backup og meta

ความรับผิดชอบ สำคัญอย่างไร ควรเริ่มสอนลูกเมื่อไรดี

ความรับผิดชอบ สำคัญอย่างไร ควรเริ่มสอนลูกเมื่อไรดี

ความรับผิดชอบ เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้และฝึกฝนโดยอาจจะเริ่มจากการรู้จักรับผิดชอบต่อตนเอง เช่น การเก็บที่นอน การอาบน้ำแต่งตัว การรับประทานอาหารด้วยตนเอง และค่อย ๆ ฝึกขยายเพิ่มขอบเขตความรับผิดชอบให้มากขึ้น เช่น การทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ การช่วยคุณพ่อคุณแม่ดูแลน้อง ทั้งนี้ การรู้จักมอบหมายหน้าที่ให้รับผิดชอบจะเป็นการช่วยฝึกฝนให้เขารู้จักรับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่นด้วย

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ความรับผิดชอบ คืออะไร

หากมีคนมาถามว่า คุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกโตขึ้นเป็นคนแบบไหน นอกจากคำตอบที่ว่า อยากให้ลูกประสบความเร็จในชีวิตแล้ว อีกหนึ่งคำตอบที่พ่อแม่หลายคนอยากให้เกิดขึ้นจริงคือ อยากให้ลูกเป็นคนมีความรับผิดชอบ เพราะความรับผิดชอบก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้เด็กสามารถประสบความสำเร็จได้ ความรับผิดชอบนั้นมีหลายแง่มุม เช่น

  • ดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี เช่น การรักษาความสะอาดของร่างกาย
  • รักษาคำพูดและข้อตกลงได้เป็นอย่างดี
  • ทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง โดยไม่ต้องได้รับการเตือนซ้ำ
  • ไม่ว่าจะได้รับมอบหมายให้ทำอะไร ก็จะปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้ออกมาดีที่สุด
  • ยอมรับผลของการกระทำและคำพูด ทั้งต่อของตัวเองและเพื่อนร่วมงาน
  • ยอมรับในความผิดพลาดของตนเองและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้ดีขึ้น

การมีความรับผิดชอบนับเป็นอีกหนึ่งกุญแจสู่ความสำเร็จ คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองจึงควรฝึกให้ลูกมีความรับผิดชอบ ทั้งกับการเรียนในโรงเรียน และการทำกิจกรรมอื่น ๆ เมื่ออยู่ข้างนอก เพื่อที่ลูกน้อยจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ

ควรเริ่มสอนให้ลูกมีความรับผิดชอบเมื่อไหร่

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เริ่มรู้จักความรับผิดชอบที่อายุประมาณ 13-16 ปี เพราะเด็กวัยเรียนที่อยู่ในช่วงวัยนี้ สามารถวิเคราะห์และทำความเข้าใจเรื่องของความเหมาะสม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้ แต่จริง ๆ แล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนและฝึกลูกให้รู้จักความรับผิดชอบได้ตั้งแต่ก่อนเป็นวัยรุ่น อาจจะเป็นวัยอนุบาล หรือประถมศึกษาต้อนต้นก็ได้ โดยเริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการรับผิดชอบต่อตนเอง การเก็บที่นอน การยกจานไปเก็บหลังรับประทานอาหารเสร็จ ทั้งนี้ ควรสังเกตพฤติกรรมของลูก ๆ และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนคำสอนและขอบข่ายความรับผิดชอบให้เหมาะกับช่วงอายุ ไม่มากไปหรือไม่น้อยเกินไป

พ่อแม่จะสอนลูกให้มีความรับผิดชอบได้อย่างไรบ้าง

พ่อแม่สามารถสอนให้ลูกมีความรับผิดชอบได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ลูกน้อยพร้อมที่จะเติบโตและพัฒนาตนเองขอเพียงคุณพ่อคุณแม่ค่อย ๆ แนะนำและทำความเข้าใจกับลูกแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยสามารถเริ่มสอนได้ด้วยวิธีเหล่านี้

เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก

คำสอนที่สำคัญที่สุดคือ การเป็นแบบอย่างให้ลูกเห็น เพราะเด็ก ๆ จะเรียนรู้โดยเริ่มต้นจากการเลียนแบบ และปฏิบัติตาม หากคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ ลูก ๆ ก็จะกลายเป็นคนที่มีความรับผิดชอบได้โดยไม่ยาก

ให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการทำสิ่งดี ๆ

อาจเป็นการทำกิจกรรมที่โรงเรียน หรือนอกสถานที่ เพื่อให้พวกเขารู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า สามารถรับผิดชอบกับสิ่งที่ได้รับมอบหมายได้ และสามารถทำสิ่งดี ๆ ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นได้ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคาดหวังหรือกดดันลูกมากจนเกินไป แต่ควรให้เวลาลูกค่อย ๆ เรียนรู้

ปล่อยให้ลูกได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง

คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองไม่ควรที่จะทำทุกอย่างให้ลูก และไม่ควรโอ๋ลูกมากเกินไป โดยส่วนใหญ่ เด็กสามารถที่จะเรียนรู้และช่วยเหลือตนเองได้ ควรปล่อยให้ลูกได้ลงมือทำ เรียนรู้ข้อผิดพลาดและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง เพียงแต่อาจคอยสังเกตอยู่ห่าง ๆ หากผู้ปกครองรู้สึกว่าเรื่องนั้นเกินความสามารถ หรือลูก ๆ ต้องการความช่วยเหลือจึงค่อยหยิบยื่นความช่วยเหลือ

ให้ลูกได้ใช้ความคิดจัดการเรื่องของตนเอง

คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ใช้ความคิด มากกว่าที่จะคอยสั่งว่าลูกควรทำ หรือต้องทำอะไร ปล่อยให้เด็กได้ใช้เวลาอยู่กับเป้าหมายที่ตนเองควรจะต้องทำ เพื่อที่จะได้รู้จักใช้ความคิด จัดการปัญหา กล้าตัดสินใจ ลงมือทำด้วยตนเองโดยไม่ต้องรอให้ผู้ปกครองอนุญาต เป็นการส่งเสริมความรับผิดชอบและความมั่นใจไปพร้อม ๆ กัน

สอนให้ลูกรู้จักรับผิดชอบกับการกระทำของตนเอง

ไม่ควรเข้าข้างลูกเมื่อทำผิด ควรให้ลูกได้พิจารณาว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นดีหรือไม่ดี แล้วจึงให้แง่คิด ช่วยแก้ปัญหา และสอนให้เขารู้จักยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำและการตัดสินใจของตน ไม่ว่าผลจะออกมาดีหรือร้าย เขาจะต้องยอมรับให้ได้ และรู้จักทั้งรับผิดและรับชอบ

เปลี่ยนคำตำหนิเป็นกำลังใจ

เด็กทุกคนมีความรับผิดชอบในตัวเองอยู่แล้ว ผู้ปกครองจึงไม่ควรตำหนิเมื่อลูกไม่ทำตามคำสั่ง เช่น เมื่อลูกไม่ทำงานบ้านตามที่ได้รับมอบหมาย แทนที่จะดุด่าว่ากล่าว ก็ควรเปลี่ยนเป็นการพูดด้วยเหตุผลหรือให้กำลังใจแทนจะดีกว่า เพราะการตำหนิจะยิ่งทำให้ลูกต่อต้าน เบื่อหน่าย และไม่เชื่อฟัง หรือหากแย่กว่านั้น ลูกอาจเก็บเอาคำพูดที่บั่นทอนจิตใจเหล่านั้นไว้จนคิดมาก นำไปสู่ความวิตกกังวล และมีภาวะซึมเศร้าได้

สอนให้ลูกจัดทำตารางกิจวัตรประจำวัน

ในแต่ละวันลูกอาจต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย อาจแนะนำให้ลูกจัดทำตารางกิจกรรมเพื่อที่จะได้เรียงลำดับว่าสิ่งใดควรทำก่อนหรือหลัง วิธีนี้จะช่วยฝึกให้ลูกมีความรับผิดชอบและแยกแยะและจัดลำดับสิ่งสำคัญในชีวิตเป็น

วิธีฝึกลูกให้เป็นคนมีความรับผิดชอบนั้นมีอยู่หลากหลายวิธี แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมที่จะเป็นแบบอย่างที่ดี และคอยให้กำลังใจเมื่อลูกเริ่มเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง เพื่อจะได้เติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

LIBRARY OF ARTICLES:RESPONSIBILITY AND CHORES:. https://centerforparentingeducation.org/library-of-articles/responsibility-and-chores/developing-responsibility-in-your-children/. Accessed June 8, 2022.

Taking on Responsibility Helps Preschoolers. https://www.webmd.com/parenting/news/20050805/taking-on-responsibility-helps-preschoolers. Accessed June 8, 2022.

Teaching Responsibility to Your Child. https://www.verywellfamily.com/teaching-responsibility-to-your-child-3288496. Accessed June 8, 2022.

The responsible child: How to teach responsibility (ages 6 to 8). https://www.babycenter.com/child/parenting-strategies/the-responsible-child-how-to-teach-responsibility-ages-6-to_67945. Accessed June 8, 2022.

Responsibility How to Teach Your Five-Year-Old Responsibility. https://www.pbs.org/parents/learn-grow/age-5/character/responsibility. Accessed June 8, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/06/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

สอนลูก ให้เรียนรู้จากสิ่งที่ทำผิด ควรทำอย่างไร

สอนลูกเรื่องการเหยียดเชื้อชาติ เริ่มต้นอย่างไร ให้เขาเข้าใจได้ง่ายที่สุด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 08/06/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา