backup og meta

วิตามินและแร่ธาตุ สำหรับเด็ก มีอะไรบ้างที่จำเป็นต่อร่างกาย

วิตามินและแร่ธาตุ สำหรับเด็ก มีอะไรบ้างที่จำเป็นต่อร่างกาย

วิตามินและแร่ธาตุ เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อเด็กทุกคนตั้งแต่วัยทารกไปจนถึงวัยรุ่น นอกเหนือจากการที่ร่างกายควรได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอต่อความต้องการแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของอาหารแต่ละชนิด และดูแลให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารครบถ้วนเพื่อร่างกายจะได้นำไปใช้เสริมสร้างและบำรุงสุขภาพให้เติบโตแข็งแรงสมวัย

[embed-health-tool-vaccination-tool]

วิตามินและแร่ธาตุ สำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง

ร่างกายของเด็กควรได้รับสารอาหารครบถ้วน นอกเหนือไปจากอาหารหลัก 5 หมู่ ซึ่งประกอบไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ ยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายที่คุณพ่อคุณแม่ควรจัดสรรให้ลูกน้อยได้รับอย่างเพียงพออีกด้วย

  • วิตามินเอ

วิตามินเอ เป็นสารอาหารสำหรับเด็กที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งต่อร่างกาย เนื่องจากว่าวิตามินเอนั้น จะช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโตและยังช่วยในเรื่องของการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนั้น ยังทำให้กล้ามเนื้อ และกระดูกนั้น สามารถซ่อมแซมตัวเอง รวมทั้งช่วยส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผิว และสุขภาพดวงตาอีกด้วย

  • วิตามินบี

วิตามินบี สามารถแยกออกมาอีกหลากหลายชนิดด้วยกัน  เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 5 แต่ทั้งนี้คุณสมบัติของวิตามินบีนั้นมักช่วยในเรื่องของการเผาผลาญ และยังเป็นแหล่งอาหารที่ใช้เพื่อการผลิตพลังงานให้ร่างกาย รวมทั้งช่วยในการส่งเสริมและพัฒนาระบบประสาทให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

  • วิตามินซี

วิตามินซีเป็นสารอาหารสำหรับเด็กที่ช่วยในเรื่องของการป้องกันและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่อาจเข้าสู่ร่างกาย อีกทั้งช่วยบำรุงผิวให้สดใสและแข็งแรง  และบำรุงหลอดเลือดให้แข็งแรง

  • วิตามินดี

วิตามินดีช่วยเสริมสร้างและบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง และที่สำคัญ ยังเป็นการช่วยกระตุ้นร่างกายให้สามารถที่จะดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

  • เหล็ก

ช่วยเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อ และเซลล์เม็ดเลือดแดงแข็งแรง ป้องกันโรคโลหิตจาง เป็นสารอาหารสำหรับเด็กที่จำเป็นต่อการย่อยอาหาร และลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย

สารอาหารเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสารอาหารสำหรับเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ควรจัดสรรให้ลูกน้อยได้รับอย่างครบถ้วนในแต่ละมื้อเหล่านี้ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถที่จะดึงสารอาหารต่าง ๆ ไปใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

วิตามินและแร่ธาตุ สำหรับเด็ก หาได้จากแหล่งใดบ้าง

สารอาหารสำหรับเด็กสามารถหาได้จากแหล่งอาหารเหล่านี้

  • อาหารธรรมชาติ

สารอาหารจากอาหารธรรมชาตินั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และปัจจัยสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่ไม่สามารถกำหนดปริมาณสารอาหาร หรือควบคุมลักษณะของอาหารได้ เช่น ผัก ผลไม้ ข้าว เนื้อสัตว์ โดยมักสามารถหารับประทานได้ตามฤดูกาล แต่อาจดูแลเรื่องความปลอดภัยได้โดยการล้างให้สะอาดหรือปรุงสุกก่อนรับประทาน

  • อาหารอินทรีย์

สำหรับรูปแบบของอาหารอินทรีย์ จะมีความคล้ายคลึงกับอาหารในรูปแบบธรรมชาติ แต่ทั้งนี้ อาหารอินทรีย์เอง จะมีการกำหนดรูปแบบของการดูแลและการปลูก แต่จะไม่มีการใช้สารเคมี มาเป็นส่วนผสมในการดูแล เพราะฉะนั้นแล้ว รูปแบบการเติบโต ก็จะมีความคล้ายคลึงกับอาหารธรรมชาติ แต่อย่างหนึ่งที่แตกต่าง จากอาหารธรรมชาติเลย ก็คือ สารอาหารที่จะได้รับนั้นอาจจะดีกว่าและปลอดภัยกว่า

นอกเหนือจาก แหล่งของสารอาหารแบบธรรมชาติและอาหารอินทรีย์ที่สามารถให้สารอาหารอยู่ในระดับเดียวกัน สิ่งสำคัญคือเรื่องความปลอดภัย การปนเปื้อนของสารเคมีหรือฝุ่นละอองในอาหารที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เพราะหากร่างกายได้รับสารอาหารที่ปนเปื้อนและสะสมอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Nutrition for kids: Guidelines for a healthy diet. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/childrens-health/in-depth/nutrition-for-kids/art-20049335. Accessed August 14, 2022.

Nutrients in food. https://healthy-kids.com.au/food-nutrition/nutrients-in-food/. Accessed August 14, 2022.

Children. https://www.nutrition.org.uk/life-stages/children/. Accessed August 14, 2022.

Kid’s Healthy Eating Plate. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/kids-healthy-eating-plate/. Accessed August 14, 2022.

Childhood Nutrition Facts. https://www.cdc.gov/healthyschools/nutrition/facts.htm. Accessed August 14, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/11/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฟันน้ำนมผุ กับเทคนิคช่วยลดปัญหาสุขภาพฟันของลูกน้อย

วิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 28/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา