backup og meta

วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง

วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง

โรคคางทูม โรคหัด และโรคหัดเยอรมัน เป็นโรคจากการติดเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจพบได้บ่อยในเด็ก เด็กจึงควรได้รับ วัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมัน (Measles Mumps and  Rubella vaccine: MMR vaccine) 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหล่านี้ โดย วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียง ที่พบได้บ่อย คือ เป็นไข้ มีผื่น และอาการปวดบริเวณที่ฉีด ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรงและอาจหายไปได้เอง อย่างไรก็ตาม หากสังเกตพบอาการผิดปกติควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาในทันที

[embed-health-tool-vaccination-tool]

วัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมัน 

ลูกน้อยต้องได้รับการฉีด วัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมันเข็มแรกเมื่ออายุ 12-15 เดือน และเข็มที่ 2 เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 4-6 ปี เพื่อป้องกันโรคที่สำคัญ 3 โรค ซึ่งได้แก่ โรคคางทูม โรคหัด และโรคหัดเยอรมัน โดยแต่ละโรคมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้ 

  • โรคคางทูม (Mumps) เกิดจากเชื้อไวรัสคางทูม สาเหตุเกิดจากการสัมผัสโดยตรงทางระบบการหายใจ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไข้ ปวดศีรษะ มีอาการเบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • โรคหัด (Measles)  เกิดจจากเชื้อไวรัสหัด  สาเหตุเกิดจากละอองการหายใจ การจาม ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไข้และไข้ออกผื่น อาการไอ
  • โรคหัดเยอรมัน (German Measles) เกิดจากเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน สาเหตุเกิดจากการหายใจ การจาม และการสัมผัสโดยตรง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต และมีอาการไข้ออกผื่น

วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียง

วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียงอาจมีดังต่อไปนี้
  • เป็นไข้
  • มีผดผื่น
  • ปวดบริเวณที่ฉีดยา หรือปวดแขนข้างที่ฉีดยา
  • มีอาการปวดข้อต่อ โดยเฉพาะผู้ที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนชนิดนี้มาแล้ว

ในกรณีหายาก บางคนอาจมีอาการเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งหายไปได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา อย่างไรก็ตาม หากมีอาการแพ้อย่างรุนแรง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาในทันที

บุคคลที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน คางทูม หัด หัดเยอรมัน

บุคคลที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน คางทูม หัด หัดเยอรมัน มีดังต่อไปนี้

  • เด็กอายุ 12-15 เดือน (ต้องได้รับการฉีดเข็มแรก)
  • เด็กอายุ 4-6 ขวบ (ต้องได้รับการฉีดเข็มที่สอง)
  • ผู้ใหญ่ที่อายุ 18 ปีขึ้นไปหากไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน ควรฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน 

บุคคลที่ควรงดการฉีดวัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมัน

บุคคลที่ควรงดการฉีดวัคซีน คางทูม หัด หัดเยอรมัน มีดังต่อไปนี้ 

  • มีประวัติแพ้อย่างรุนแรงหลังจากฉีดวัคซีนป้องกัน คางทูม หัด หัดเยอรมัน
  • อยู่ในช่วงตั้งครรภ์
  • มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome : AIDS) ติดเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus : HIV)
  • รับประทานยาที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์
  • ได้รับวัคซีนอื่น ๆ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

วัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน. https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/february-2020/mumps-measles-rubella. Accessed March 10, 2020

รู้ไหม? วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน…สำคัญกว่าที่คิด!. https://www.phyathai.com/article_detail/3155/th/. Accessed March 10, 2020

Measles, Mumps, Rubella (MMR) Vaccine. https://www.cdc.gov/vaccinesafety/vaccines/mmr-vaccine.html. Accessed October 24, 2022.

MMR (measles, mumps and rubella) vaccine. https://www.nhs.uk/conditions/vaccinations/mmr-vaccine/. Accessed October 24, 2022.

Your Child’s Immunizations: Measles, Mumps & Rubella Vaccine (MMR). https://kidshealth.org/en/parents/mmr-vaccine.html. Accessed October 24, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/10/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีนภูมิแพ้ชนิดอมใต้ลิ้น (SLIT) อีกทางเลือกรักษาโรคภูมิแพ้ โดยไม่พึ่งเข็มฉีดยา

วัคซีนภูมิแพ้ชนิดอมใต้ลิ้น (SLIT) อีกทางเลือกรักษาโรคภูมิแพ้ โดยไม่พึ่งเข็มฉีดยา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 24/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา