backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 9 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 9 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 9 หรือประมาณ 3 เดือนแรก เป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยเพิ่มมีพัฒนาการทางด้านการได้ยินมากขึ้น สามารถแยกแยะและจดจำเสียงต่าง ๆ ได้มากขึ้น อีกทั้งยังอาจเปร่งเสียงเพื่อสื่อสารได้เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการดูลูกที่เหมาะสมสำหรับเด็กอายุ 9 สัปดาห์

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 9

ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไรและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 9

ตอนนี้ลูกมีอายุได้ 9 สัปดาห์แล้ว เขาสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียงที่คุ้นเคยกับเสียงอื่นๆ ได้ และกำลังจะกลายเป็นผู้ฟังที่ดี นอกจากนี้ลูกน้อยยังแสดงให้เห็นด้วยว่า เขาปรับตัวให้เขากับสภาพแวดล้อมได้แล้ว และเวลาที่มีเสียงอะไรเกิดขึ้น เขาก็จะหันไปมองตามเสียงนั้น

การพูดคุยอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ลูกน้อยมีการพัฒนาในการรับรู้เรื่องสถานที่ ลูกน้อยอาจมองปากคุณเวลาที่คุณกำลังพูด หรืออาจจะรู้สึกพิศวงถึงการทำงานของมัน คุณจะต้องทึ่งเมื่อเขาสามารถสื่อสารออกมาเป็นเสียงสูงเสียงต่ำได้แล้ว รวมทั้งยิ้มและร้องไห้เพื่อแสดงความต้องการต่างๆด้วย

ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนที่สองนี้ ลูกน้อยอาจจะ…

  • ยิ้มตอบ เวลาที่คุณยิ้มให้
  • แยกแยะได้ระหว่างเสียงที่คุ้นเคยและเสียงอื่นๆ
  • เริ่มหันไปมองตามเสียง
  • ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น
  • ตอบสนองกับเสียงกระดิ่งในหลายๆ รูปแบบ อย่างเช่น การจ้องมอง ร้องไห้ หรือนิ่งไป

ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

คุณอาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อย ด้วยการพูดคุยกับเขาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถึงแม้จะทำให้ดูเหมือนคุณกำลังคุยกับตัวเอง แต่นั่นจะช่วยพัฒนาด้านสติปัญหาให้ลูกน้อยได้

เขาสามารถเรียนรู้จากการเคลื่อนไหวของปาก การแสดงออก และน้ำเสียงที่ชวนให้รู้สึกตื่นเต้น ซึ่งคุณจะต้องแปลกใจที่เขาสามารถโต้ตอบกลับมาด้วยการพูดอะไรอ้อแอ้ หัวเราะ หรือร้องไห้ ตามอารมณ์ของเขาในตอนนั้น

สุขภาพ ความปลอดภัยและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 9

ควรปรึกษาคุณหมออย่างไรบ้าง

คุณหมออาจอาจทำการประเมิน หรือใช้วิธีตรวจสอบที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพของลูกคุณ แต่คุณสามารถมีส่วนร่วมและปรึกษาหารือกับคุณหมอในเรื่องต่อไปนี้ 

  • คุณหมอจะทำการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดขนาดศีรษะของทารก เพื่อให้แน่ใจว่าทารกเติบโตในระดับที่เหมาะสม
  • ตรวรสอบการมองเห็น การได้ยิน การทำงานของหัวใจและปอด ตรวจร่างกายทารกตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้า หน้าอก และหลัง เพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยมีสุขภาพที่ดี และสามารถบรรลุถึงเป้าหมายของพัฒนาการในแต่ละช่วงเวลาได้
  • ฉีดวัคซีนให้ลูกน้อย เพื่อป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี โรคโปลิโอ โรคคอตีบ โรคบาดทะยัก โรคไอกรน โรคตับอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในหู อาการท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า (ที่ติดทางช่องปาก) เพื่อป้องกันอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ซึ่งคุณแม่ควรที่จะระมัดระวัง เรื่องความสะอาดอย่างยิ่ง

สิ่งที่ควรรู้ในช่วง พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 9

การรับวัคซีน

พ่อแม่หลายคนอาจได้ยินถึง ความเสี่ยงในการฉีดวัคซีน แต่คุณหมอจะทำการยืนยันให้คุณได้ว่า วัคซีนมีประโยชน์ต่อเด็กทารกส่วนใหญ่ เนื่องจากการฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันลูกน้อยจากการติดโรคต่างๆ ที่มักจะเจอะเจอได้ง่าย

กลไกที่ทำให้ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันขึ้นมา ก็คือ เวลาที่เราสัมผัสกับจุลชีพที่อ่อนแอหรือตายไปแล้ว หรือโดนสารพิษต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการความร้อนหรือกระบวนการทางเคมี ที่ช่วยให้เกิดความปลอดภัยต่อร่างกายแล้ว ร่างกายจะผลิตสารภูมิคุ้มกันขึ้นมา ซึ่งสารภูมิคุ้มกันนี้จะพัฒนาขึ้น ถ้าลูกน้อยเกิดการติดเชื้อโรคขึ้นมา สารภูมิคุ้มกันนี้จะมีความทรงจำพิเศษ ที่สามารถล่วงรู้ได้ว่าจะต้องฆ่าจุลชีพตัวไหน ถ้าจุลชีพพวกนั้นเข้ามาโจมตีร่างกายในอนาคต

ถึงแม้การก่อภูมิคุ้มกันจะช่วยชีวิตเด็กนับพันคนในทุกๆ ปีได้ แต่การป้องกันประเภทนี้ก็ยังไม่สมบูรณ์แบบนัก เด็กส่วนใหญ่จะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อวัคซีน เด็กบางคนก็จะมีอาการป่วย บางรายก็เป็นโรคร้ายแรง และก็มีบ้างแต่ไม่มากนักที่วัคซีนบางตัวจะสร้างความเสียหายแบบถาวร หรือแม้แต่ทำให้เด็กแรกเกิดเสียชีวิตได้ เพื่อลดความเสี่ยงลง คุณก็ควรศึกษาข้อควรระวังพวกนี้เอาไว้ ให้แน่ใจว่าลูกน้อยได้รับวัคซีนอย่างปลอดภัย

  • คุณต้องแน่ใจว่า คุณหมอตรวจสุขภาพของทารกอย่างละเอียดก่อนฉีดวัคซีน เพื่อที่ลูกน้อยจะได้ไม่มีอาการป่วยร้ายแรง คุณควรเลื่อนการรับวัคซีนออกไป ถ้าลูกไม่สบาย แต่ถ้าลูกน้อยมีอาการป่วยเล็กน้อย อย่างเช่น เป็นหวัด ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเลื่อนการรับวัคซีนออกไป
  • คุณควรอ่านข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนตัวนั้น ก่อนที่คุณหมอจะฉีดวัคซีนให้กับลูกน้อย
  • เฝ้าดูอาการของลูกน้อยใน 72 ชั่วโมง หลังจากการสร้างภูมิคุ้มกัน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 48 ชั่วโมงแรก) และควรบอกคุณหมอทันทีที่มีปฏิกิริยาร้ายแรงหรือพฤติกรรมที่ไม่ปกติเกิดขึ้น และควรบอกอาการที่เกิดขึ้นให้คุณหมอทราบ ในการไปพบคุณหมอครั้งต่อไปด้วย
  • สอบถามคุณหมอ ถึงชื่อบริษัทที่เป็นผู้ผลิตวัคซีน รวมทั้งหมายเลขการผลิตของวัคซีน เพื่อทำการบันทึกปฎิกิริยาตอบสองของลูกน้อย เก็บสำเนาของข้อมูลนี้เอาไว้ด้วย ซึ่งถ้ามีอาการร้ายแรงเกิดขึ้น คุณหมอจะส่งรายงานไปยังหัวหน้าแผนก เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  • ก่อนที่จะรับวัคซีนครั้งต่อไป ให้ควรบอกคุณหมออีกครั้ง ถึงปฏิกิริยาของลูกน้อยจากการฉีดวัคซีนในครั้งที่แล้ว
  • ถ้าคุณมีความกังวลใดๆเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน ให้ควรคุยกับคุณหมอโดยตรง

ถึงแม้ว่าจะเกิดปฎิกิริยาที่รุนแรงจากการฉีดวัคซีนได้ยาก แต่ควรรีบติดต่อคุณหมอทันที ถ้าลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ภายในเวลา 2 วันหลังจากการรับวัคซีน

  • มีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
  • ร้องไห้นานกว่า 3 ชั่วโมง
  • มีอาการชัก ถึงแม้อาการนี้จะปกติ และไม่ก่อให้เกิดไข้สูง
  • มีอาการชัก หรือมีพฤติกรรมไม่ปกติเกิดขึ้นภายใน 7 วันหลังจากฉีดวัคซีน
  • มีอาการแพ้ (มีอาการบวมของปาก ใบหน้า หรือลำคอ หายใจลำบาก และเป็นลมพิษแบบปุบปับ)
  • ดูไม่ค่อยมีชีวิตชีวา ตอบสนองช้า ง่วงนอนมากผิดปกติ

หากลูกน้อยของคุณมีอาการพวกนี้ มากกว่าหนึ่งอย่างหลังจากฉีดวัคซีน ก็ควรพาไปพบคุณหมอ คุณควรบันทึกและประเมินข้อมูลนี้เอาไว้ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในอนาคต

สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

ควรกังวลในเรื่องใด

คุณแม่บางคนอาจป้อนนมขวดให้ลูก เนื่องจากอยากหาเวลาว่างให้ตัวเองบ้างในตอนบ่ายหรือตอนเย็น เหตุผลก็อาจเป็นเพราะว่ามีงานต้องทำ หรือลูกน้อยทำน้ำหนักได้ช้าถ้าดื่มแต่นมแม่

ไม่ว่าคุณวางแผนจะป้อนนมขวดให้ลูกเป็นประจำหรือไม่ก็ตาม คุณควรบีบนมใส่ขวดแช่ตู้เย็นเอาไว้ซักประมาณหกขวด วิธีนี้จะช่วยให้คุณมีน้ำนมให้ลูกกินในเวลาที่ป่วย เวลาที่ต้องรับประทานยาที่ส่งผลต่อน้ำนม หรืออาจมีงานด่วนที่ต้องจากบ้านไปสองสามวัน ไม่ต้องเป็นกังวลถ้าลูกน้อยไม่เคยดูดนมจากขวดมาก่อน รสชาติที่ใกล้เคียงกันจะช่วยให้ลูกน้อยดูดนมจากขวดได้ง่ายขึ้น

เด็กบ้างคนอาจไม่ยอมรับความยุ่งยากในการเปลี่ยนจากการดูดนมมารดามาเป็นดูดจากขวด แต่เด็กส่วนใหญ่จะปรับตัวได้ถ้าคุณเพิ่มเวลาการให้นมจากอกต่อไปอีกสามสัปดาห์ ซึ่งควรเป็นในช่วงสัปดาห์แรก การให้ดูดนมจากขวดเร็วเกินไป ก็อาจทำให้เด็กไม่รู้สึกชินกับการดูดจากอกจริงๆ เพราะเด็กอาจเกิดความสับสนได้

อีกเหตุผลหนึ่งก็คือการให้นมจากอกมารดาและการให้นมจากขวดนั้นต้องใช้เทคนิคที่ไม่เหมือนกัน แต่ถ้าลูกน้อยได้รับนมจากขวดหลังจากผ่านช่วงเวลานี้ไปแล้ว เด็กหลายๆ คนก็จะไม่ยอมดูดนมจากขวด เนื่องจากเคยชินกับการดูดนมจากอกมารดา

การให้นมจากอกมารดานั้น มีความสะดวกสบายในระดับหนึ่ง เนื่องจากคุณสามารถให้นมในเวลาที่เด็กต้องการได้ โดยไม่ต้องคิดเรื่องปริมาณน้ำนมที่เด็กดื่ม ฉะนั้นทันทีที่คุณเริ่มให้ลูกดูดนมจากขวด สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกก็คือ การคำนวณปริมาณน้ำนมที่ลูกน้อยต้องการ ซึ่งคุณควรปรึกษาคุณหมอหรือนักโภชนาการ เพราะเด็กแต่ละคนในกลุ่มวัยแต่ละกลุ่ม ก็จะมีความต้องการสารอาหารไม่เท่ากัน

ถ้าการงานทำให้คุณไม่สามารถป้อนนมจากอกให้ลูกได้ถึงสองครั้ง ก็ควรเปลี่ยนไปป้อนนมจากขวดแทน คุณควรเริ่มป้อนนมขวดก่อนกลับไปทำงานอย่างน้อยสองสัปดาห์ โดยให้เวลาลูกน้อยทำความคุ้นเคยซักประมาณหนึ่งสัปดาห์ โดยป้อนนมขวดวันละหนึ่งขวด ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสองขวดต่อวัน วิธีนี้จะช่วยให้ทั้งลูกน้อยและร่างกายปรับตัวได้ ถ้าคุณให้ลูกน้อยกินนมขวด น้ำนมตามธรรมชาติจะลดลงไปเอง ซึ่งนั่นจะช่วยให้คุณกลับไปทำงานได้อย่างสบายตัวขึ้น

ถ้าคุณตั้งใจที่จะป้อนนมขวดให้ลูกน้อยเป็นครั้งคราว การบีบนวดนมทั้งสองข้างก่อนปล่อยให้น้ำนมไหลออกมา ช่วยลดปัญหาน้ำนมคั่งค้างและน้ำนมรั่วไหลให้คุณได้ คุณต้องแน่ใจว่าลูกน้อยจะไม่ได้ดื่มนมในช่วงเวลาที่คุณใกล้กลับบ้าน เพราะตอนนั้นคุณสามารถป้อนนมจากอกได้ ถ้ามีน้ำนมมากพอ

  • รอยยิ้มแรกของลูกน้อย

ถ้าลูกน้อยไม่ยอมยิ้มให้คุณก็ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะแม้แต่เด็กที่มีความสุขที่สุดก็จะไม่ยอมหัวเราะ จนกว่าจะอายุได้หกถึงเจ็ดสัปดาห์ และเมื่อเริ่มยิ้มขึ้นมาเมื่อไร ก็จะเสียงหัวเราะของลูกน้อยตามมาเป็นครั้งคราวด้วย

คุณสามารถแยกแยะรอยยิ้มจริงกับรอยยิ้มเรื่อยเปื่อยของเขาได้ โดยการสังเกตลักษณะการใช้กล้ามเนื้อทั้งใบหน้าในการยิ้ม ไม่ใช่แค่ใช้ปากอย่างเดียว ถึงแม้เขาจะหัวเราะได้ช้า แต่ถ้าคุณพูดกับเขา เล่นกับเขา และกอดเขาให้มากกว่าเดิม ก็น่าจะช่วยให้เขาหัวเราะได้เร็วขึ้นได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Murkoff, Heidi. What to Expect, The First Year. New York: Workman Publishing Company,
2009. Print. Page 213-248

9 Week Old Baby Development

https://www.motherandbaby.co.uk/baby-and-toddler/baby/baby-development-and-milestones/9-week-old-baby-development

9 Week Old Baby Development

https://www.parents.com/baby/development/9-week-old-baby-development/

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ สำหรับเด็ก จำเป็นหรือไม่

แพ้วัคซีน ในเด็ก คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้อย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา