backup og meta

พัฒนาการเด็ก 22 เดือน

พัฒนาการเด็ก 22 เดือน

การติดตามพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัยอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ ระบบประสาทและสมอง ถือเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ สำหรับ พัฒนาการเด็ก 22 เดือน หรือประมาณ 2 ขวบ ซึ่งถือเป็นวัยเตาะแตะ อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่าง เช่น เริ่มพูดได้มากขึ้น เดินและวิ่งได้คล่องขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตพัฒนาการต่าง ๆ ให้ดี หากมีปัญหา หรือสังเกตได้ว่าลูกอาจมีพัฒนาการล่าช้า จะได้สามารถหาวิธีรับมือได้อย่างทันท่วงที

พัฒนาการเด็ก 22 เดือน

พัฒนาการเด็ก 22 เดือนที่อาจพบได้ เช่น

การแสดงอารมณ์ความรู้สึก

เด็กอายุ 22 เดือน อาจอยากผลักของเล่นที่มีล้อ ให้เคลื่อนไปตามทางเดิน และอาจมีความคิดเห็นมากมายในสิ่งที่อยากทำ หากคุณพ่อคุณแม่แสดงความคิดเห็นที่ต่างออกไป อาจพบปฏิกิริยาตอบสนองที่เปลี่ยนไปในทันที เช่น การขัดขืน การไม่ยอมทำในสิ่งที่แนะนำ เด็กในวัยนี้จะค่อนข้างเจ้าอารมณ์ อาจแสดงอาการหงุดหงิดเวลาไม่ได้ดั่งใจ หรือแสดงอาการดีใจเวลาได้สิ่งที่ต้องการ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ถือเป็นการแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเองของเด็กวัย 22 เดือน

การสนใจในเรื่องต่าง ๆ

เด็กวัย 22 เดือนส่วนใหญ่จะสนใจอะไรแค่ประมาณ 10 นาทีเท่านั้น และมักจะถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย นั่นอาจทำให้เด็กสนใจเรียนรู้อะไรในแต่ละครั้งได้ไม่นานนัก หากเห็นว่าลูกไม่สนใจกิจกรรมที่ทำอยู่แล้ว คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบังคับให้เด็กทำกิจกรรมนั้น ๆ ต่อ เพราะอาจทำให้เด็กหงุดหงิดได้

การรู้พัฒนาการเด็กวัย 22 เดือนในเรื่องนี้ อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับลูกวัยนี้ได้ง่ายขึ้น หากมีเหตุการณ์ใด ๆ ทำให้ลูกงอแง หรืออารมณ์ไม่ดี คุณพ่อคุณแม่อาจเบี่ยงเบนความสนใจของลูกไปที่สิ่งอื่นไม่ยากนัก เช่น อุ้มลูกออกจากบริเวณนั้น หาของเล่นให้ลูกเล่น เพียงเท่านี้ก็อาจทำให้เด็กอารมณ์ดีขึ้นได้

การกินอาหารเมนูใหม่

เด็กอายุ 22 เดือนจะเริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น และเริ่มรู้ว่าตัวเองชอบอะไรไม่ชอบอะไร นั่นอาจทำให้เด็กเลือกกิน กินยากขึ้น หรือไม่ยอมลองรับประทานอาหารเมนูใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำให้เด็กขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย และส่งผลให้น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ระบบประสาทและสมองด้อยกว่าเด็กวัยเดียวกันที่ได้รับสารอาหารครบถ้วนได้

อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกลองรับประทานอาหารเมนูใหม่ ควรเริ่มป้อนในปริมาณน้อย ๆ ก่อน และหากลูกไม่อยากรับประทานอาหารนั้น ๆ ก็ไม่ควรบังคับ อาจรอประมาณ 2-3 วันจึงค่อยให้ลูกลองรับประทานอาหารชนิดนั้นอีกครั้ง โดยอาจใช้วิธีการที่ต่างไปจากเดิม

ปัญหาสุขภาพที่ควรใส่ใจ

ปัญหาสุขภาพของเด็กวัย 22 เดือน หรือประมาณ 2 ขวบ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ เช่น

  • โรคภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง ซึ่งอาจสังเกตได้จากอาการจาม คันตา น้ำตาไหล คัดจมูก น้ำมูกไหล
  • สภาวะสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กที่ฟันกำลังงอก เช่น มีไข้อ่อน ๆ หงุดหงิด อารมณ์เสีย น้ำลายไหลจนอาจทำให้เกิดผื่นที่หน้า เหงือกบวมหรือไวต่อสิ่งกระตุ้น ปฏิเสธอาหาร มีปัญหาในการนอนหลับ

หากเด็กวัย 22 เดือนมีปัญหาสุขภาพดังกล่าว หรือมีความผิดปกติอื่น ๆ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ หรือพฤติกรรม ควรรีบปรึกษาคุณหมอ เพราะหากเด็กมีปัญหาสุขภาพ จะได้วินิจฉัยและรักษาได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

2 years. https://www.cdc.gov/ncbddd/actearly/milestones/milestones-2yr.html. Accessed October 28, 2021

BabyCenter Medical Advisory Board. Pet allergies. http://www.babycenter.com/0_pet-allergies_1227644.bc?page=3#articlesection6. Accessed date 03/06/2015.

BabyCenter Medical Advisory Board. Teething. http://www.babycenter.com/0_teething_11403.bc. Accessed date 03/06/2015.

BabyCenter Medical Advisory Board. Milestones: 13 to 24 months. http://www.babycenter.com/0_milestones-13-to-24-months_1496589.bc#articlesection3. Accessed date 03/06/2015.

Your 22-month-old: Week 1. http://www.babycenter.com/6_your-22-month-old-week-1_5926.bc. Accessed date 03/06/2015.

Your 22-month-old: Week 2. http://www.babycenter.com/6_your-22-month-old-week-2_10329464.bc. Accessed date 03/06/2015.

Your 22-month-old: Week 3. http://www.babycenter.com/6_your-22-month-old-week-3_10329465.bc. Accessed date 03/06/2015.

Your 22-month-old: Week 4. http://www.babycenter.com/6_your-22-month-old-week-4_10329466.bc. Accessed date 03/06/2015.

22-Month-Old Child. http://www.whattoexpect.com/toddler/22-month-old.aspx. Accessed date 03/06/2015.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/10/2021

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฟันซี่แรก ของลูก และข้อควรรู้สำหรับคุณพ่อคุณแม่

ลูกเลือกกิน กินยาก จะรับมือได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 28/10/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา