backup og meta

สารอาหารสำหรับทารก ที่ควรกินมีอะไรบ้าง

สารอาหารสำหรับทารก ที่ควรกินมีอะไรบ้าง

คุณแม่ควรทราบว่า สารอาหารสำหรับทารก มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายของลูกน้อยอย่างมาก เพราะทารกควรได้รับคุณค่าทางอาหารอย่างเพียงพอในทุก ๆ วัน เพื่อให้สุขภาพกาย สุขภาพจิต สมองและระบบประสาทของทารกสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

[embed-health-tool-vaccination-tool]

สารอาหารสำหรับทารก ที่ควรกินมีอะไรบ้าง

สารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกในช่วง 6 เดือนแรกคือ นมแม่ เพราะมีโปรตีน ไขมัน วิตามิน สารภูมิคุ้มกัน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ทารกต้องการ เช่น แคลเซียม เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 12 วิตามินซี วิตามินเค ซึ่งสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกได้เป็นอย่างดี ทารกควรได้กินนมแม่ตลอดช่วง 12 เดือนแรกเป็นอย่างน้อย ยิ่งทารกได้กินนมแม่นานเท่าใด ก็จะยิ่งเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นได้มากเท่านั้น

เมื่อเด็กอายุ 6 เดือน การดื่มน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวอาจทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เด็กจึงอาจต้องกินอาหารชนิดอื่น ๆ เพิ่มด้วย โดยคุณพ่อคุณแม่อาจให้เด็กเริ่มกินอาหารแข็งที่บดละเอียดเพื่อให้กลืนได้ง่าย เช่น ซีเรียลสำหรับทารกผสมกับนมแม่เพื่อเสริมธาตุเหล็ก เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้นมชนิดอื่น นอกจากนี้ เด็กที่อายุ 6-8 เดือนสามารถเสริมอาหารที่เป็นพืชหรือแหล่งสารอาหารสำหรับทารกชนิดอื่นได้ ดังนี้

ผักและผลไม้

ผักและผลไม้ให้วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ กากใย และน้ำ ซึ่งเป็นสารอาหารที่จะช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งบางชนิด

ธัญพืช

อาหารประเภทธัญพืช เช่น ข้าว ซีเรียล ข้าวโพด ควินัว ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ มีพลังงาน ช่วยในการเจริญเติบโต และพัฒนาการเรียนรู้

ผลิตภัณฑ์นม

อาหารจำพวกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส โยเกิร์ต เป็นแหล่งโปรตีนและแคลเซียม แต่นมแม่ก็ยังมีความจำเป็น และยังคงเป็นอาหารหลักของเด็กในช่วง 12 เดือนแรกอยู่ คุณพ่อคุณแม่อาจให้ทารกกินอาหารเหล่านี้เป็นเพียงอาหารเสริมเท่านั้น แต่หากทารกเสี่ยงแพ้นมวัว แนะนำให้หลีกเลี่ยงนมวัวไปก่อนจนกว่าทารกจะมีอายุ 1 ปีขึ้นไป และควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับนมที่เหมาะสม

โปรตีน

อาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่ ถั่ว เต้าหู้ มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโต และช่วยพัฒนากล้ามเนื้อและสมองของเด็ก ทั้งยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ เช่น เหล็ก สังกะสี วิตามินบี 12 กรดไขมันโอเมก้า 3

น้ำ

เด็กที่อายุเกิน 12 เดือนสามารถดื่มน้ำเปล่าธรรมดาได้ แต่เด็กที่มีอายุตั้งแต่  6 เดือนขึ้นไปยังคงต้องดื่มน้ำต้มสุกเพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อโรคที่อาจมากับน้ำ

ช่วงเวลาและปริมาณสารอาหารที่เหมาะสมสำหรับทารก

นมแม่ คือ สารอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน ทารกควรกินนมแม่เป็นอาหารหลักทุกมื้ออย่างต่อเนื่องจนถึงอายุ 12 เดือน และสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป อาจต้องป้อนอาหารอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการ

ปริมาณสารอาหารสำหรับทารกแต่ละช่วงวัย มีดังต่อไปนี้

  • ทารกแรกเกิด ควรกินนมแม่ 2-3 ออนซ์ ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 1 เดือน ควรกินนมแม่ประมาณ 2-4 ออนซ์ ทุก ๆ 2-4 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 2 เดือน ควรกินนมแม่หรือนมผสม 2-4 ออนซ์ ทุก ๆ 2-4 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 3 เดือน ควรกินนมแม่ประมาณ 3-5 ออนซ์ ทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 4 เดือน ควรกินนมแม่หรือนมผสม 4-6 ออนซ์ ทุก ๆ 4-5 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 5 เดือน ควรกินนมแม่หรือนมผสม 6-7 ออนซ์ ทุก ๆ 4-5 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 6 เดือน สามารถกินนมแม่หรือนมผสมได้ 7-8 ออนซ์ ทุก ๆ 4-5 ชั่วโมง และเริ่มให้อาหารแข็งบดละเอียด เช่น ซีเรียล ผลไม้ ผัก ปริมาณ 1-9 ช้อนโต๊ะ
  • เด็กวัย 7-8 เดือน กินนมแม่หรือนมผสมประมาณ 24-36 ออนซ์/วัน และให้ซีเรียล ผลไม้ ผัก ปริมาณ 4-9 ช้อนโต๊ะ เนื้อสัตว์ หรือโปรตีน ปริมาณ 1-6 ช้อนโต๊ะ วันละ 1 มื้อ ทุกวัน
  • เด็กวัย 9-10 เดือน กินนมแม่หรือนมผสมประมาณ 20-30 ออนซ์ต่อวัน และให้ธัญพืช ผลไม้ ผัก ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ โปรตีน ปริมาณ ¼-½ ถ้วย ประมาณ 2 มื้อ/วัน
  • เด็กวัย 11 เดือน กินนมแม่หรือนมผสมประมาณ 16-24 ออนซ์ต่อวัน และสามารถเพิ่มธัญพืช ผลไม้ ผัก ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ โปรตีนได้มากกว่า ¼-½ ถ้วย จำนวน 2 มื้อ/วัน หากเด็กกินได้ดี จะให้อาหาร 3 มื้อ/วันก็ได้
  • เด็กวัย 12 เดือน กินนมแม่หรือนมผสมประมาณ 24 ออนซ์ต่อวัน เด็กหลายคนอาจหย่านมแม่และเริ่มดื่มนมวัวได้แล้ว ควรกินธัญพืช ผลไม้ ผัก ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ โปรตีน ¼-½ ถ้วย จำนวน 3 มื้อ/วัน เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน

วิธีป้อนอาหารสำหรับทารกที่ไม่ได้กินนมแม่

เด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ควรได้รับอาหารเสริม เพื่อให้ได้สารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยควรปรึกษากุมารแพทย์เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็กทารกที่ไม่ได้กินนมแม่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Heavy Metals in Baby Food. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/baby/feeding-nutrition/Pages/Metals-in-Baby-Food.aspx. Accessed June 21, 2021

Feeding your baby: 6–12 months. https://www.unicef.org/parenting/food-nutrition/feeding-your-baby-6-12-months. Accessed June 21, 2021

Healthy food for babies and toddlers: the five food groups. https://raisingchildren.net.au/toddlers/nutrition-fitness/daily-food-guides/babies-toddlers-food-groups. Accessed June 21, 2021

Infant Nutrition: The First 6 Months. https://www.webmd.com/parenting/baby/nutrition#1. Accessed June 21, 2021

Nutrition for Kids. https://www.pcrm.org/good-nutrition/nutrition-for-kids. Accessed June 21, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/12/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ป้อนกล้วยทารก เสี่ยงตายได้ หากไม่ถึงวัยอันควร

ผลไม้สำหรับคนท้อง ดีต่อคุณแม่ มีประโยชน์ต่อทารก


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 29/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา