backup og meta

ลูก 2 ขวบ ท้องผูก สาเหตุและการรักษา

ลูก 2 ขวบ ท้องผูก สาเหตุและการรักษา

ลูก 2 ขวบ ท้องผูก เป็นปัญหาที่คุณแม่คุณพ่ออาจพบบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝึกให้ลูกขับถ่ายในช่วงอายุ 2-3 ขวบ เนื่องจากในช่วงอายุนี้ การบีบตัวของลำไส้ไม่ดีทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวช้าลงจนอาจทำให้อุจจาระแห้งและแข็ง ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารเส้นใยน้อย ลูกกลัวการเข้าห้องน้ำ การกลั้นอุจจาระ หรือการใช้ยาบางชนิด แม้อาการท้องผูกอาจเกิดขึ้นชั่วคราว แต่การรักษาและการป้องกันที่ถูกวิธีอาจช่วยลดอาการท้องผูกของลูกกได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

สาเหตุที่ทำให้ลูก 2 ขวบท้องผูก

สำหรับสาเหตุที่อาจทำให้ลูก 2 ขวบ ท้องผูก มีดังนี้

  • อาหาร เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย เช่น อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากนม ขนมหวาน รวมทั้งการดื่มน้ำไม่เพียงพอ และเด็ก ๆ มักจะรับประทานยาก เลือกรับประทาน รับ ประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ อาจทำให้อุจจาระแห้งและแข็ง ซึ่งเป็นปัญหาส่วนใหญ่ที่ทำให้ลูกท้องผูก
  • ไม่ได้รับการฝึกเข้าห้องน้ำ ลูก 2 ขวบส่วนใหญ่สนใจการเล่นมากกว่าเรียนรู้การเข้าห้องน้ำ เด็กบางคนอาจรู้สึกอายเมื่อต้องร้องขอให้ผู้ใหญ่พาไปเข้าห้องน้ำ จึงอาจอั้นอุจจาระเป็นเวลานานทำให้อุจจาระแห้งและแข็งขึ้นจนกลายเป็นอาการท้องผูก
  • การเปลี่ยนสถานที่และการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน ในบางครั้งการพาเด็กไปพักนอกบ้าน ไปโรงเรียนครั้งแรก หรือไปเข้าห้องน้ำสาธารณะอาจทำให้เด็กรู้สึกเขินอาย และไม่คุ้นชิน จนไม่อยากเข้าห้องน้ำ หรือเด็กบางคนอาจอุจจาระไม่ออกเมื่อต้องเข้าห้องน้ำนอกบ้าน
  • การไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายมีส่วนช่วยให้อุจจาระเคลื่อนผ่านลำไส้ได้ง่ายขึ้น สำหรับเด็กบางคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือขยับร่างกายอาจส่งผลให้มีอาการท้องผูกได้
  • การใช้ยาบางชนิด เด็กที่ใช้ยาหรืออาหารเสริมบางชนิด เช่น กินอาหารเสริมธาตุเหล็กในปริมาณมาก กินยาแก้ปวด อาจมีส่วนทำให้เกิดอาการท้องผูกได้
  • ความเจ็บปวดเมื่ออุจจาระ เด็กบางคนอาจเคยมีความรู้สึกเจ็บปวดเมื่อถ่ายอุจจาระ จนทำให้ไม่กล้าถ่ายอุจจาระอีกครั้งเนื่องจากกลัวความรู้สึกเจ็บปวดจะเกิดขึ้นอีก โดยอาจมีส่วนของอุจจาระที่แข็ง ทำให้อุจจาระบาดก้น เป็นแผลบริเวนก้นจนอาจทำให้เด็กอั้นอุจจาระเป็นเวลานานและกลายเป็นอาการท้องผูก
  • สภาพร่างกาย เด็กบางคนอาจเกิดมาพร้อมสภาพร่างกายที่ผิดปกติ เช่น สมองพิการ รูปร่างของไส้ตรงและทวารหนักผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้ขับถ่ายอุจจาระได้ยากขึ้นตามไปด้วย รวมถึงปัญหาระบบเมตาบอลิซึมหรือระบบย่อยอาหารด้วย
  • แพ้นมวัว การแพ้นมวัวหรือการบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมมากเกินไป เช่น ชีส เนย อาจทำให้ท้องผูกได้
  • ประวัติครอบครัว เด็กที่มีอาการท้องผูกมักมีสมาชิกในครอบครัวที่มีอาการท้องผูกเช่นกัน ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่ร่วมกัน

เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

อาการท้องผูกในเด็กมักไม่รุนแรง อย่างไรก็ตาม หากเด็กมีอาการท้องผูกเป็นเวลานานร่วมกับอาการเหล่านี้ ควรรีบเข้าพบคุณหมอทันที

  • เด็กไม่กินอาหาร
  • น้ำหนักลดลง
  • มีไข้
  • อุจจาระมีเลือดปน และเจ็บปวดเมื่ออุจจาระ
  • ท้องบวม ท้องอืดมาก
  • อวัยวะในทวารหนักเอาจมีอาการห้อยยาน อาจมีส่วนหนึ่งของลำไส้ห้อยยานออกมานอกทวารหนัก
  • ปวดท้องเรื้อรัง

การรักษาอาการของลูก 2 ขวบท้องผูก

การรักษาเพื่อลดอาการท้องผูก สามารถทำได้ดังนี้

  • กินอาหารเสริมไฟเบอร์หรือใช้ยาเหน็บทวารหนัก คุณหมออาจแนะนำให้เด็กกินอาหารเสริมไฟเบอร์เพิ่มเติม หากเด็กไม่ได้รับใยอาหารมากพอจากการรับประทานอาหาร และแนะนำให้เด็กดื่มน้ำอย่างน้อย 1 ลิตร/วัน เพื่อให้อาหารเสริมไฟเบอร์ทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ คุณหมออาจแนะนำให้ใช้ยาเหน็บทวารหนักเพื่อทำให้อุจจาระนิ่มลงและขับถ่ายง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยาทุกชนิด
  • ใช้ยาระบายหรือสวนทวารหนักที่บ้าน การสะสมของอุจจาระเป็นเวลานานอาจทำให้ลำไส้ใหญ่อุดตัน คุณหมออาจแนะนำให้ใช้ยาระบายหรือยาสวนทวารเพื่อช่วยขจัดอุจจาระที่อุดตันในลำไส้ เช่น โพลิเอทิลีนไกลคอล (Polyethylene Glycol)
  • สวนทวารหนักที่โรงพยาบาล หากเด็กมีอาการท้องผูกรุนแรงมากจนต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล คุณหมออาจใช้ยาสวนทวารหนักชนิดที่แรงกว่าเพื่อล้างลำไส้ให้เด็กสามารถขับถ่ายครั้งต่อไปได้ดีขึ้น
  • ฝึกการเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา ไม่กลั้นอุจจาระ

การป้องกันอาการของลูก 2 ขวบท้องผูก

เพื่อป้องกันอาการท้องผูกเกิดขึ้นในเด็ก วิธีต่อไปนี้อาจช่วยได้

  • ควรให้ลูกดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ลิตร เพื่อช่วยให้อุจจาระนิ่มและเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้ดีขึ้น
  • ควรให้ลูกรับประทานอาหารที่หลากหลาย มีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช เนื่องจากเส้นใยจะช่วยให้อุจจาระเคลื่อนตัวในลำไส้ได้ดีขึ้น ควรเริ่มต้นด้วยการเติมไฟเบอร์ในอาหารวันละ 14 กรัมต่อ 1,000 แคลอรี่ เพื่อป้องกันแก๊สและท้องอืด สำหรับเด็กเล็กควรรับประทานใยอาหารประมาณ 20 กรัม/วัน
  • ควรให้ลูกเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ อย่างน้อย 30-60 นาที/วัน เช่น วิ่งเล่น เต้น กลิ้งตัว กระโดด
  • ควรฝึกให้ลูกถ่ายอุจจาระที่กระโถนหรือชักโครกเป็นประจำหลังจากรับประทานอาหารเช้าหรือก่อนนอน เพื่อให้ลูกอุจจาระเป็นเวลา ซึ่งจะช่วยลดอาการท้องผูก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Constipation in Children. https://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/abdominal/Pages/Constipation.aspx. Accessed February 3, 2022

Constipation in children. https://www.nhs.uk/conditions/baby/health/constipation-in-children/. Accessed February 3, 2022

Constipation in children. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/constipation-in-children/symptoms-causes/syc-20354242. Accessed February 3, 2022

Constipation in children-Diagnosis-treatment. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/constipation-in-children/diagnosis-treatment/drc-20354248. Accessed February 3, 2022

Toddler Constipation. https://www.webmd.com/children/toddler-constipation-causes-treatments#:~:text=The%20culprit%20in%20many%20cases,it%20makes%20the%20stools%20harder. Accessed February 3, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/11/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงหทัยทิพย์ ชัยประภา

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เด็กท้องอืด สาเหตุและการรักษา

อาหารเด็ก ที่ดีต่อร่างกาย และปริมาณสารอาหารสำหรับเด็ก


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงหทัยทิพย์ ชัยประภา

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 03/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา