backup og meta

เด็กท้องอืด สาเหตุและการรักษา

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงหทัยทิพย์ ชัยประภา · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 20/04/2022

    เด็กท้องอืด สาเหตุและการรักษา

    เด็กท้องอืด อาจเกิดจากการมีอากาศหรือก๊าซเข้าสู่ทางเดินอาหารขณะรับประทานอาหารและไปสะสมอยู่ในช่องท้อง หรืออาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ที่ไม่อาจย่อยอาหารก่อนถูกลำเลียงไปยังลำไส้ใหญ่ โดยก๊าซเหล่านี้ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ไนโตรเจน ไฮโดรเจน มีเธน และกำมะถัน ซึ่งอาจส่งผลทำให้เด็กเรอ คลื่นไส้ และปวดท้องได้

    สาเหตุที่ทำให้ เด็กท้องอืด

    เด็กท้องอืด อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้

    • เด็กไม่อยู่นิ่งขณะรับประทานอาหาร การเคลื่อนไหว หรือเล่นระหว่างการรับประทานอาหาร อาจทำให้เด็กกินเร็ว ซึ่งพฤติกรรมนี้อาจส่งผลให้มีอากาศในลำไส้มากขึ้น และเสี่ยงสำลักได้
    • ดูโทรทัศน์ หรือเล่นโทรศัพท์ระหว่างรับประทานอาหาร อาจส่งผลให้เด็กเพลิดเพลิน และเพิกเฉยต่อสัญญาณความอิ่ม และรับประทานอาหารมากไปจนก่อให้เกิดก๊าซได้
    • การเลือกอาหารที่ไม่ถูกกับช่องท้องเด็ก เช่น อาหารที่มีไขมันสูง หมากฝรั่ง เครื่องดื่มรสชาติหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เนื่องจากร่างกายของเด็กอาจดูดซึมอาหารได้ไม่เต็มที่ และส่งผลให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย นำไปสู่การเกิดก๊าซในกระเพาะอาหาร ปวดท้อง อาเจียน ท้องร่วงได้
    • ดื่มน้ำไม่เพียงพอ หากร่างกายขาดน้ำ หรือดื่มน้ำไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก มีก๊าซในกระเพาะอาหาร และไม่สบายท้อง
    • แพ้แลคโตส ร่างกายของเด็กที่มีอาการแพ้แลคโตสอาจไม่สามารถผลิตแล็กเทส ที่เป็นเอนไซม์ช่วยสลายแลคโตสในผลิตภัณฑ์ที่ทำการนมได้ จึงอาจส่งผลให้เด็กท้องอืด
    • อาการลำไส้แปรปรวน อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบย่อยอาหาร ทำให้คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย ปวดหลัง และเหนื่อยล้า

    อาการท้องอืดในเด็ก

    อาการท้องอืดในเด็ก มีดังนี้

    • คลื่นไส้
    • เรอ
    • ท้องอืด
    • ปวดท้อง แสบร้อนในช่องท้อง
    • ผายลมมีกลิ่น
    • อุจจาระเป็นเลือดหรือมูกเลือด

    วิธีรักษาอาการท้องอืดสำหรับเด็ก

    การรักษาอาการท้องอืดในเด็ก สามารถรักษาได้ ด้วยวิธีเหล่านี้

    • ยาลดกรด เป็นยาที่อาจช่วยบรรเทาอาการท้องอืดในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป แต่ยาลดกรดที่ใช้ไม่ควรมีอะลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ แต่ควรได้รับคำแนะนำจากกุมารแพทย์ก่อนใช้
    • ยาขับลม ไซเมทิโคน (Simethicone) อาจช่วยให้ร่างกายขับก๊าซออกได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ควรปรึกษาคุณหมอถึงปริมาณการใช้ยาที่เหมาะสำหรับเด็ก และไม่ควรใช้ยาขับลมร่วมกับยาลดกรด เว้นแต่คุณหมอจะอนุญาต
    • เครื่องดื่มไกรปวอเตอร์ (Gripe Water) เป็นสารละลายสมุนไพรที่ประกอบด้วยยี่หร่า ขิง คาโมไมล์ ผักชีฝรั่ง เลมอนบาล์ม หรือสะระแหน่ฝรั่ง ซึ่งมีสารโซเดียมไบคาร์บอเนต ที่อาจช่วยลดแก๊สในกระเพาะอาหาร
    • ควรปรึกษาคุณหมอ หากลองปฏิบัติทุกข้อที่กล่าวมาข้างต้นแล้วไม่ดีขึ้น

    การป้องกันอาการท้องอืดในเด็ก

    วิธีป้องกันอาการท้องอืดในเด็ก อาจทำได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

    1. ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควรฝึกให้เด็กอยู่กับที่ขณะรับประทานอาหาร และหยุดเล่นโทรศัพท์ หรือปิดทีวี เพื่อไม่ให้เด็กเพลิดเพลินกับการกินจนเกินไป
    2. เลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในช่องท้องของเด็ก เช่น อาหารที่มีน้ำตาลสูง ขนม หมากฝรั่ง อาหารรสเผ็ด และไขมันเยอะ
    3. จำกัดปริมาณการดื่มน้ำผลไม้อย่างเหมาะสม ดังนี้
  • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรดื่มไม่เกิน ½ ถ้วยต่อวัน
  • เด็กอายุ 4-6 ปี ควรดื่มไม่เกิน ½ – ¾ ถ้วยต่อวัน
  • เด็กอายุ 7 ปีขึ้นไป ควรดื่มไม่เกิน 1 ถ้วยต่อวัน
  • เด็กที่อายุน้อยกว่า 12 เดือน ยังไม่ควรดื่มน้ำผลไม้
  • หลังรับประทานอาหารควรทำให้เด็กเรอออกมา เพื่อลดแก๊สในช่องท้อง
  • นวดท้องให้เด็กอย่างเบามือ
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงหทัยทิพย์ ชัยประภา

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 20/04/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา