backup og meta

หมดปัญหา ลูกไม่ยอมทำการบ้าน ด้วยวิธีการเหล่านี้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 30/06/2021

    หมดปัญหา ลูกไม่ยอมทำการบ้าน ด้วยวิธีการเหล่านี้

    พอพูดคำว่า การบ้าน เด็กๆ หลายคนส่ายหน้าหนีในทันที บางทีก็มีงอแง หนูไม่อยากทำ ผมไม่อยากทำ แล้วคุณพ่อคุณแม่จะทำยังไงดีล่ะทีนี้ จะให้ดุ ให้ตี หรือบังคับเขา ก็จะพาลดราม่าเปล่าๆ เผลอๆ อาจทำให้ลูกไม่ชอบทำการบ้านมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ ดังนั้น Hello คุณหมอ มีบทความดีๆ มาให้อ่าน เลยจะชวนคุณพ่อคุณแม่ มาดูวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหา ลูกไม่ยอมทำการบ้าน กันค่ะ

    สาเหตุที่ลูกไม่ยอมทำการบ้าน

    ก่อนจะไปรู้วิธีแก้ก็ต้องมาดูที่สาเหตุกันก่อนว่าทำไมนะ ลูกของเราจึงไม่ยอมทำการบ้าน เหตุผลที่ลูกไม่ชอบทำการบ้านนั่นอาจเป็นเพราะ

    • การบ้านยากเกินไป เด็กบางคนอาจไม่เข้าใจที่คุณครูสอนหรือที่เรียนมาในวันนี้ หรือทำแบบฝึกหัดในห้องก็ทำไม่ได้ จึงไม่อยากทำการบ้าน เพราะทำไม่ได้ ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี คุณแม่อาจค่อยๆ ถามแล้วค่อยๆ สอน อธิบายให้เข้าฟังอย่างใจเย็น
    • คุณครูดุ เลยขาดความมั่นใจ เด็กๆ อาจโดนดุ เมื่อทำแบบฝึกหัดในห้องเรียนไม่ได้ หรือทำช้า ไม่ทันเพื่อน การโดนคุณครูดุอาจส่งผลทำให้ลูกไม่มั่นใจในตัวเอง คิดว่าตัวเองทำไม่ได้ จนไม่อยากทำการบ้าน
    • ทำการบ้าน ไม่สนุก การออกไปเล่นกับเพื่อนๆ ดูการ์ตูนกับคุณพ่อคุณแม่ หรือทำกิจกรรมอื่นๆ น่าสนุกกว่าการทำการบ้านอยู่แล้ว ลูกๆ จึงอยากทำอย่างอื่นมากกว่าทำการบ้าน ที่ดูน่าเบื่อและดูไม่น่าสนุกเอาซะเลย
    • การบ้านเยอะเกินไป แค่เห็นการบ้านที่ต้องทำก็เกิดอาการท้อใจ เด็กๆ หลายคนคิดว่าทำไม่เสร็จแน่ๆ ยากก็ยาก เยอะก็เยอะ บางครั้งเลยเกิดอาการงอแง ไม่ยอมทำการบ้าน
    • ลูกยังทำไม่ได้ สำหรับเด็กเล็ก ทักษะบางอย่างก็ยังทำไม่ได้ในครั้งแรก ต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝน เช่น การเขียนตามรอยปะ การเขียนตัวอักษรให้อยู่ในบรรทัด หรือถ้าเป็นวัยประถม มัธยม การบ้านบางอย่างต้องใช้ทักษะ ต้องผ่านการฝึกฝน ต้องทำซ้ำๆ การที่เด็กๆ ยังทำไม่ได้เพราะไม่เคยทำมาก่อนจึงไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เมื่อมีการบ้านมาแล้วก็เหมือนเป็นการบังคับว่าต้องทำให้ได้ทันที เด็กๆ หลายคนจึงส่ายหน้าหนี ไม่อยากทำการบ้านเพราะยังทำไม่ได้
    • ลูกเป็นโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) โรคบกพร่องทางการเรียนรู้หรือ Learning Disabilities เป็นโรคที่พบได้ร้อยละ 8-10 ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี สาเหตุของโรคเกิดจากการทำงานของสมองบางส่วนบกพร่อง เช่น ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ อาการของโรคบกพร่องทางการเรียนรู้คือเด็กๆ จะเรียนรู้ช้ากว่าเพื่อนๆ ในห้อง และจะมีปัญหาเกี่ยวกับการอ่าน การเขียน การเรียนคณิตศาสตร์ หรือการเข้าใจทิศทาง ซึ่งโรคบกพร่องทางการเรียนรู้อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมทำการบ้าน

    ลูกไม่ยอมทำการบ้าน ลองวิธีนี้

  • กลับมาถึง อย่าเพิ่งทำการบ้าน ลูกเพิ่งวางกระเป๋า ถอดถุงเท้า อย่าเพิ่งให้เขาทำการบ้านในทันที แนะนำว่าให้ชวนลูกออกไปวิ่งเล่น ออกกำลังกาย เพื่อทำให้เหงื่อออก การออกกำลังกายจะทำให้เด็กๆ มีความสุข และเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ พาคุณลูกไปเล่นกีฬาก่อนแล้วค่อยกลับมาทำการบ้านก็เป็นวิธีหนึ่งที่น่าลอง
  • เปลี่ยนการบ้านให้เป็นความสนุก เพิ่มความสนุกให้การทำการบ้านได้ง่ายๆ ด้วยการเพิ่มเกมเข้าไป เช่น เกมจับฉลาก คุณพ่อคุณแม่อาจทำฉลากตัวเลขขึ้นมาให้ลูกๆ จับ กติกาคือจับได้เลขอะไร ก็ต้องทำการบ้านข้อนั้น หรือจะเปลี่ยนจากฉลากเป็นการทอยลูกเต๋า ก็สนุกไปอีกแบบ การเพิ่มเกมเข้าไป จะช่วยทำให้การทำการบ้านสนุกขึ้น และทำให้ลูกๆ สนุกกับการเรียนรู้อีกด้วย
  • ทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง เด็กๆ จะแอบเลียบแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่โดยที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ทันรู้ตัว ดังนั้น การนั่งทำงานให้ลูกเห็น หรือพูดกับเขาว่า คุณพ่อคุณแม่ก็มีการบ้านที่ต้องทำเหมือนกัน อาจทำให้เขารู้สึกว่าการบ้านไม่ใช่เรื่องน่ากลัว
  • ชวนคุณลูกสวมบทบาทเป็นคุณครู เด็กๆ หลายคนชอบการสวมบทบาทเป็นคุณครู ลองให้เขาได้เปลี่ยนจากนักเรียนผู้ที่ต้องทำการบ้าน ให้กลายเป็นครูผู้สอน ไม่แน่ลูกอาจเปลี่ยนเป็นชอบทำการบ้านไปเลยก็ได้ เนื่องจากเด็กๆ เป็นวัยที่จะเลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่ การได้สวมบทบาทเป็นคุณครูสอนการบ้าน จะทำให้เขารู้สึกสนุกกับการทำการบ้านมากขึ้น
  • พักเบรก ยิ่งโตขึ้นการบ้านก็ยิ่งเยอะ หากลูกๆ ทำการบ้านนานเกิน 30-50 นาที คุณพ่อคุณแม่ควรให้เขาหยุดพักไปทำกิจกรรมอื่น พักเล่นเกม พักกินขนม หรือพักดูการ์ตูน เพื่อไม่ให้ลูกเครียดจนเกินไป
  • ลูกไม่ยอมทำการบ้านเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ส่วนวิธีแก้ไข ถ้าคุณพ่อคุณแม่ลองมาแล้วหลายวิธีแต่ยังไม่ได้ผล แนะนำให้ลองนำเทคนิคทั้ง 5 ข้อนี้ไปใช้ ก็จะทำให้การบ้านที่น่าเบื่อกลายเป็นกิจกรรมที่ลูกๆ อาจชอบก็ได้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 30/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา