backup og meta

Amoxicillin (อะม็อกซีซิลลิน) ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

Amoxicillin (อะม็อกซีซิลลิน) ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

Amoxicillin (อะม็อกซีซิลลิน) คือ ยาปฏิชีวนะชนิดเพนิซิลลิน (penicillin) ที่ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย ออกฤทธิ์ โดยหยุดยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แต่จะไม่ออกฤทธิ์สำหรับรักษาในกรณีติดเชื้อไวรัส

[embed-health-tool-bmi]

ข้อบ่งใช้

อะม็อกซีซิลลิน ใช้สำหรับ

อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) คือ ยาปฏิชีวนะชนิดเพนิซิลลิน (penicillin) เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย ออกฤทธิ์ โดยหยุดยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แต่จะไม่ออกฤทธิ์สำหรับรักษาในกรณีติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดทั่วไป ไข้หวัดใหญ่ อีกทั้งยานี้ยังสามารถใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้จากเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (bacteria H. pylori) ได้อีกด้วย

วิธีการใช้ยา อะม็อกซีซิลลิน

  • สามารถรับประทานยานี้พร้อมอาหาร หรือไม่ก็ได้ ตามแพทย์กำหนด ทุก ๆ 8 ถึง 12 ชั่วโมง
  •  ขนาดยานั้นขึ้นอยู่กับอาการ ช่วงอายุ และการตอบสนองของสุขภาพต่อการรักษา
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอระหว่างใช้ยานี้
  • ยาปฏิชีวนะจะออกฤทธิ์ได้ดี เมื่อปริมาณยาในร่างกายอยู่ในระดับคงที่ ดังนั้น โปรดรับประทานยาในเวลาที่ห่างเท่า ๆ กัน เพื่อช่วยเตือนความจำ หรือรับประทานในเวลาเดียวกันของแต่ละวัน
  • ไม่ควรหยุดยา เพิ่ม และลดขนาดยาเอง จนกว่าจะได้รับการอนุญาตจากแพทย์
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากยังคงมีอาการหรืออาการแย่ลง

วิธีการเก็บรักษายา อะม็อกซีซิลลิน

  • ยาอะม็อกซีซิลลิน ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง และหลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
  • ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำ หรือช่องแช่แข็ง
  • ไม่ควรทิ้งยาอะม็อกซีซิลลินลงในชักโครก หรือในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง
  • เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็ก และสัตว์เลี้ยง

ยาอะม็อกซีซิลลิน บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน หากคุณมีข้อกังวล หรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้จากเภสัชกร และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งได้ในทันที

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ Amoxicillin

ก่อนใช้ ยาอะม็อกซีซิลลิน

  • ควรแจ้งแพทย์ หรือเภสัชกร ให้ทราบหากคุณมีอาการแพ้ยาในกลุ่มอะม็อกซีซิลลิน ยาเพนิซิลลิน ยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins) หรือยาอื่น ๆ
  • โปรดระบุสมุนไพร อาหารเสริมที่คุณกำลังใช้ รวมถึงสภาวะโรคประจำตัวให้แพทย์ทราบ โดยเฉพาะกับผู้ที่เป็นโรคต้อหิน และสตรีกำลังตั้งครรภ์
  • แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาที่คุณกำลังใช้อยู่ร่วมไม่ว่าจะเป็นยาที่แพทย์กำหนด หรือยาตามร้านขายยา เช่น วิตามิน ยาคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ยาคลอโรมัยเซติน (Chloromycetin) ยาโพรเบเนซิด (Probenecid) หรือยาเบเนมิด (Benemid)
  • หากคุณเคยเป็นโรคไต ภูมิแพ้ หอบหืด ไข้ละอองฟาง โรคลมพิษ หรือโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) อาจต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาอะม็อกซีซิลลิน

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ก่อนใช้ยาอะม็อกซีซิลลิน จากอ้างอิงจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ยานี้จัดเป็นยากลุ่มเสี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ประเภท B

ต่อไปนี้คือประเภทความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา

  • A = ไม่เสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในงานวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจมีความเสี่ยงบางอย่าง
  • D = พบหลักฐานเกี่ยวกับความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ Amoxicillin

แจ้งให้แพทย์ทราบทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น

  • มีรอยด่างขาว แผลเปื่อยภายในปาก หรือบนริมฝีปาก
  • เป็นไข้ ผื่นคัน ข้อต่อบวม
  • ลมพิษ
  • มีปัญหาในการหายใจ
  • ใบหน้า ลิ้น หรือคอบวม
  • ผิวซีดหรือเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเป็นสีเข้ม
  • ร่างกายอ่อนแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • เลือดออกทางจมูก ปาก ช่องคลอด หรือทวารหนักผิดปกติ
  • รอยฟกช้ำม่วง หรือแดงใต้ผิวหนัง
  • อาการแพ้ทางผิวหนัง

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่าอาจรวมถึง

ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้หลังจากการใช้ ยาอะม็อกซีซิลลิน อาจมีผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาอะม็อกซีซิลลิน อาจมีปฏิกิริยากับยาอื่น ๆ ที่คุณกำลังใช้ร่วมด้วย โดยอาจเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการมีปฏิกิริยาดังกล่าว ควรแจ้งรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้ให้แพทย์ทราบ ไม่ว่าจะเป็นยาที่ได้รับคำสั่งจากทางแพทย์ ยาที่หาซื้อเองโดยการจำหน่ายทางเภสัชกร ดังนี้

  • ยาอะคริวาสตีน (Acrivastine)
  • ยาบูโพรพิออน (Bupropion)
  • ยาคลอร์เตตระไซคลีน (Chlortetracycline)
  • ยาเดเมโคลไซคลีน (Demeclocycline)
  • ยาด็อกซีไซคลีน (Doxycycline)
  • ยาไลมีไซคลีน (Lymecycline)
  • ยาเมโคลไซคลีน (Meclocycline)
  • ยาเมทาไซคลีน (Methacycline)
  • ยาเมโทเทรกเซต (Methotrexate)
  • ยาไมโนไซคลีน (Minocycline)
  • ยาออกซีเตตระไซคลีน (Oxytetracycline)
  • ยารอลิเตตระไซคลีน (Rolitetracycline)
  • าเตตระไซคลีน (etracycline)
  • ยาเวนลาฟาซีน (Venlafaxine)
  • ยาวาร์ฟาริน (Warfarin)
  • ยาอะซีโนคูมารอล (Acenocoumarol)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาอะม็อกซีซิลลิน อาจอาจทำปฏิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาอะม็อกซีซิลลิน อาจส่งผลให้อาการโรคต่าง ๆ เหล่านี้ ของคุณแย่ลง เช่น อาการแพ้ยาปฏิชีวนะชนิดเพนิซิลลิน (penicillins) เซฟาโลสปอริน (cephalosporin) โรคติดเชื้อ โรคไตขั้นรุนแรง โรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับความบกพร่องของระบบเผาผลาญ เป็นต้น

ขนาดยา Amoxicillin

ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณก่อนที่จะใช้ ยาอะม็อกซีซิลลิน

ขนาดยาอะม็อกซีซิลลินสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาอาการติดเชื้อแอคตีโนไมโคสิส (Actinomycosis)

  • รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน หรือ 875 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน

ขนาดยาทั่วไปสำหรับป้องกันการติดเชื้อแอนแทรกซ์ (Anthrax)

  • รับประทานยาครั้งละ 500 มิลลิกรัมทุก ๆ 8 ชั่วโมง

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาอาการติดเชื้อบาซิลลัสแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง (Cutaneous Bacillus anthracis)

  • รับประทานยาครั้งละ 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน

ขนาดยาทั่วไปสำหรับป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียเอนโดคาร์ดิติส (Bacterial Endocarditis)

  • รับประทานยาครั้งละ 2 กรัม ก่อนเข้ารับการรักษา 1 ชั่วโมง

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาอาการติดเชื้อหนองในเทียม

  • ครั้งละ 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • รับประทานยา ครั้งละ 250 ถึง 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 3-7 วัน หรือรับประทานยา ครั้งละ 500 ถึง 875 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาอาการติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ

  • รับประทานยา ครั้งละ 250 ถึง 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 3-7 วัน หรือรับประทานยา ครั้งละ 500 ถึง 875 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาอาการติดเชื้อเอชไพโรไล (Helicobacter pylori)

  • รับประทานยา ครั้งละ 1 กรัม 2 ถึง 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 14 วัน

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาโรคไลม์ (Lyme Disease) ชนิดข้ออักเสบ

  • รับประทานยา ครั้งละ 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 14-30 วัน

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาโรคไลม์ชนิดหัวใจอักเสบ

  • รับประทานยา ครั้งละ 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 14-30 วัน

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาโรคไลม์ชนิดเป็นผื่นและปวดศีรษะแบบไมเกรน (Erythema Chronicum Migrans)

  • รับประทานยา ครั้งละ 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 14-30 วัน

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาโรคไลม์ชนิดเป็นที่ระบบประสาท

  • รับประทานยา ครั้งละ 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 14-30 วัน

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาโรคหูชั้นกลางอักเสบ

  • รับประทานยา ครั้งละ 250 ถึง 500 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 10 ถึง 14 วัน หรือครั้งละ 500 ถึง 875 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาโรคปอดบวม

  • รับประทานยา ครั้งละ 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันหรือ ครั้งละ 875 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาโรคโพรงจมูกอักเสบ

  • รับประทานยา ครั้งละ 250 ถึง 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 10 ถึง 14 วันหรือ ครั้งละ 500 ถึง 875 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาอาการติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่ออ่อน

  • รับประทานยา ครั้งละ 250 ถึง 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 7 ถึง 10 วันหรือ ครั้งละ 500 ถึง 875 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาอาการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ

  • รับประทานยา ครั้งละ 250 ถึง 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 7 ถึง 10 วันหรือ ครั้งละ 500 ถึง 875 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาโรคหลอดลมอักเสบ

  • รับประทานยา ครั้งละ 250 ถึง 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 7 ถึง 10 วันหรือ ครั้งละ 500 ถึง 875 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาภาวะต่อมทอนซิล

  • ชนิดออกฤทธิ์ทันที: รับประทานยา ครั้งละ 250 ถึง 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 7-10 วัน หรือครั้งละ 500 ถึง 875 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน
  • ชนิดออกฤทธิ์เป็นระยะเวลานาน : รับประทานยา ครั้งละ 775 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน ภายใน 1 ชั่วโมง หลังอาหารเป็นเวลา 10 วัน สำหรับอาการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัสไพโอจีน (Streptococcus pyogenes)

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย

  • รับประทานยา ครั้งละ 250 ถึง 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 7-21 วันหรือ ครั้งละ 500 ถึง 875 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน

ขนาดยาอะม็อกซีซิลลินสำหรับเด็ก

ขนาดยาทั่วไปสำหรับป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียเอนโดคาร์ดิติส

  • รับประทานยา 50 มิลลิกรัม ภายใน 1 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการรักษา

ขนาดยาทั่วไปสำหรับป้องกันการติดเชื้อแอนแทรกซ์

  • รับประทานยา 80 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็นขนาดยาที่เท่ากันในแต่ละครั้งทุก ๆ 8 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด: 500 มิลลิกรัม ต่อครั้ง

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาอาการติดเชื้อบาซิลลัสแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง

  • การรักษาการยืนยันอาการติดเชื้อบาซิลลัสแอนเทรกซ์ที่ผิวหนัง : รับประทานยา 80 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็นขนาดยาที่เท่ากันในแต่ละครั้งทุก ๆ 8 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสูงสุด: 500 มิลลิกรัม ต่อครั้ง

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาโรคหูชั้นกลางอักเสบ

  • 4 สัปดาห์ถึง 3 เดือน : 20 ถึง 30 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็นขนาดยาเท่า ๆ กันทุก 12 ชั่วโมง
  • 4 เดือนถึง 12 ปี: 20 ถึง 50 มิลลิกรัม ต่อวัน โดยแบ่งเป็นขนาดยาเท่า ๆ กันทุก 8-12 ชั่วโมง
  • โรคหูชั้นกลางอักเสบฉับพลันจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัสนิวโมเนียที่ดื้อยา (Streptococcus pneumonia) อาจจำเป็นต้องใช้ขนาดยา 80 ถึง 90 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็น 2 ครั้งในขนาดยาเท่า ๆ กันในแต่ละช่วง 12 ชั่วโมง

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาอาการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออ่อน

  • 4 สัปดาห์ถึง 3 เดือน : 20 ถึง 30 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็นขนาดยาเท่า ๆ กันทุก 12 ชั่วโมง
  • 4 เดือนถึง 12 ปี : 20 ถึง 50 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็นขนาดยาเท่า ๆ  กันทุก 8 ถึง 12 ชั่วโมง

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาอาการติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ

  • 4 สัปดาห์ถึง 3 เดือน: 20 ถึง 30 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็นขนาดยาเท่า ๆ  กันทุก 12 ชั่วโมง
  • 4 เดือนถึง 12 ปี: 20 ถึง 50 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็นขนาดยาเท่า ๆ  กันทุก 8 ถึง 12 ชั่วโมง

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาโรคปอดบวม

  • รับประทานยา 40 ถึง 50 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็นหลายขนาดยาในทุก 8 ชั่วโมง

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาภาวะต่อมทอนซิลหรือคอหอยอักเสบ

  • 4 สัปดาห์ถึง 3 เดือน: 20 ถึง 30 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็นขนาดยาเท่าๆ กันทุก 12 ชั่วโมง
  • 4 เดือนถึง 12 ปี: 20 ถึง 50 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็นขนาดยาเท่าๆ กันทุก 8 ถึง 12 ชั่วโมง
  • ชนิดออกฤทธิ์ทันที : รับประทานยาครั้งละ 250 ถึง 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 7 ถึง 10 วันหรือ ครั้งละ 500 ถึง 875 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน
  • ชนิดออกฤทธิ์นาน : รับประทานยา ครั้งละ 775 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวันภายใน 1 ชั่วโมงหลังอาหาร เป็นเวลา 10 วัน สำหรับอาการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัสไพโอจีนเป็นครั้งที่สอง

รูปแบบของยา

ยาอะม็อกซีซิลลินมีรูปแบบดังต่อไปนี้

  • ยาอะม็อกซีซิลลิน รูปแบบยาเม็ด

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Amoxicillin https://www.drugs.com/amoxicillin.html. Accessed July 7, 2016.

Amoxicillin http://www.webmd.com/drugs/2/drug-1531/amoxicillin-oral. Accessed July 7, 2016.

Amoxicillin. https://www.drugbank.ca/drugs/DB01060. Accessed 26 November 2019

Amoxicillin. https://www.nhs.uk/medicines/amoxicillin/. Accessed June 28, 2023

Amoxicillin. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a685001.html. Accessed June 28, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/06/2023

เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่องคลอด ติดเชื้อแบคทีเรีย อาการ และภาวะแทรกซ้อน

แบคทีเรียในช่องคลอด สาเหตุของภาวะช่องคลอดอักเสบ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 28/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา