backup og meta

โคเดอีน (Codeine) ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

โคเดอีน (Codeine) ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

โคเดอีน  (Codeine) ใช้เพื่อรักษาอาการปวดระดับเบาถึงระดับรุนแรงปานกลาง โคเดอีน เป็นยาแก้ปวดและ โคเดอีน เป็นยาในกลุ่มยาโอปิออยด์ (opioid pain medication) ซึ่งในบางครั้งยาโอปิออยด์จะถูกเรียกว่า เป็นยาเสพติด (narcotic)

[embed-health-tool-bmi]

ข้อบ่งใช้

ยา โคเดอีน ใช้สำหรับ

ยา โคเดอีน  (Codeine) ใช้เพื่อรักษาอาการปวดระดับเบาถึงระดับรุนแรงปานกลาง โคเดอีน เป็นยาแก้ปวดและ โคเดอีน เป็นยาในกลุ่มยาโอปิออยด์ (opioid pain medication) ซึ่งในบางครั้งยาโอปิออยด์จะถูกเรียกว่า เป็นยาเสพติด (narcotic)

วิธีใช้ยาโคเดอีน

ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด ยาโคเดอีนสามารถชะลอหรือหยุดการหายใจของคุณได้ ไม่ควรใช้ยาโคเดอีนในขนาดมากกว่าหรือนานกว่าที่กำหนด หากดูเหมือนยาโคเดอีนจะใช้บรรเทาอาการปวดของคุณไม่ได้ผล ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

ยาโคเดอีนอาจจะเสพติดได้ แม้จะใช้ในขนาดยาปกติ ห้ามแบ่งปันยานี้กับผู้อื่น โดยเฉพาะกับผู้ที่มีประวัติการติดยาเสพติด การใช้ยาแก้ปวดแบบเสพติด (Narcotic Medicine) อย่างไม่เหมาะสม สามารถนำไปสู่การเสพหรือใช้ยาเกินขนาด จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกับเด็กหรือผู้ที่ใช้ยาโดยไม่มีใบสั่งจากแพทย์ ในประเทศไทยโคเดอีนจัดเป็นยาเสพติดให้โทษทั่วไปประเภทที่ 2

รับประทานยาโคเดอีนคู่กับอาหารหรือนม เพื่อป้องกันอาการท้องไส้ปั่นป่วน

วัดขนาดของยาน้ำด้วยช้อนตวงแบบพิเศษ หรือถ้วยตวงยา หากคุณไม่มีเครื่องมือสำหรับตวง ควรถามจากเภสัชกร

ดื่มน้ำ 6-8 แก้วต่อวัน เพื่อป้องกันอาการท้องผูกขณะใช้ยาโคเดอีน ห้ามใช้ยาระบาย (laxative) โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

หากใช้ยาโคเดอีนติดต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน ห้ามหยุดใช้ยาในทันทีเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นอาจเกิดอาการถอนยาที่ไม่พึงประสงค์ได้ สอบถามแพทย์เกี่ยวกับวิธีการหลีกเลี่ยงอาการถอนยาเมื่อคุณหยุดใช้ยานี้

ควรเก็บยาโคเดอีนในอุณหภูมิห้อง ให้พ้นจากความชื้นและความร้อน

คอยนับปริมาณของยาที่ใช้ไปจากยาขวดใหม่แต่ละขวด ยาโคเดอีนเป็นยาเสพติด และคุณควรจะทราบหากมีใครใช้ยาของคุณอย่างไม่เหมาะสมหรือใช้โดยไม่มีใบสั่งยา

หลังจากที่คุณหยุดใช้ยาตัวนี้ ควรทิ้งยาที่ไม่ได้ใช้ลงในชักโครก การกำจัดยานี้โดยการทิ้งลงในชักโครกเป็นเรื่องที่แนะนำ เพื่อลดอันตรายจากการเผลอใช้ยาเกินขนาดจนถึงแก่ชีวิต คำแนะนำนี้ใช้สำหรับการใช้ยาในปริมาณน้อยเท่านั้น

การเก็บรักษายาโคเดอีน

ยาโคเดอีนควรเก็บควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาโคเดอีนบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยาโคเดอีนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาโคเดอีน

ในขณะที่กำลังตัดสินใจใช้ยานี้ คุณและแพทย์ควรพิจารณาความเสี่ยงและประโยชน์ของยาให้ถี่ถ้วน

สำหรับยาโคเดอีน ควรพิจารณาดังต่อไปนี้

การแพ้

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีอาการผิดปกติหรือเกิดอาการแพ้ใดๆกับยานี้หรือยาชนิดอื่น หรือหากคุณมีอาการแพ้ใดๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด แพ้สัตว์ สำหรับยาที่หาซื้อได้เอง ควรอ่านฉลากยาหรือส่วนประกอบให้ละเอียด

เด็ก

ยังไม่มีงานวิจัยที่เหมาะสมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอายุ กับประสิทธิภาพของยาโคเดอีนสำหรับกลุ่มประชากรที่เป็นเด็ก ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพ

ผู้สูงอายุ

ยังไม่มีงานวิจัยที่เหมาะสมที่พิสูจน์ปัญหาที่เกี่ยวกับผู้สุงอายุ โดยเฉพาะที่จะจำกัดประสิทธิภาพของยาโคเดอีน อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุมักจะเกิดอาการสับสน ง่วงซึม โรคตับ โรคไต หรือโรคหัวใจที่เกี่ยวข้องกับอายุ ทำให้ต้องการความระมัดระวัง และการปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาโคเดอีน

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงก่อนใช้ยานี้

ยาโคเดอีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา มีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาโคเดอีน

เข้ารับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีอาการแพ้ ได้แก่ เกิดลมพิษ หายใจติดขัด มีอาการบวมที่ใบหน้า  หรือลำคอ

เข้ารับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากเด็กที่ใช้ยาตัวนี้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ได้แก่ หายใจมีเสียงดัง หายใจช้า มีช่วงการหยุดหายใจนาน ง่วงผิดปกติ หรือตื่นได้ยาก ริมฝีปากเขียว

แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรง ดังนี้

  • หัวใจเต้นช้า ชีพจรอ่อน หมดสติ หายใจไม่อิ่ม
  • รู้สึกเหมือนจะหมดสติ
  • สับสน กระสับกระส่าย เห็นภาพหลอน มีความคิดหรือพฤติกรรมที่ไม่ปกติ
  • รู้สึกมีความสุขมากหรือเศร้ามาก
  • มีอาการชัก
  • การปัสสาวะมีปัญหา

ผลค้างเคียงที่รุนแรงน้อยลงมา ได้แก่

  • รู้สึกวิงเวียนหรือง่วงซึม
  • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
  • ท้องผูก
  • เหงื่อออก
  • คันเล็กน้อย หรือมีผดผื่น

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาโคเดอีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

การใช้ยาเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงบางอย่าง แต่การใช้ยาทั้งคู่อาจจะเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด หากคุณได้รับใบสั่งยานี้ร่วมกัน แพทย์อาจจะปรับขนาดยา หรือความถี่ในการใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งของคุณ

  • อัลเฟนทานิล (Alfentanil) อัลปราโซแลม (Alprazolam) แอนิเลริดีน (Anileridine)
  • บาโคลเฟน (Baclofen) โบรมาซีแพม (Bromazepam) บิวพรีนอร์ฟีน (Buprenorphine) บูโพรพิออน (Bupropion) บิวทอลบิทอล (Butalbital) บิวทอร์พานอล (Butorphanol)
  • คาร์บินอกซาไมน์ (Carbinoxamine) คาริโซโพรดอล (Carisoprodol) คลอรอล ไฮเดรต (Chloral Hydrate) คลอไดอะซิปอกไซด์ (Chlordiazepoxide) คลอร์ซอกซ์เซโซน (Chlorzoxazone)
  • โคลบาแซม (Clobazam) โคลนาซีแพม (Clonazepam) คลอราซีเพท (Clorazepate)
  • แดนโทรลีน (Dantrolene) เดโซซีน (Dezocine) ไดอะซีแพม (Diazepam)
  • เอสตาโซแลม (Estazolam) เอธคลอร์ไวนอล (Ethchlorvynol)
  • เฟนทานิล (Fentanyl) ฟลูไนตราซีแพม (Flunitrazepam) ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) ฟลูราซีแพม (Flurazepam)
  • ฮาราเซแพม (Halazepam) ไฮโดรโคโดน (Hydrocodone) ไฮโดรมอร์โฟน (Hydromorphone)
  • คีตาโซแลม (Ketazolam)
  • เลวอร์ฟานอล (Levorphanol) ไลโปโซม (Liposome) ลอราซีแพม (Lorazepam) ลอร์เมทาเซแพม (Lormetazepam)
  • มีไคลซีน (Meclizine) เมดาเซแพม (Medazepam) เมเพอริดีน (Meperidine) เมเฟเนซิน (Mephenesin) เมโฟบราบิทอล (Mephobarbital) เมโฟรบาเมต (Meprobamate) เมพเทซินอล (Meptazinol)
  • เมตาซาโลน (Metaxalone) เมทาโดน (Methadone) เมโทคาร์บามอล (Methocarbamol) เมโธเฮกซิทาล (Methohexital) มิดาโซแลม (Midazolam) มอร์ฟีน (Morphine) มอร์ฟีนซัลเฟต (Morphine Sulfate)
  • นาลบูฟีน (Nalbuphine) ไนตราซีแพม (Nitrazepam)
  • ฝิ่น (Opium)
  • ออเฟเนดรีน (Orphenadrine) ออกซาซีแพม (Oxazepam) ออกซิโคโดน (Oxycodone) ออกซิมอร์โฟน (Oxymorphone)
  • เพนตาโซซีน (Pentazocine) พราเซแพม (Prazepam) โพรพอกซิฟีน (Propoxyphene)
  • ควอเซแพม (Quazepam)
  • รีมิเฟนทานิล (Remifentanil)
  • โซเดียมออกซีเบต (Sodium Oxybate) ซูเฟนทานิล (Sufentanil) ซูโวเรกซ์เซนท์ (Suvorexant) ทาเพนทาดอล (Tapentadol) เทมาซีแพม (Temazepam) ทิซานิดีน (Tizanidine) ไตรอาโซแลม (Triazolam)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาโคเดอีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาโคเดอีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะโรคต่อไปนี้

  • โรคแอดดิสัน (Addison’s disease) ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมหมวกไตชนิดหนึ่ง
  • เคยมีประวัติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหรือปอด เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease) โรคหัวใจเพราะปอด (cor pulmonale) ภาวะขาดออกซิเจน (hypoxia)
  • ระบบประสาทกลางถูกกด (CNS depression)
  • การติดยา โดยเฉพาะการติดยาแก้ปวด หรือเคยมีประวัติการติดยา
  • ต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia หรือ BPH)
  • ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism)
  • กระดูกสันหลังคด (Kyphoscoliosis) ที่สามารถส่งผลให้เกิดปัญหากับการหายใจได้
  • มีอาการป่วยทางจิตป่วยทางจิต
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ ควรใช้อย่างระมัดระวัง เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเพิ่มขึ้น
  • เนื้องอกที่สมอง
  • บาดเจ็บที่ศีรษะ
  • ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ผลข้างเคียงบางอย่างของยาโคเดอีน สามารถทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงกับผู้ที่มีอาการนี้
  • ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ เช่น หอบหืด (asthma) มีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือดมาก (hypercapnia) จะมีปฏิกิริยารุนแรง
  • ภาวะลำไส้ไม่เคลื่อนไหว (Paralytic ileus) หรือลำไส้อุดตัน
  • การกดการหายใจ (Respiratory depression) เช่น ภาวะหายใจช้า (hypoventilation) ไม่ควรใช้ยากับผู้ที่มีอาการนี้
  • ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
  • ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
  • เคยเกิดอาการชัก ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้อาการนี้แย่ลงได้
  • โรคไต
  • โรคตับ ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง ประสิทธิภาพอาจเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากกำจัดยาออกจากร่างกายได้ช้า
  • ปัญหาที่กระเพาะอาหารหรือระบบย่อยอาหาร ยาตัวนี้อาจไปบดบังการวินิจฉัยโรคนี้ได้

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาโคเดอีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการไอ

ขนาดยาเริ่มต้น : 15 มก. รับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น

อาจปรับขนาดยาได้มากถึง 20 มก. ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 120 มก./วัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการปวด

ขนาดยาเริ่มต้น : 30 มก. รับประทาน หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทุกๆ 6 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น

อาจปรับขนาดยาได้เพื่อให้ได้ผลของยาแก้ปวดเท่าที่ต้องการ

ขนาดยาได้สูงสุด : 60 มก. รับประทาน หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้สูงอายุเพื่อรักษาอาการไอ

ขนาดยาเริ่มต้น : 10 มก. รับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น

อาจปรับขนาดยาด้วยความระมัดระวังได้มากถึง 20 มก. ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 120 มก./วัน

ขนาดยาสำหรับผู้สูงอายุเพื่อรักษาอาการปวด

ขนาดยาเริ่มต้น : 15 มก. รับประทาน หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทุกๆ 6 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น

อาจปรับขนาดยาได้เพื่อให้ได้ผลของยาแก้ปวดเท่าที่ต้องการ

ขนาดยาสูงสุด : 60 มก. รับประทาน หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาโคเดอีนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการไอ

อายุ 2 ถึง 6 ปี : 2.5 ถึง 5 มก. รับประทานทุกๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 30 มก./วัน

อายุ 6 ถึง 12 ปี : 5 ถึง 10 มก. รับประทานทุกๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 60 มก./วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการปวด

อายุ 1 ปีขึ้นไป : 0.5 มก./กก. หรือ 15 มก./ตร.ม. รับประทาน หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทุกๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น

รูปแบบของยาโคเดอีน

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาผง
  • ยาเม็ด 15 มก. 30 มก. 60 มก.
  • ยาฉีด 15 มก./มิลลิลิตร 30 มก./มิลลิลิตร 60 มก./มิลลิลิตร 600-1200 มก./มิลลิลิตร
  • ยาน้ำใส 3-15มก./ 5 มิลลิลิตร

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

อาการของการใช้ยาเกินขนาดมีดังนี้

  • หายใจติดขัด
  • ง่วงซึมอย่างรุนแรง
  • หมดสติ
  • สูญเสียความตึงตัว ของกล้ามเนื้อ
  • ผิวเย็นชื้น
  • หน้ามืด
  • วิงเวียน
  • หัวใจเต้นช้า

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Codeine oral. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-8198/codeine- oral/details. Accessed July 16, 2016.

Codeine oral route. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/codeine- oral-route/description/drg-20074022. Accessed July 16, 2016.

Codeine. https://www.drugs.com/codeine.html. Accessed July 16, 2016.

Codeine. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682065.html. Accessed October 10, 2023.

Codeine. https://www.healthdirect.gov.au/codeine#:~:text=Codeine%20is%20an%20opioid%20pain,due%20an%20inherited%20genetic%20difference.. Accessed October 10, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/10/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้ปวดและแก้อักเสบ "มีลอกซิแคม" ช่วยอะไรคุณได้บ้าง

วิธีแก้ปวดหลัง จะปวดหลังเฉียบพลันหรือปวดหลังเรื้อรัง ก็รักษาได้


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/10/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา