/en/HealthAwareness/EducationalContent/Firstaid/Pages/008.aspx. Accessed September 23, 2021

Head injury and concussion. https://www.nhs.uk/conditions/minor-head-injury/. Accessed September 23, 2021

Head injury: Symptoms, concussion, and treatment. https://www.medicalnewstoday.com/articles/322225.  Accessed September 23, 2021

Learn first aid for someone who has a head injury. https://www.redcross.org.uk/first-aid/learn-first-aid/head-injury. Accessed September 23, 2021

Concussion. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/concussion/diagnosis-treatment/drc-20355600. Accessed September 23, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/02/2024

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผ้าพันแผล ยืดหยุ่น และวิธีการใช้อย่างถูกต้องในการปฐมพยาบาล

วิธีการรับมือเมื่อ ลูกหกล้ม และวิธีการป้องกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา