backup og meta

ทารก1เดือน พัฒนาการ และการดูแล

ทารก1เดือน พัฒนาการ และการดูแล

ทารก1เดือน อยู่ในช่วงขวบปีแรก ที่ออกจากท้องของมารดามาเผชิญกับโลกภายนอก หลังจากใช้ชีวิตอยู่ในท้องถึง 9 เดือน ถึงแม้ว่าทารกจะมีอายุเพียง 1 เดือน แต่คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตถึงพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้จากปฏิกิริยาการตอบสนอง เช่น การดูดนม น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น สะดุ้งตกใจเสียงรอบด้าน ซึ่่งนับว่าเป็นสัญญาณเตือนที่ดีที่บ่งบอกได้ว่า ทารกของคุณพ่อคุณแม่กำลังเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง

[embed-health-tool-vaccination-tool]

พัฒนาการของ ทารก1เดือน

พัฒนาการของทารก1เดือน คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้การเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้

  • พัฒนาการทางกายภาพ

ทารกอาจมีการตอบสนองตามธรรมชาติ เช่น การดูดนมแม่ด้วยตัวเอง เพียงแค่คุณแม่ช่วยเหลือเล็กน้อยด้วยการนำหัวนมใส่เข้าปากทารก ทารกอาจได้ยินเสียงที่ชัดเจนจนสามารถกางแขนกางขาเวลาสะดุ้ง  นอกจากนี้ ทารกยังมีสัญชาตญาณการเดินแม้จะอายุเพียง 1 เดือน โดยคุณแม่สังเกตได้ตอนอุ้มทารกยืน เพราะขาของทารกจะพยายามยืดทรงตัว หรือเหมือนพยายามก้าวไปข้างหน้า ทารกช่วงวัยนี้อาจมีการมองเห็นได้ดีในระยะ 2 ฟุต และชอบมองวัตถุที่มีสีสันตัดกัน เช่น ขาวดำ และอาจมองตามวัตถุที่อยู่ตรงหน้าหรือตามเสียงที่ได้ยิน ทารก 1 เดือนอาจมีกระดูกบริเวณคอที่ยังไม่แข็งแรง ไม่อาจตั้งศีรษะได้ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรประคองใต้ศีรษะทารกทุกครั้งที่เมื่ออุ้มขึ้น และกระตุ้นความแข็งตัวของกระดูกทารก โดยอาจให้ทารกนอนคว่ำบนที่นอนและพูดคุยกับทารก เพื่อให้ทารกเงยหน้า ตั้งศีรษะ และหันศีรษะไปในทิศทางตามเสียงที่ได้ยิน

  • พัฒนาการด้านการสื่อสาร

ทารก 1 เดือน อาจสื่อสารโดยการร้องไห้ให้คุณพ่อคุณแม่ได้รับรู้ ซึ่งการร้องไห้ของทารกอาจหมายถึงความไม่สบายตัว หิว ผ้าอ้อมเปียกชื้น ปกติทารกจะร้องไห้ระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 3 ชั่วโมง/วัน และอาจหยุดร้องเมื่อคุณพ่อคุณแม่อุ้มโอ๋ แต่หากทารกร้องไห้นานเกินกว่า 3 ชั่วโมง/วันและร้องนานกว่าปกติ อาจมีอาการจุกเสียดหรือการเจ็บป่วยที่ควรพาเข้าพบคุณหมอทันที

  • การรับประทานอาหาร

ทารก 1 เดือน อาจกินนมแม่วันละ 8-12 ครั้ง ทุก 2-3 ชั่วโมง คุณแม่สามารถรับรู้อาการหิวของทารกได้ด้วยการขยับศีรษะไปมาเพื่อหาเต้านม หรืออ้าปากเมื่อถูกสัมผัสบริเวณแก้มและปาก

  • การนอนหลับ

ปกติทารกแรกเกิดอาจนอนหลับ 15-16 ชั่วโมง/วัน และอาจตื่นบ่อยช่วงเวลากลางคืน 2-3 สัปดาห์แรก แต่ช่วงเวลานั้นอาจไม่แน่นอน สาเหตุที่ทารกตื่นตอนกลางคืนบ่อย อาจเป็นเพราะยังไม่สามารถปรับตัวตามช่วงเวลาได้ เพื่อเป็นการปรับเวลาการนอน คุณแม่ควรทำกิจกรรมกับทารกในช่วงเวลากลางวัน เช่น การพูดคุย ใช้ของเล่นดึงดูดความสนใจ และกล่อมทารกนอนอย่างเต็มที่เมื่อถึงเวลากลางคืน

การดูแลทารก1เดือน

วิธีดูแลทารก1เดือน เพื่อสุขภาพที่ดีและช่วยกระตุ้นพัฒนาการ อาจทำได้ดังนี้

  • ใช้เวลาอยู่กับทารกให้มาก ๆ พูดคุยกับทารกบ่อย ๆ หรือเปิดเพลง ร้องเพลงให้ทารกฟังทุกวันทุกช่วงเวลา ไม่ว่าจะเป็นขณะป้อนอาหารทารก แต่งตัวให้ทารก เพราะวิธีนี้อาจช่วยพัฒนาการด้านภาษา การจดจำ
  • จัดเตรียมของเล่นสำหรับทารก1เดือน เช่น โมบายห้อย ที่มีขนาดต่างกัน มีสีตัดกัน และห้อยไว้ที่สูงระดับสายตาทารก เพื่อดึงดูดให้ทารกเอื้อมมือจับ ซึ่งเป็นการช่วยกระตุ้นพัฒนาการของร่างกาย สายตา
  • นวดทารกให้ทารกรู้สึกผ่อนคลาย
  • ไม่ควรให้ทารกนอนอยู่กับที่เป็นเวลานาน คุณแม่อาจอุ้มทารกเป็นบางเวลา และควรประคองศีรษะทารกเอาไว้
  • หากเดินทางระยะไกลควรติดตั้งคาร์ซีทในรถยนต์
  • ไม่ควรปล่อยทารกไว้ตามลำพัง
  • ไม่ควรอุ้มทารกหรือวางสิ่งของอันตรายไว้ใกล้ทารก เช่น ของมีคม น้ำร้อน
  • ไม่ควรเขย่าทารกเพราะอาจทำให้ทารกบาดเจ็บ เช่น สมองได้รับกระทบกระเทือน กระดูกคอที่เชื่อมกับหนังศีรษะอาจหักหรือผิดรูป
  • โอบกอดทารก อุ้มทารกสม่ำเสมอ เพื่อให้ทารกรู้สึกสบายใจ ปลอดภัย และได้รับความรัก
  • จับแขนขาของทารกอย่างเบามือ แล้วกระตุ้นด้วยการยกขึ้นหรือยกไปมาคล้ายกับการปั่นจักรยาน ครั้งละ 2-3 นาที เพื่อปรับกล้ามเนื้อให้เตรียมพร้อมสำหรับการเคลื่อนไหว เช่น การคลาน การเดิน
  • ล้างมือก่อนสัมผัสกับทารก และหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม
  • ไม่ควรให้ทารกอยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ เพราะอาจเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตกะทันหัน การติดเชื้อที่หู และโรคหอบหืด
  • ควรพาทารกออกไปเดินเล่นนอกบ้านโดยใช้รถเข็นที่มีความปลอดภัย มีที่ป้องกันแสงแดด
  • ปกป้องทารกจากแสงแดด แต่ไม่ควรทาครีมกันแดดให้ทารก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจหาผ้าคลุมบังแสงแดดแทน
  • พาทารกเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรตาไวรัส โรคฮีโมฟิลัส (Hemophilus) ตับอักเสบบี ปอดบวม ไอกรน โรคคอตีบ บาดทะยัก

ปัญหาพัฒนาการทารก1เดือน ที่ควรเข้าพบคุณหมอ

ปัญหาทางพัฒนาการของทารก1เดือน มี ดังต่อไปนี้

  • การรับประทานอาหารหรือกินนมได้ไม่ดี เช่น กินนมได้น้อยหรืออาจไม่กินเลย
  • นอนมากกว่า 16 ชั่วโมง/วัน
  • ไม่มีการเคลื่อนไหวของแขนและขา
  • ไม่สามารถมองหรือหันศีรษะตามเสี่ยงหรือใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่และสิ่งรอบตัว
  • ไม่มีการส่งสัญญาณด้วยการร้องไห้ 
  • ร้องไห้เป็นเวลานานเกินกว่าปกติ
  • ทารกไม่สะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดัง
  • นอนหลับไม่สนิท

ปัญหาเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า ทารกมีระบบการทำงานและการตอบสนองผิดปกติ หรืออาจมีพัฒนาการล่าช้า หากคุณพ่อคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพทารก ควรปรึกษาคุณหมอ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Baby Development: Your 1-month-old. https://www.webmd.com/parenting/baby/baby-development-1-month#1  . Accessed October 30, 2021

Newborn development at 0-1 month: what’s happening. https://raisingchildren.net.au/newborns/development/development-tracker/0-1-month  . Accessed October 30, 2021

Your Baby at 1 Month. https://www.ucsfbenioffchildrens.org/education/your-baby-at-1-month  . Accessed October 30, 2021

Learning, Play, and Your 1- to 3-Month-Old. https://kidshealth.org/en/parents/learn13m.html  . Accessed October 30, 2021

The Growing Child: 1 to 3 Months. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=the-growing-child-1-to-3-months-90-P02166  . Accessed October 30, 2021

Your baby’s growth and development – 1 month old. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/babys-growth-and-development-1-month-old  . Accessed October 30, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/04/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงหทัยทิพย์ ชัยประภา

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูแลทารกแรกเกิด ให้แข็งแรงปลอดภัย ทำอย่างไร

ปัญหาการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด รู้ก่อน เพื่อสุขภาพทารก


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงหทัยทิพย์ ชัยประภา

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา