backup og meta

เคล็ดลับ การดูแลสุขภาพวัยรุ่น

เคล็ดลับ การดูแลสุขภาพวัยรุ่น

วัยรุ่น เป็นช่วงชีวิตที่สำคัญ ควรได้รับการส่งเสริมในหลาย ๆ ด้าน อย่างถูกวิธี การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย อารมณ์ และความคิด การดูแลสุขภาพวัยรุ่น ที่เหมาะสมจึงนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้วัยรุ่นมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงและปลอดภัยจากโรค รวมทั้งสุขภาพจิตที่ดีเช่นเดียวกัน

[embed-health-tool-bmi]

ปัญหาสุขภาพในวัยรุ่น

ปัญหา สุขภาพวัยรุ่น ที่พบบ่อย ได้แก่

  • ปัญหาสุขภาพจิต

โรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของปัญหา สุขภาพวัยรุ่น ที่อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยตามมา ปัจจัยอื่นที่สามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่นได้ คือ ความรุนแรง ความรู้สึกด้อยค่า ความวิตกกังวล ปัญหาทาอารมณ์ ปัญหาทางครอบครัว การดูแลสุขภาพจิตของวัยรุ่นจึงเป้นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย

  • โรคกินผิดปกติและภาวะทุพโภชนาการ

วัยรุ่น หลายคนอาจมีความกังวลเรื่องรูปร่างและน้ำหนัก จนอาจนำไปสู่ปัญหาการกินผิดปกติ เช่น กินน้อยเกินไป กินมากเกินไป และอาจนำไปสู่ปัญหาโรคอ้วนที่เป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพมากมายในอนาคต  ในขณะเดียวกัน วัยรุ่นบางคนอาจไม่ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม จึงทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้

  • การเกี่ยวข้องกับความรุนแรง

ความสาเหตุเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตใน วัยรุ่น ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในวัยรุ่นชายและเด็กหญิงอายุประมาณ 20 ปี ถูกล่วงละเมิดทางเพศ สาเหตุหลักของปัญหาเหล่านี้ส่วนใหญ่มากจากความรุนแรง การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนทำให้เกิดความก้าวร้าวในวัยรุ่น

  • เอชไอวี/ เอดส์

เอชไอวี (HIV) เป็นโรคหนึ่งที่คุกคามสุขภาพวันรุ่นเนื่องจากวัยนี้เป็นวัยอยากรู้อยากลองจึงอาจเกิด การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การใช้สารเสพติด ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น หรือ เอชไอวี (HIV) จากพ่อแม่ นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของเชื้อในวัยรุ่น รวมทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่น ๆ

เคล็ดลับ การดูแลสุขภาพวัยรุ่น

การดูแลสุขภาพวัยรุ่น ให้เติบโตสมวัยแข็งแรงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ มีเคล็ดลับต่าง ๆ ดังนี้

เลือกอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

พยายามเลือกอาหารเพื่อสุขภาพ ควบคุมปริมาณและประเภทอาหารจำพวกผลไม้ ผัก โปรตีน และไขมันต่ำ

  • ผักและผลไม้ ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น วิตามิน แคลเซียม และไฟเบอร์
  • ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ขนมปังโฮลวีต ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต
  • โปรตีน เลือกเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น ไก่ อาหารทะเล ไข่ขาว ถั่ว
  • ผลิตภัณฑ์จากนม จะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
  • ไขมันดี ช่วยสร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย ช่วยให้ร่างกายเติบโตและมีส่วนช่วยให้ผม ผิวแข็งแรง

จำกัดน้ำตาล

อาหารบางชนิด เช่นผลไม้หรืออาหารอื่น ๆ อย่างไอศกรีม ขนม เครื่องดื่มที่มีรสหวานมาก สามารถเพิ่มแคลอรี่ในร่างกายมากขึ้น แต่ไม่เพิ่มวิตามินหรือไฟเบอร์ที่ร่างกายต้องการ จนอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร และเกิดปัญหาด้านการเจริญเติบโตได้

ควบคุมสัดส่วนอาหาร

ควรควบคุมสัดส่วนของอาหารให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะกับ วัยุ่รน ทั้งเรื่องของแคลอรี่และการให้พลังงาน ในอาหารหนึ่งมื้อควรมีสัดส่วนของผัก ผลไม้ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต อย่างเหมาะสมด้วย

กินอาหารให้ครบทุกมื้อ

การงดมื้ออาหารอาจช่วยในการลดน้ำหนัก แต่ทางกลับกันก็อาจเป็นต้นเหตุของการเพิ่มน้ำหนักด้วย เพราะคุณอาจกินมากขึ้นในมื้อถัดไป ดังนั้นต้องกินอาหารให้ครบทุกมื้อเพราะช่วงวัยรุ่นเป็นวันที่กำลังพัฒนาในหลายด้านในร่างกายจึงควรได้รับอาหารที่เพียงพอตลอดทั้งวัน

ออกกำลังกาย

วัยรุ่น ควรได้ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพราะการออกกำลังกายมีประโยชน์ทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตนอกจะทำให้รู้สึกสดชื่น มีความสุข ควบคุมน้ำหนัก ยังช่วยสร้างกล้ามเนื้อที่แข็งแรง และเพิ่มความยืดหยุ่นให้ร่างกายมากขึ้นด้วย

นอนหลับให้เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญการดูแล สุขภาพวัยรุ่น เพราะการนอนหลับเป็นเหมือนกันชาร์จพลังให้กับร่างกายที่ผ่านความเหน็ดเหนื่อยมาตลอดทั้งวัน และหากนอนหลับไม่เพียงพออาจทำให้เกิดอาการหงุดหงิด อารมณ์เสียหรืออาจทำให้น้ำหนักเพิ่มได้เช่นกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Common Adolescent Health Problems and Prevention. https://www.indushealthplus.com/adolescence-health-problems-prevention.html. Accessed July 27, 2023.

Adolescent health. https://www.who.int/health-topics/adolescent-health#tab=tab_1. Accessed July 27, 2023.

Adolescent and young adult health. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescents-health-risks-and-solutions. Accessed July 27, 2023.

New Healthcare for Teens. https://www.webmd.com/baby/features/new-healthcare-for-teens#1. Accessed July 27, 2023.

Take Charge of Your Health: A Guide for Teenagers. https://www.niddk.nih.gov/health-information/weight-management/take-charge-health-guide-teenagers. Accessed July 27, 2023.

Tween and teen health. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/tween-and-teen-health/basics/tween-and-teen-health/hlv-20049436. Accessed July 27, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/07/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัยรุ่น กับพัฒนาการทางจิตใจที่ควรให้ความสำคัญ

วัยรุ่น ควรนอนมากน้อยแค่ไหนถึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา