พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 46 ลูกน้อยจะเริ่มมีความสุขในการดูหนังสือและการพลิกหน้าหนังสือไปเรื่อย ๆ และเริ่มสนใจรูปภาพสวย ๆ รวมทั้งการใช้นิ้วเล็ก ๆ หยิบจับสิ่งต่าง ๆ เริ่มหย่านม เริ่มมีฟันขึ้น ในเด็กบางรายอาจเริ่มฝึกขับถ่ายด้วยตนเอง คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยให้เติบโตสมวัยและเฝ้าสังเกตดูพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด
[embed-health-tool-vaccination-tool]
การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 46
ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร
ลูกน้อยอาจมีความสุขในการดูหนังสือและการพลิกหน้าหนังสือไปเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้พลิกไปทีละหน้าก็ตาม เขาอาจจะเพลิดเพลินไปกับหนังสือที่มีรูปภาพสวย ๆ หรือติดหนึบอยู่กับหนังสือที่ทำจากกระดาษหนา ๆ ที่ใช้นิ้วเล็ก ๆ เปิดได้ง่าย คุณพ่อ คุณแม่อาจลองพาเข้าเข้าห้องสมุด พาไปที่แผนกหนังสือเด็กในร้านหนังสือ หรือลองแลกเปลี่ยนหนังสือกับเพื่อน ๆ ดูก็ได้ จะได้ช่วยให้ลูกได้อ่านหนังสือที่หลากหลาย และจะได้รู้ด้วยว่าเขาชอบอ่านหนังสือประเภทไหน
พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยในสัปดาห์ที่ 46
- ตบมือหรือโบกมือบ๊ายบายได้
- เดินโดยเกาะเฟอร์นิเจอร์ไปเรื่อย ๆ
- ชี้นิ้วหรือทำท่าทางเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ
- ชอบดูหนังสือและพลิกหน้าหนังสือ
ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร
ลูกน้อยอาจแสดงอาการขัดขืนอย่างหนักเมื่อต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากลูกจะรักและติดผู้ดูแลค่อนข้างมาก หากต้องการทำให้เขาห่างจากคุณพ่อคุณแม่ได้บ้าง และได้ง่ายขึ้นนั้น ก็ควรแยกจากกันเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำเขาไปฝากตามสถานรับเลี้ยงเด็ก ให้คนในครอบครัวมาช่วยดูแล หรือจ้างคนมาดูแลเด็กก็ตาม และไม่ควรร่ำลาลูกน้อยด้วยน้ำตานานเกินไป เพราะอีกเดี๋ยวเขาก็จะกลับมามีความสุขได้อีกครั้ง
คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกน้อยพึ่งพาตัวเองได้ โดยไม่ต้องไปช่วยทำอะไรให้เขาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนว่าเขาจำเป็นต้องรู้ว่ามีคนอยู่ใกล้ ๆ และสามารถพึ่งพาคุณพ่อคุณแม่ได้เสมอ ฉะนั้นถ้าเขาเดินไปที่ห้องอื่น ก็รอซัก 2-3 นาทีก่อนแล้วค่อยเดินตามเขาไป แต่อย่าวิ่งเข้าไปหาทุกครั้งที่เขาร้องเรียก
สุขภาพและความปลอดภัย
ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร
แพทย์ส่วนใหญ่มักไม่ได้นัดหมายการตรวจสุขภาพของลูกน้อยเดือนนี้ เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ไม่ชอบให้อุ้มในระหว่างที่ไปพบคุณหมอ เด็กที่กลัวคนแปลกหน้าอาจไม่อยากพบหมอ ไม่ว่าคุณหมอจะใจดีหรือเป็นมิตรเพียงใดก็ตาม ถ้ามีความกังวลใด ๆ ที่ไม่สามารถรอให้ถึงวันนัดครั้งต่อไปไม่ได้ ควรใช้วิธีโทรปรึกษาคุณหมอแทน
สิ่งที่ควรรู้
สิ่งที่อาจเป็นกังวลสำหรับเด็กในวัยนี้ก็คือการหย่านมและอาการเจ็บฟัน ซึ่งเคล็ดลับพวกนี้อาจช่วยได้ ดังนี้
การหย่านม
ถ้าต้องการให้ลูกกินนมแม่อยู่ วันสุดท้ายของการกินนมก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย หากกน้อยอาจส่งสัญญาณว่าพร้อมจะหย่านมแล้ว รวมทั้งยังแสดงอาการไม่สนใจ หรือทำท่าวอกแวกในช่วงเวลาที่กำลังป้อนนมอยู่ อาจสับสนว่าจะลูกหย่านมตอนนี้เลยดีไหม เพราะในบางวันการหย่านมก็ก็ทำให้รู้สึกโล่งใจได้ แต่บางครั้งก็ไม่อยากให้เวลานั้นมาถึง คุณแม่หลายคนยังคงให้นมต่อไปอีกนาน แต่เมื่อลูกน้อยมีอายุครบหนึ่งขวบแล้วก็ควรจะหยุดให้ลูกดื่มนมจากเต้า
อาจค่อย ๆ ลดจำนวนครั้งในการป้อนนมลงในแต่ละวัน หรือให้ลูกลองดื่มนมผงหรือนมวัว ถ้าแพทย์อนุญาต หากลูกน้อยไม่ยอมกินนมจากขวด อาจให้ลูกน้อยดื่มนมจากแก้วแทน ซึ่งเด็กบางคนอาจจะดื่มทุก ๆ สองวัน แล้วก็เลิกลาไปเอง โดยอาจลดระยะเวลาการป้อนนมให้สั้นลง โดยใช้คำแนะนำดังต่อไปนี้
- ให้ความสนใจเขาเป็นพิเศษ เพื่อชดเชยกับช่วงเวลาแห่งความใกล้ชิดในการป้อนนมที่ลดลง
- พยายามหันเหความสนใจลูกน้อย หากเขาดูเหมือนยังอยากกินนมแม่ แล้วดูซิว่าเขาสนใจอย่างอื่นหรือเปล่า หรือจะดื่มนมจากถ้วยแทนไหม
- วานให้คนอื่นพาลูกน้อยเข้านอน เพื่อที่คุณแม่จะได้ไม่ป้อนนมแม่ให้เขากินโดยอัตโนมัติ
- ถ้ามีอาการนมคัด ก็ประคบด้วยความเย็น และใช้มือปั๊มนมออกในช่วง 2-3 วันแรก หรือกินยาแก้ปวดถ้าจำเป็น
- ถ้าลูกแสดงอาการขัดขืน ก็ลองป้อนนมลูกต่อไปอีกหน่อย แล้วค่อยให้หย่านมใหม่
ลูกปวดฟัน
ด้วยความที่ฟันน้ำนมต้องหลีกทางให้ฟันแท้ในวันใดวันหนึ่ง จึงไม่ควรเป็นกังวลกับรอยแตกบนฟันมากนัก ไปกังวลกับการหกล้มบ่อย ๆ ของลูกน้อยแทนจะดีกว่า และไม่ต้องเป็นกังวลกับเรื่องความสวยความงามมากด้วย ขั้นแรกคือ ตรวจสอบฟันอย่างรวดเร็ว ถ้ามีฟันที่มีขอบคม ๆ ก็ควรปรึกษากับทันตแพทย์ ซึ่งทันตแพทย์อาจแก้ปัญหาด้วยทำการครอบฟันหรืออุดฟัน
ควรปรึกษาทันตแพทย์ทันที ถ้าลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้
- มีอาการเจ็บฟันและยังมีอาการต่อไปอีกหลายวัน โดยไม่ทุเลาลงเลย
- ถ้าฟันมีอาการโยก ติดเชื้อ หรือมีอาการเหงือกบวม
- ถ้าเห็นจุดสีชมพูอยู่ตรงกลางฟันที่แตก
อาการพวกนี้บ่งบอกว่ามีเศษกระดูกฟันที่แตกเข้าไปในเส้นประสาท ซึ่งในกรณีนี้แพทย์จะทำการเอกซเรย์ดูว่าจะต้องถอนฟันหรือต้องรักษาเส้นประสาทหรือเปล่า ถ้าไม่ทำการรักษาอาการบาดเจ็บที่เส้นประสาท ก็อาจทำให้ฟันเกิดความเสียหายอย่างถาวรได้
สิ่งที่ต้องเป็นกังวล
ต้องกังวลในเรื่องใด
ในสัปดาห์ที่ 46 พ่อแม่หลายคนอาจจะมีความกังวลมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือการฝึกเข้าห้องน้ำ ซึ่งควรรอให้ลูกน้อยมีอายุ 18-24 เดือนซะก่อน แล้วค่อยฝึกให้ลูกเข้าห้องน้ำ ซึ่งช่วงเวลานั้น เป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการพร้อมที่จะได้รับการฝึกแล้ว
ทางด้านร่างกาย
สัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าเด็กพร้อมจะได้รับการฝึกเข้าห้องน้ำ คือ
- มีการขับถ่ายเป็นเวลา และคาดการณ์ได้
- มีความสามารถในการกลั้นปัสสาวะได้อย่างน้อยสองชั่วโมง
- เวลาปัสสาวะ และไม่เหลือปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเลย
- ดึงกางเกงขึ้นลงได้ และสามารถขึ้นนั่งและลงโถชักโครกหรือกระโถนได้
- สัญญาณความพร้อมอื่น ๆ ได้แก่ เข้าใจความหมายของคำว่าห้องน้ำ และทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้
ทางด้านอารมณ์
ส่วนความพร้อมทางด้านอารมณ์นั้น ลูกน้อยของคุณก็ควรมีสัญญานต่อไปนี้
- ลูกน้อยรู้ตัวว่าเขาฉี่เต็มผ้าอ้อม เขาอาจจะนั่งยอง ๆ ที่มุมห้อง หรือบอกคุณด้วยคำพูดหรือท่าทางว่าเขาจะต้องไปถ่ายแล้ว
- ลูกน้อยอาจรู้สึกไม่พอใจเวลาที่ถ่ายใส่ผ้าอ้อม
- นี่คือข้อกำหนดเบื้องต้น ที่บ่งบอกว่าเขาพร้อมจะเรียนรู้ทักษะที่มีความสำคัญนี้แล้ว