backup og meta

การเล่นเสริมพัฒนาการเด็กวัยเรียน ได้อย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2022

    การเล่นเสริมพัฒนาการเด็กวัยเรียน ได้อย่างไร

    การเล่นเสริมพัฒนาการเด็กวัยเรียน จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กในหลายด้านทั้งทางกายภาพและพัฒนาการทางปัญญา นอกจากนี้ การเล่นยังอาจช่วยเตรียมความพร้อมของเด็กในการเข้าสู่สังคมโรงเรียนได้อีกด้วย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเล่นเสริมสร้างพัฒนาการเด็กวันเรียน เพื่อจะได้เสริมสร้างพัฒนาการได้อย่างเหมาะสม

    การเล่นเสริมพัฒนาการเด็กวัยเรียน สำคัญอย่างไร

    เด็กวัยเรียน ในช่วงอายุ 6-9 ปี จะเริ่มมีพัฒนาการมากขึ้น การเสริมสร้างพัฒนาการในช่วงนี้การเล่นจึงอาจเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เด็กวัยเรียนพัฒนาได้หลายด้าน ดังนี้

    • การเล่นเกมที่มีกฎง่าย ๆ จะช่วยให้เด็กเรียนรู้และคุ้นเคยเกี่ยวกับกฎเกณฑ์มากขึ้น การเล่นเกมกับเพื่อนยังช่วยให้เด็กได้สร้างสัมพันธ์กับเพื่อน รู้จักการผลัดกันเล่น และประนีประนอมกันผู้อื่น
    • พัฒนาความสนใจใหม่ ๆ และงานอดิเรกผ่านการเล่น เช่น เด็กอาจจะเริ่มอ่านหนังสือในเรื่องที่สนใจมากขึ้น
    • สนุกกับความท้าทายในการเล่น เช่น การปีนต้นไม้ การปั่นจักรยานด้วยความเร็ว ความท้าทายเหล่านี้สร้างความสนุกและความตื่นเต้นให้กับเด็ก อีกทั้งสร้างทักษะทางกายภาพ การใช้กล้ามเนื้อ การทำงานประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ และสายตา ช่วยพัฒนากระบวนการแก้ปัญหา พัฒนาการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กรู้ถึงขีดจำกัดทางร่างกายและอารมณ์
    • การเล่นกับเพื่อนจะช่วยให้เด็กรู้จักการสร้างมิตรภาพไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศกัน โดยคุณพ่อคุณแม่ควรร่วมเล่นหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ กับเด็ก เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว เช่น เตะฟุตบอลในสนามหน้าบ้าน ทำอาหารร่วมกัน

    การเล่นกับเพื่อน หรือการผจญภัยที่โรงเรียนอาจเสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กวัยเรียนได้ แต่เด็กยังคงต้องการคำแนะนำและความช่วยเหลือจากคุณพ่อคุณแม่ เพื่อช่วยจัดการกับความกังวลต่าง ๆ การเล่นกับเด็กอาจเป็นช่องทางในการสื่อสารที่ดี

    การเล่นกับพัฒนาการทางปัญญาในวัยเรียน

    การเล่นนอกจากจะให้ประโยชน์ทางกายภาพแล้วยังช่วยพัฒนาความรู้ความเข้าใจของเด็กวัยเรียน ในเรื่องของความสามารถในการคิด เข้าใจ สื่อสาร จดจำ จิตนาการ และการคาดเดา เพราะการเล่นอาจช่วยให้เด็กสามารถแก้ปัญหา สร้าง ทดลอง คิด และเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

    นอกจากการเล่นกับเพื่อนหรือที่โรงเรียนแล้ว การเล่นกับคุณพ่อคุณแม่ที่บ้านยังอาจช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น และเป็นการเตรียมพร้อมเริ่มต้นการเรียนรู้ เตรียมรับมือกับกิจวัตรใหม่ ๆ และหาเพื่อนใหม่ด้วย เนื่องจาก คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือสามารถฝึกฝนให้เด็กเริ่มเรียนรู้ก่อนเข้าสู่สังคมในโรงเรียน

    เมื่อเด็กมีพัฒนาการทางปัญญาจะทำให้เด็กวัยเรียนสามารถซึมซับข้อมูลใหม่ได้อย่างรวดเร็ว มีความตื่นเต้นกับการเรียนรู้ และสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กในหลายด้าน เช่น

    • เด็กจะรู้สึกสนุกกับการรวบรวมการ์ด หรือสนุกกับการจัดกลุ่มสิ่งของ
    • สามารถอ่านหนังสือเองได้ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ
    • สามารถบอกเวลาได้ตั้งแต่อายุ 7-8 ขวบ
    • รู้ทิศทางซ้าย-ขวา
    • ตื่นเต้นกับการทดลองวิทยาศาสตร์
    • สามารถเข้าใจการสื่อสารหากมีการให้เหตุผล
    • เรียนรู้การทำตามกฎหรือเล่นเกมอย่างยุติธรรม
    • รู้จักคิดก่อนทำ และขออนุญาตก่อนทำ

    การเล่นเสริมพัฒนาการเด็กวัยเรียน มีอะไรบ้าง

    การเล่นเสริมพัฒนาการเด็กวัยเรียนที่สามารถส่งเสริมการคิดและการเรียนรู้ อาจมีดังนี้

    • เล่นเกมกับเพื่อน เช่น เกมกระดาน ปริศนาอักษรไขว้ง่าย ๆ เกมค้นหาคำ เกมไพ่
    • คุณสามารถสร้างเกมปริศนาให้เด็กสามารถทำงานร่วมกับการแก้ไขปริศนาไปด้วย
    • อ่านหนังสือ ร้องเพลง เล่าเรื่องตลก คิดคำคล้องจอง
    • สร้างเกมขึ้นใหม่หรือสร้างเกมจากกล่องกระดาษ
    • ทำอาหารด้วยกันโดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำอาหาร
    • วางแผนกิจกรรมให้เด็ก เช่น เขียนรายการซื้อของให้เด็กค้นหา
    • พาเด็กไปสถานที่เรียนรู้ใหม่ ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์
    • เล่นเกมกลางแจ้ง เช่น ฟุตบอล วิ่งเล่น

    การเล่นอย่างอิสระไร้กฎเกณฑ์ หรือปล่อยให้เด็กคิด ตัดสินใจเองว่าต้องการจะทำอะไรใน 1 วันก็สามารถทำได้ เช่น

  • ปล่อยให้เด็กจินตนาการ หรือเล่นตามความสนใจโดยไม่ต้องคำนึงถึงกฎ
  • ให้เด็กมีความคิดอย่างอิสระและสร้างสรรค์
  • ให้เลือกกิจกรรมตามอารมณ์ เช่น เด็กรู้สึกอยากใช้พลัง ก็สามารถเลือกเล่นด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • ในปัจจุบันเทคโนโลยีจำพวกโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเล่นได้ แต่ต้องควบคุมให้อยู่ในความเหมาะสมและคุณพ่อคุณแม่อาจเลือกสิ่งที่จะให้ประโยชน์กับเด็กมากที่สุด เช่น

    • เลือกแอปพลิเคชัน เกม หรืออื่น ๆ ที่เหมาะสมกับวัย
    • ร่วมเล่นกับเด็กด้วย
    • สร้างกฎเพื่อจัดการเวลาในการเล่น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา