ลูกตกเตียง เป็นปัญหาที่มักพบได้ทั่วไปในเด็ก ๆ เนื่องจากเด็กนั้นมันไม่อยู่นิ่ง ทั้งนี้แม้การตกเตียงจะไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง แต่พ่อแม่ผู้ปกครองควรระมัดระวังและหาวิธีป้องกัน เพราะหากลูกตเตียงบ่อยครั้งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและสมองของเด็กทารกได้ และสิ่งสำคัญคือเมื่อเกิดเหตุการณ์ลูกตกเตียงแล้ว คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองควรรู้จักวิธีดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัย
[embed-health-tool-ovulation]
ลูกตกเตียง ผู้ปกครองควรทำอย่างไร
ปัญหาลูกตกเตียง แม้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง แต่ก็อาจจะมีอาการบาดเจ็บบ้างในบางครั้ง เมื่อลูกตกจากเตียงสิ่งแรกที่พ่อแม่ควรมีคือ “สติ” และค่อย ๆ ดูอย่างละเอียดว่าลูกปลอดภัยหรือไม่ มีอาการเช่นไรบ้าง หากลูกหมดสติ มีเลือดออกจำนวนมาก หรือได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงควรรีบโทรหาแพทย์ฉุกเฉินในทันที
ในกรณีที่เด็กได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือกระดูกส่วนอื่น ๆ ไม่ควรเคลื่อนย้าย แต่ควรโทรแจ้งหน่วยแพทย์เพื่อนำรถพยาบาลฉุกเฉินมารับ เพราะการเคลื่อนย้ายเองโดยไม่ถูกวิธีอาจส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังได้ จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้
หากลูกมีอาการอาเจียนหรือชัก ให้ค่อย ๆ พลิกตัว นอนตะแคง เพื่อป้องกันการสำลักหรือการมีเศษอาหารลงไปอุดกั้นหลอดลม หลังจากนั้นค่อย ๆ ตรวจดูอย่างละเอียด โดยเฉพาะบริเวณศีรษะ ว่ามีอาการฟกช้ำหรือได้การบาดเจ็บอื่น ๆ อีกหรือไม่ แม้ทารกไม่มีอาการบาดเจ็บใด ๆ ร้ายแรงใดๆ ที่มองเห็นได้ แต่อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ผู้ปกครองควรติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอาการบาดเจ็บภายในขั้นร้ายแรง
สัญญาณที่บ่งบอกว่าควรพาลูกไปห้องฉุกเฉิน
เมื่อลูกตกเตียง แม้ว่าจะไม่มีอาการหมดสติหรือได้รับความบาดเจ็บที่รุนแรง แต่หากมีอาการหรือสัญญาณเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องนำส่งห้องฉุกเฉินทันทีเพื่อความปลอดภัย
- ได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ มีอาการบวมหรือหัวปูด
- เด็กถูที่ศีรษะบ่อย ๆ
- เด็กๆ มีอาการง่วงนอนมากผิดปกติ
- มีสารคัดหลั่งไม่ว่าจะเป็นเลือดหรือน้ำสีเหลืองไหลออกมาจากจมูกหรือหู
- ร้องเสียงแหลม
- มีความไวต่อแสงและเสียงรบกวน
- อาเจียน
รับมืออย่างไรเมื่อ ลูกตกเตียง
หลังจากที่ลูกตกเตียงหรือหกล้ม อาจจะมีอาการง่วง ยิ่งหากเกิดขึ้นในขณะที่นอนหลับอยู่ ลูกน้อยก็จะยิ่งรู้สึกง่วง หลังจากที่พบคุณหมอแล้ว พ่อแม่ควรปล่อยให้เด็กได้พักผ่อน และคอยปลุกเป็นระยะเพื่อตรวจดูว่าไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ
การตกเตียงอาจทำให้เด็กมีอาการปวดศีรษะหรือมีอาการปวดตามร่างกาย การให้รับประทานยาแก้ปวดอาจช่วยให้หลับสบายได้ดีขึ้น แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ในระหว่างนี้พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้พักผ่อนอย่างเต็มที่และดูแลไม่ให้เล่นกิจกรรมที่ต้องใช้แรงเยอะ หรือกิจกรรมที่มีความรุนแรงเพราะอาจจะยิ่งทำให้บาดเจ็บได้ง่าย
เนื่องจากวัยเด็กเป็นช่วงที่พวกเขาจะดิ้น กลิ้ง และเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว การป้องกันจึงถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ในการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ลูกตกเตียง ผู้ปกครองควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิดและไม่ควรปล่อยให้เขานั่งอยู่บนเตียงสำหรับผู้ใหญ่โดยลำพัง แม้ว่าจะวางหมอนเพื่อป้องกันตามขอบไว้แล้วก็ตาม และไม่ปล่อยให้เขาอยู่ในที่ที่เสี่ยงต่อการตกลงมา เช่น เตียง หรือโซฟา ที่ไม่มีราวกั้น