backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 26 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 26 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 26 หรือประมาณ 6 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจสามารถนั่งได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีคนช่วย สามารถมองหันไปตามทิศทางของเสียงได้ และอาจเริ่มเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่มากขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มให้ลูกกินอาหารอย่างอื่นนอกจากนม โดยควรเป็นอาหารที่สุก นิ่ม และมีขนาดเล็ก เช่น ข้าวบด กล้วยบด ไข่แดงบด ให้เสริมกับการกินนม เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารอื่นเพิ่มมากขึ้น

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 26 

ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด้กสัปดาห์ที่ 26

  • ใช้สองขารับน้ำหนักตัวได้มากขึ้นเวลาที่ถูกจับให้ยืนตรง
  • นั่งได้โดยไม่ต้องให้ใครช่วย
  • หันไปตามทิศทางของเสียงที่ได้ยิน
  • ทำอะไรตลก ๆ ด้วยการพ่นน้ำลาย

ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

ลูกอาจจะชอบใช้มือข้างหนึ่งไปซักพัก แล้วเปลี่ยนไปใช้มืออีกข้างหนึ่ง แต่อาจจะยังบอกไม่ได้ว่าลูกน้อยถนัดมือข้างไหน จนกว่าลูกจะอายุได้ 2-3 ขวบ พ่อ คุณแม่ไม่ควรบังคับเรื่องการใช้มือข้างขวาหรือซ้ายกับลูก เพราะมือข้างที่ถนัดนั้นถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ตอนอยู่ในครรภ์แล้ว ถ้าบังคับให้ลูกใช้มือข้างที่ไม่ถนัด จะทำให้เกิดความสับสนและนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ในภายหลัง เช่น ตาและมือทำงานไม่ประสานกัน เกิดปัญหาเรื่องความคล่องแคล่ว และมีผลกระทบต่อความสามารถในการเขียนหนังสือในภายหลัง

ถ้าต้องการสอนภาษามือให้ลูกน้อย ตอนนี้ก็ถือเป็นโอกาสอันดี การช่วยให้ลูกน้อยมีเครื่องมือในการแสดงออก จะทำให้ลูกคลายความอึดอัดลงได้ เริ่มต้นด้วยการใช้มือส่งสัญญาณคำง่าย ๆ เช่น “หนังสือ” คุณแม่อาจทำท่าหงายฝ่ามือสองข้างแล้วเกาะเกี่ยวไว้ด้วยกัน หรือคำว่า “หิว” อาจใช้มือวางบนท้อง

เด็กชอบทำอะไรเลียนแบบผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเรื่องเสียงและภาษา บางครั้งอาจปล่อยให้ลูกน้อยเป็นคนควบคุมเกมส์ แล้วเป็นคนทำเสียงเลียนแบบลูกน้อยก็ได้

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

คุณหมอจะทำการตรวจสอบทางร่างกายโดยรวม ใช้เทคนิคการวินิจฉัยและขั้นตอนที่แตกต่างกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพของลูกน้อย คุณหมอหรือพยาบาลจะตรวจสอบตามรายการต่อไปนี้ทั้งหมดหรือบางรายการ

  • การตรวจร่างกาย ซึ่งรวมถึงการตรวจอะไรที่เคยเป็นปัญหาซ้ำด้วย นับจากนี้เป็นต้นไป หมอจะทำการตรวจสุขภาพช่องปากของลูกน้อยด้วย เพื่อดูว่าฟันซี่ไหนที่ขึ้นแล้วหรือกำลังจะขึ้น
  • ประเมินการเจริญเติบโต ซึ่งหมอจะใช้วิธีสังเกต และการบอกเล่า เพื่อตรวจสอบพัฒนาการของเด็ก อย่างเช่น การควบคุมศีรษะในขณะนั่ง การมองเห็น การได้ยิน การหยิบจับสิ่งของ การคุ้ยเขี่ยบนสิ่งของเล็ก ๆ การกลิ้งตัว การใช้ขารับน้ำหนัก การตอบสนองของลูกน้อย และอาจพยายามทำให้เด็กพูด เพื่อที่จะได้ยินเสียง

สิ่งที่ควรรู้

วิตามินและอาหารเสริม

วิตามินดีเหมาะสำหรับเด็กวัยกำลังดื่มนม และคนที่ดื่มนมน้อยกว่า 960 มิลลิลิตรต่อวัน ถึงแม้ว่าร่างกายจะสร้างวิตามินดีเองได้ตอนที่ร่างกายโดนแสงแดด แต่จะดีกว่าถ้าเลี่ยงไม่ให้เด็กได้รับแสงแดดมากเกินไป เพราะผิวของเด็กบอบบางและไวต่อความรู้สึก ทุก ๆ นาทีที่โดนแสงแดดนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งผิวหนังและเกิดรอยย่นบนผิว การทาครีมกันแดดช่วยปกป้องผิวให้ลูกน้อยได้ก็จริง แต่นั้นก็เป็นการยับยั้งไม่ให้ร่างกายสร้างวิตามินดีขึ้นมา

สำหรับวิตามินชนิดอื่น ๆ หมออาจจะแนะนำให้ใช้หรือไม่ก็ได้ วิตามินเสริมอาจมีความจำเป็นต่อเด็กที่คลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย มีขนาดตัวเล็กตอนยังอยู่ในครรภ์ ไม่ค่อยดื่มนม รับประทานอาหารน้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน หรือมีปัญหาเรื้อรังเกี่ยวกับสุขภาพ ที่ส่งผลกระทบต่อการกินและการย่อยอาหาร ถ้ามีข้อสงสัยอะไรก็ควรปรึกษาหมอ

ควรปรึกษาหมอเกี่ยวกับปริมาณในการทานวิตามิน ไม่ควรให้เด็กรับประทานวิตามินหรืออาหารเสริมสำหรับผู้ใหญ่ แม้ว่าจะลดปริมาณลงแล้วก็ตาม

ควรใช้วิตามินตามที่คุณหมอสั่งเท่านั้น การใช้วิตามินหรือยาเกินขนาดอาจส่งผลกระทบต่อการดูดซึมสารอาหาร หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายได้

การขับถ่ายเปลี่ยนไป

พ่อคุณแม่อาจตกใจที่อุจจาระของเด็กในช่วงที่ยังไม่หย่านม มีลักษณะที่เปลี่ยนไป โดยเปลี่ยนจากเนื้อนุ่ม ๆ ไปเป็นเนื้อแข็ง มีสีดำ และส่งกลิ่นเหม็น แต่นี่ถือเป็นเรื่องปกติ ถึงแม้อุจจาระของเด็กที่กินนมคุณแม่จะยังคงมีเนื้อนุ่มกว่าอุจจาระของเด็กที่ดื่มนมขวด จนกว่าจะถึงช่วงเวลาหย่านม ควรรู้เอาไว้ว่าอุจจาระรวมทั้งอาหารของลูกน้อย จะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้แบบเดียวกับของผู้ใหญ่

การดูแลสุขภาพฟัน

เพื่อสุขภาพฟันที่ดีของลูกน้อย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • ไม่ควรให้ลูกดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ถึงแม้จะให้ดื่มตอนที่ฟันยังไม่ขึ้นก็ตาม เพราะจะทำให้ลูกน้อยติดรสหวาน ควรให้ลูกน้อยดื่มน้ำผลไม้แทนเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลจะดีกว่า โดยนำน้ำผลไม้มาผสมกับน้ำเปล่าให้เจือจางก่อน
  • เมื่อลูกน้อยมีฟันขึ้นแล้ว ก็อย่าปล่อยให้ลูกนอนหลับไปทั้ง ๆ ที่ยังดูดขวดนมคาปากอยู่ ไม่ว่าขวดนมนั้นจะใส่นมหรือน้ำผลไม้ก็ตาม ถ้าให้ลูกดื่มนมหรือน้ำผลไม้ก่อนนอน อย่าลืมให้ลูกดื่มน้ำเปล่าด้วย เพราะน้ำเปล่าปลอดภัยต่อฟันของเด็กมากกว่า
  • อย่าปล่อยให้เด็กปีนป่ายหรือนอนกลิ้งไปพร้อมกับการดูดขวดนมหรือจุกนมตลอดเวลา เนื่องจากการกระทำดังกล่าวจะทำให้สุขภาพฟันเสีย ให้ลูกดูดขวดนมในระหว่างมื้ออาหารหรือระหว่างรับประทานของว่างจะดีกว่า และต้องให้ในเวลาและสถานที่ ที่เหมาะสมด้วย เช่น ตอนที่อุ้มลูกไว้ ตอนที่นั่งอยู่บนที่นั่งสำหรับเด็ก บนเก้าอี้ และเมื่อลูกเปลี่ยนมาใช้แก้วแล้วก็ต้องปฏิบัติแบบเดียวกันด้วย
  • อย่าปล่อยให้ลูกดูดนมจากอกตลอดคืน การดื่มนมทั้งคืนจะทำให้ฟันผุได้
  • ควรเลิกใช้ขวดนมเมื่อลูกอายุมีอายุหนึ่งขวบขึ้นไป

สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

ลูกไม่ยอมดื่มนมจากขวด

ลองใช้เคล็ดลับต่อไปนี้ เพื่อให้ลูกรู้สึกคุ้นชินกับการดื่มนมจากขวด

  • ให้ลูกดื่มนมตอนที่หิว
  • อย่าป้อนนมตอนที่ลูกน้อยอิ่ม
  • อย่าสนใจลูกตลอดเวลา ทำเป็นไม่สนใจลูกบ้าง
  • ให้ลูกเล่นก่อนจะดื่มนมจากขวด
  • งดให้ลูกดื่มนมจากอกคุณแม่
  • ลองใส่เครื่องดื่มอื่นที่ลูกชอบในขวดนม
  • แตะตัวลูกเบา ๆ เป็นการกล่อมให้ลูกนอน
  • รู้ว่าเวลาไหนที่ควรตามใจลูก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Important Milestones: Your Baby By Six Months. https://www.cdc.gov/ncbddd/actearly/milestones/milestones-6mo.html. Accessed 30, 2022

Your baby’s developmental milestones at 6 months. https://www.unicef.org/parenting/child-development/your-babys-developmental-milestones-6-months. Accessed 30, 2022

Your baby’s growth and development – 6 months old. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/babys-growth-and-development-6-months-old. Accessed 30, 2022

6-7 months: baby development. https://raisingchildren.net.au/babies/development/development-tracker-3-12-months/6-7-months. Accessed 30, 2022

Baby Development: Your 6-Month-Old. https://www.webmd.com/parenting/baby/baby-development-6-month-old. Accessed 30, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/12/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เด็กแพ้แลคโตส สาเหตุ และวิธีการรับมือ

ภาษากาย ของลูกรัก ท่าทางแบบไหน มีความหมายว่าอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 30/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา