backup og meta

โภชนาการสำหรับทารก ในช่วงวัย 6 เดือนแรก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ

โภชนาการสำหรับทารก ในช่วงวัย 6 เดือนแรก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ

สำหรับทารกในช่วงวัย 6 เดือนแรก อาจต้องได้รับสารอาหารเป็นพิเศษ เพื่อช่วยเสริมสร้างร่างกายให้พวกเขามีภูมิต้านทานและสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับ โภชนาการสำหรับทารก ในช่วง 6 เดือนแรก เพื่อเป็นตัวช่วยสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ในการดูแลลูกน้อยให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ทารกช่วง 6 เดือนแรก ควรได้รับอาหารรูปแบบใด

หากลูกรักของคุณอยู่ในช่วง 1-3 เดือนแรก ควรต้องได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียว เพราะภายในนมแม่นั้นจะมีสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของทารก แต่หากคุณแม่ไม่มีน้ำนมเพียงพอ อาจให้ลูกกินนมผงที่มีสูตรเสริมธาตุเหล็ก วิตามินดีหรือสารอาหารอื่นๆเข้ามาช่วย ครั้งละ 4-5 ออนซ์ โดยต้องผ่านการพิจารณาจากแพทย์ร่วมด้วย เพราะเนื่องจากสุขภาพทารกนั้นมีข้อจำกัด หรือเงื่อนไขของสุขภาพแตกต่างกัน

แต่สำหรับทารกช่วง 4-6 เดือน นอกจากการให้น้ำนมแม่และนมผงแล้ว อาจจะเริ่มฝึกให้ลูกรับประทานอาหารแข็งร่วมด้วยเช่น ซีเรียล ผัก ผลไม้บดละเอียด เนื้อสัตว์ต้มเปื่อย ไข่ต้มสุกสนิทโดยเริ่มจากไข่แดงก่อน ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วหรือน้ำผึ้ง เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กได้

โภชนาการสำหรับทารก ช่วง 6 เดือนแรก

โภชนาการ หรือสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตให้แก่ลูกรักของคุณนอกเหนือจากการให้รับประทานแต่นมผง มีดังต่อไปนี้

  • แคลเซียม : ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก และฟัน
  • โฟเลต : เป็นสารสำคัญที่่วยในกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์
  • โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต : ให้พลังงานแก่ร่างกายในแต่ละวัน
  • ธาตุเหล็ก : สร้างเซลล์เม็ดเลือด ช่วยให้ระบบประสาท และสมองมีการพัฒนา
  • สังกะสี : ช่วยให้เซลล์ในร่างกายมีการซ่อมแซมตนเอง
  • วิตามินเอ : บำรุงผิว เส้นผม และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • วิตามินบี1 บี2 บี3 บี6 และบี12 : บำรุงเซลล์ประสาท เม็ดเลือด บำรุงสมอง
  • วิตามินซี : ป้องกันการติดเชื้อ และช่วยรักษาบาดแผลให้สมานได้ไว
  • วิตามินดี : ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้ดี
  • วิตามินอี : ปกป้องเซลล์ในร่างกายไม่ให้เกิดความเสียหาย และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
  • กรดไขมัน ARA และ DHA : เป็นกรดไขมันที่มีความสำคัญต่อสมองของ ทารก
  • พรีไบโอติกส์ : ส่งเสริมการเจริญเติบโตกับแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ของทารก

สารอาหารที่ทารกช่วง 6 เดือนแรก ควรหลีกเลี่ยง

ถึงจะมีสารอาหารมากมายที่เหมาะกับ ทารก แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงมีสารอาหารบางประเภทที่คุณไม่ควรให้ลูกน้อยรับประทานเข้าไปในช่วง 6-12 เดือนแรก นั่นก็คือ นมวัวชนิด UHT หรือ นมวัวชนิดครบส่วน (Whole milk) เนื่องจากอาจมีปริมาณของโซเดียม และโพแทสเซียมมากเกินความจำเป็นต่อร่างกายของทารก อี

เด็กบางคนอาจมีอาการแพ้นมวัวได้ หากคุณแม่คุณแม่สงสัยควรเข้าขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการวินิจฉัย รวมทั้งชนิดของนมที่ลูกรักสามารถรับประทานได้ในระยะยาว ก่อนเลือกวิธีเลี่ยงนมวัวด้วยตนเองเพื่อไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรง รวมถึงป้องกันภาวะขาดสารอาหารของลูกน้อย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Start your infant off on the path of lifelong healthy nutrition. https://www.myplate.gov/life-stages/infants. Accessed July 14, 2021

Feeding Your 4- to 7-Month-Old. https://kidshealth.org/en/parents/feed47m.html. Accessed July 14, 2021

Feeding Your 1- to 3-Month-Old. https://kidshealth.org/en/parents/feed13m.html. Accessed July 14, 2021

Infant Nutrition: The First 6 Months. https://www.webmd.com/parenting/baby/nutrition#1. Accessed July 14, 2021

Infant and young child feeding. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/infant-and-young-child-feeding. Accessed July 14, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/01/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ป้อนกล้วยทารก เสี่ยงตายได้ หากไม่ถึงวัยอันควร

ลูกกินขนมมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา