backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 28 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 28 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 28 หรือประมาณ 7 เดือน เป็นช่วงที่ทารกเริ่มสามารถพึ่งพาตัวเองได้เล็กน้อย และอาจชอบหยิบของใส่ปากมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรระวังสิ่งของที่เล็กเกินไปอาจเข้าไปติดคอเด็กได้ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเริ่มฝึกให้ทารกรับประทานอาหารอื่น ๆ นอกจากนมแล้ว ดังนั้นจึงควรเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพของลูก อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยงการที่มีการปรุงหรือใส่เกลือ เนื่องจากอาจมีปริมาณของโซเดียมมากเกินไปจนอาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 28

พัฒนาการเด็กสัปดาห์ที่ 28 จะเติบโตอย่างไร

เด็กในช่วงวัยนี้มักสนใจตุ๊กตาสัตว์ยัดนุ่นทุกขนาด อะไร ๆ ก็สามารถเป็นของเล่นชิ้นโปรดได้ทั้งนั้น การเล่นตุ๊กตาเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยกำลังจะพึ่งพาตัวเองได้แล้ว หรือพูดง่าย ๆ ก็คือลูกน้อยเรียนรู้ที่จะอยู่ห่างจาก และค่อย ๆ อยู่ได้ด้วยตัวเองมากขึ้น เวลาที่หาสมาชิกใหม่มาให้ครอบครัวตุ๊กตาหมีนั้น ก็ควรหาตัวที่นุ่ม ๆ และตัดเย็บมาอย่างดี บางครั้งลูกอาจจะชอบเล่นลูกบอล หรือของเล่นอื่น ๆ ที่สำคัญการเลือกของเล่นไม่ควรเลือกชิ้นที่เล็ก เพราะลูกอาจจะหยิบเข้าปากและเกิดอันตรายได้ วิธีที่จะรู้ว่าลูกชอบของเล่นชิ้นไหนให้ลองเอาของเล่นนั้นออกไปห่าง ๆ หาก ปกป้องของเล่นชิ้นนั้นอย่างเต็มเหนี่ยว นั่นก็อาจเป็นของเล่นชิ้นโปรดก็ได้

ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนที่หก ลูกน้อยอาจจะสามารถ…

  • ส่งเสียงบ่นแล้วคลานหนีออกไป
  • ลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง
  • เปลี่ยนจากการคลานมาเป็นท่านั่ง
  • หยิบของชิ้นเล็ก ๆ ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วต่าง ๆ (จึงควรวางสิ่งของที่เป็นอันตรายให้ห่างจากตัวเด็ก)
  • พูดคำว่า “มาม๊า” หรือ “ปะป๊า”

ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

ในช่วงนี้ลูกน้อยจะทิ้งน้ำหนักลงที่ขามากขึ้น และชอบเต้นมาก ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวมีความแข็งแรงในภายหลัง อาจช่วงพยุงให้ลูกน้อยยืนบนพื้นหรือบนตักโดยจับมือและข้อศอกให้อยู่ต่ำๆ

อาจต้องช่วยลูกน้อยให้เริ่มทำการเคลื่อนไหว โดยยกตัวขึ้นจากพื้นหรือต้นขา เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก การวางของเล่นให้ห่างจากตัว และดูซิว่าจะพยามเคลื่อนตัวไปหาของเล่นนั้นหรือเปล่า ถ้าเด็กร้องไห้เพราะไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ ก็พยายามกระตุ้นและพาไปหยิบของเล่นชั้นนั้น แทนที่จะหยิบของเล่นชิ้นนั้นส่งให้  เด็กจะร้องไห้เพื่อระบายความไม่พอใจเท่านั้น แล้วหลังจากนั้นก็กลับมามีความมั่นใจได้อย่างรวดเร็ด เมื่อสามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง หลังจากลองพยายาม 2-3 ครั้งแล้ว ลูกน้อยก็จะสามารถก้มไปหยิบของเล่นได้ แล้วกลับมาอยู่ในท่าเดิมได้ ในไม่ช้าลูกก็จะคลานกลับมา หรือแม้แต่กลิ้งตัวไปรอบ ๆ ห้องได้ สามารถช่วยลูกน้อยให้เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น ด้วยการสวมใส่เสื้อผ้า ที่หลวม ๆ และใส่สบายให้กับ

สุขภาพและความปลอดภัยของ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 28

ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

แพทย์จะทำการตรวจสอบทางร่างกายโดยรวม โดยใช้เทคนิคการวินิจฉัยและขั้นตอนที่แตกต่างกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพของลูกน้อย แพทย์หรือพยาบาลจะตรวจสอบตามรายการต่อไปนี้ทั้งหมดหรือบางรายการ

  • วัดความเข้มข้นของเลือด เพื่อตรวจหาภาวะโลหิตจาง โดยทั่วไปก็จะใช้วิธีเอาเข็มเจาะบริเวณปลายนิ้ว โดยเฉพาะทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย
  • ให้คำแนะนำว่าจะเกิดอะไรขึ้นในเดือนต่อไป ในเรื่องของกับการรับประทาน การนอนหลับ พัฒนาการ และความปลอดภัยของเด็ก

สิ่งที่ควรรู้

เมนูมังสวิรัติสำหรับทารก

ลูกน้อยอาจสามารถดูดซึมวิตามิน เกลือแร่ โปรตีน จากอาหารมังสวิรัติที่มีความสมดุลทางด้านโภชนาการ เด็กอายุ 6 เดือนจะรับสารอาหารส่วนใหญ่จากนมแม่หรือนมผง รวมทั้งอาหารตอนหย่านม อย่างเช่น ซีเรียล เนื้อผลไม้ยีให้ละเอียด น้ำผลไม้ และพืชผักต่างๆ

อาหารที่มีความสมดุลนั้นมีความสำคัญต่อเด็กมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารับประทานตามปกติได้ เด็กจะต้องการโปรตีนเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาและฟื้นฟู ถ้าเป็นอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ ก็จำเป็นต้องเสริมอาหารอื่น ๆ เข้าไปด้วย ถ้าต้องการให้ลูกน้อยกินอาหารมังสวิรัติ แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่กินมังสวิรัติมักจะขาดธาตุเหล็ก ฉะนั้นจึงควรต้องป้อนอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก อย่างเช่น ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี ผักใบเขียวอย่างผักขมด้วย ควรใช้ผักพวกนี้ในเมนูอาหารมังสวิรัติสำหรับเด็ก นอกจากนี้ก็ต้องแน่ใจว่าลูกน้อยได้รับวิตามินบี 12 วิตามินดี ไรโบฟลาวิน แคลเซียม และสังกะสี อย่างเพียงพอในแต่ละวัน

อาหารที่ใช้ทดแทนเนื้อหมูและสัตว์ปีกนั้น ในช่วงที่ทารกหย่านม สำหรับเด็กทารก ควรเป็นอาหารแชประเภทเนยแข็ง เต้าหู้ เมล็ดถั่ว ควรใช้แบบทำให้สุกและบดให้ละเอียด ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีอย่าง ขนมปัง พาสต้า ข้าว ซีเรียล โยเกิร์ต และเนยแข็งก็จะช่วยให้เข้าได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

อาหารที่มีเกลือ

เด็กทารกก็ต้องการเกลือเหมือนกับผู้ใหญ่ทั่ว ๆ ไปนั่นแหละ แต่พวกไม่ต้องการเกลือในปริมาณที่มากเกินไป เนื่องจากไตของทารกไม่สามารถรับมือกับโซเดียมจำนวนมากได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราต้องมีนมแม่ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่มีโซเดียมต่ำมาก ๆ หากให้รับประทานอาหารที่อุดมด้วยเกลือจะทำให้ลูกติดนิสัยชอบทานเกลือได้

อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจว่าลูกน้อยไม่ชอบกินถั่วหรือมันบด ถ้าไม่ได้เหยาะเกลือลงไปซะก่อน ลองให้ลูกน้อยได้ลอง ลิ้มรสชาติอาหารที่ไม่ได้ปรุงแต่งรสซะ แล้วลูกน้อยจะติดนิสัยการกินแบบสุขภาพดีไปตลอดชีวิต เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกน้อยจะไม่ติดนิสัยชอบทานเกลือและช่วยให้สมาชิกในครอบครัวลดการกินเกลือลง ที่สำคัญพ่อแม่ก็ควรอ่านฉลากอาหารทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอาหารอย่างขนมปัง ซีเรียล เค้ก หรือขนมปังกรอบอาจมีโซเดียมอยู่ในปริมาณสูง เมื่อที่เลือกซื้ออาหารสำหรับเด็กนั้น ก็ควรต้องเลือกอาหารที่มีเกลือน้อยกว่า 50 มก. ต่อมื้อ

เติมธาตุเหล็กให้ลูกน้อย

เด็กในวัยหกเดือนมักจะต้องการอาหารเสริมจำพวก ที่มีธาตุเหล็กมากขึ้น โชคดีที่ธัญพืชนั้นอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ที่ช่วยทดแทนอาหารเสริมชนิดนี้ให้เด็กได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้อาหารเสริมธาตุเหล็กที่เหมาะสำหรับเด็ก

การป้อนข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ หรือข้าวอื่น ๆ ให้ลูกน้อย ซึ่งอาจจะชื่นชอบในรสชาติก็ได้ นอกจากนี้อาจลองผสมซีเรียลเข้ากับผลไม้ที่ชอบหนึ่งอย่างก็ได้

สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

หารองเท้าที่เหมาะสมกับเด็ก

ในช่วงที่กำลังเจริญเติบโตอยู่นี้ ลูกน้อยควรจะเดินด้วยเท้าเปล่า แต่ก็ไม่ผิดอะไรที่จะให้ลูกใส่รองเท้าสวย ๆ ในโอกาสพิเศษบ้าง ตราบใดที่รองเท้าคู่นั้นเหมาะกับ เนื่องจากเท้าของลูกน้อยยังอยู่ในสภาพที่ยังไม่พร้อมจะเดิน รองเท้าจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับในตอนนี้ รองเท้าที่เหมาะกับเด็กนั้นควรจะมีน้ำหนักเบา ทำจากผ้าที่ถ่ายเทอากาศได้ดี จริง ๆ จะเป็นรองเท้าที่ทำจากหนังหรือผ้าก็ได้ แต่ไม่ใช่รองเท้าที่ทำจากพลาสติก ที่สำคัญเลยควรเลือกรองเท้าที่พื้นมีความยืดหยุ่นหน่อย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Infant development: Milestones from 7 to 9 months. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/infant-development/art-20047086#:~:text=By%20this%20age%2C%20most%20babies,themselves%20to%20a%20standing%20position.. Accessed June 10, 2022.

Baby Development: Your 7-Month-Old. https://www.webmd.com/parenting/baby/baby-development-7-month-old. Accessed June 10, 2022.

7-8 months: baby development. https://raisingchildren.net.au/babies/development/development-tracker-3-12-months/7-8-months. Accessed June 10, 2022.

6-7 months: baby development. https://raisingchildren.net.au/babies/development/development-tracker-3-12-months/6-7-months. Accessed June 10, 2022.

Your baby’s growth and development – 7 months old. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/babys-growth-and-development-7-months-old. Accessed June 10, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/12/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก อาการและการรักษา

ลูกเลือกกิน กินยาก จะรับมือได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 29/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา