backup og meta

ซีลีเนียม (Selenium)

ซีลีเนียม (Selenium)

การใช้ประโยชน์ ซีลีเนียม

ซีลีเนียม ใช้สำหรับ

ซีลีเนียม (Selenium) เป็นแร่ธาตุที่มีประโยน์ต่อร่างกาย ใช้สำหรับรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ รวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด (atherosclerosis) เคยมีการใช้ซีลีเนียมเพื่อป้องกันโรคมะเร็งต่างๆ รวมทั้ง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด และมะเร็งผิวหนัง

บางคนใช้ ซีลีเนียม สำหรับรักษาอาการข้อเสื่อม (osteoarthritis) โรคข้อรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) และโรคเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม (macular degeneration) ไข้ละอองฟาง (hay fever) ภาวะมีบุตรยาก (infertility) ต้อกระจก (cataracts) ผมหงอก ความผิดปกติที่เซลล์ปากมดลูก (abnormal pap smears) อาการล้าเรื้อรัง (chronic fatigue syndrome) ความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorders) พิษจากสารหนู (arsenic poisoning) และป้องกันการแท้งบุตร

ซีลีเนียมยังถูกใช้เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง และการเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยขั้นรุนแรง เช่น อาการบาดเจ็บที่ศีรษะและแผลไฟไหม้ ทั้งยังใช้เพื่อป้องกันไข้หวัดนก รักษาโรคเอดส์ (HIV) และลดผลข้างเคียงจากเคมีบำบัดรักษามะเร็ง

การทำงานของซีลีเนียมเป็นอย่างไร

ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของซีลีเนียมที่มากพอ โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันดีว่าซีลีเนียมนั้นมีความสำคัญต่อการทำงานของกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย เพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งอาจจะเพิ่มการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ ซีลีเนียม

ควรปรึกษากับแพทย์, เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้ :

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรเนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • มีอาการแพ้สารใดๆที่มีสารประกอบของซีลีเนียมผสมอยู่ หรือยาและสมุนไพรอื่นๆ
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน
  • มีอาการแพ้ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนเสมอ

ซีลีเนียมมีความปลอดภัยแค่ไหน

ซีลีเนียมมีแนวโน้มที่จะปลอดภัย หากรับประทานในปริมาณที่น้อยกว่า 400 ไมโครกรัมต่อวัน ในระยะสั้น

ซีลีเนียมอาจไม่ปลอดภัย หากรับประทานในปริมาณที่มาก หรือรับประทานในระยะยาว การรับประทานในปริมาณที่มากกว่า 400 ไมโครกรัม อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นพิษของซีลีเนียม การรับประทานในขนาดต่ำในระยะยาว อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้

การใช้ซีลีเนียมสำหรับเด็ก

ซีลีเนียมมีแนวโน้มว่าจะปลอดภัย หากรับประทานได้อย่างเหมาะสม ในแต่ละวัยสามารถรับประทานได้ในปริมาณ ดังนี้

  • เด็กที่อายุไม่เกิน 6 เดือน คือ ต่ำกว่า 45 ไมโครกรัมต่อวัน
  • เด็กที่อายุ 7 ถึง 12 เดือน คือ 60 ไมโครกรัมต่อวัน
  • เด็กที่อายุ 1-3 ปี คือ 90 ไมโครกรัมต่อวัน
  • เด็กที่อายุ 4-8 ปี คือ 150 ไมโครกรัมต่อวัน
  • เด็กที่อายุ 9-13 ปี คือ 280 ไมโครกรัมต่อวัน
  • เด็กที่อายุ 14 ปีขึ้นไป คือ 400 ไมโครกรัมต่อวัน

สำหรับสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร

ซีลีเนียมมีแนวโน้มว่าจะปลอดภัยเมื่อใช้ระยะสั้น ปริมาณยาไม่ควรเกิน 400 ไมโครกรัมต่อวัน ซีลีเนียมอาจไม่ปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรหากรับประทานในขนาดที่มากกว่า 400 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากอาจจะเป็นพิษได้

  • โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune diseases)

ซีลีเนียมอาจกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ในทางทฤษฎีแล้ว ซีลีเนียมอาจจะทำให้โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองมีอาการแย่ลงโดยการกระตุ้นการทำงานของโรคนี้ คนที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น โรคเอ็มเอส (multiple sclerosis) โรคเอสแอลอีหรือลูปัส (systemic lupus erythematosus) โรคข้อรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) และโรคอื่นๆ ควรจะหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของซีลีเนียม

  • สำหรับผู้ที่ฟอกไต

ผู้ที่กำลังฟอกไตอาจจะมีระดับซีลีเนียมในเลือดต่ำได้ การใช้สารละลายล้างไต (dialysis solution) ร่วมกับซีลีเนียมอาจสามารถช่วยเพิ่มระดับของซีลีเนียมได้ แต่บางคนอาจจำเป็นต้องใช้อาหารเสริมซีลีเนียม

  • ปัญหาเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ในผู้ชาย

ซีลีเนียมอาจจะลดความสามารถในการเคลื่อนที่ของอสุจิ ทำให้ลดอัตราการเจริญพันธุ์ หากคุณกำลังพยายามจะมีบุตร ไม่ควรใช้อาหารเสริมซีลีเนียม

  • โรคมะเร็งผิวหนัง

การใช้อาหารเสริมซีลีเนียมในระยะยาว อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้เล็กน้อย ซึ่งยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ จนกว่าจะทราบข้อมูลเพิ่มเติม ให้หลีกเลี่ยงการใช้อาหารเสริมซีลีเนียมในระยะยาว หากคุณเคยเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง

  • ภาวะขาดไทรอยด์ (hypothyroidism)

การใช้ซีลีเนียมอาจจะทำให้ภาวะขาดไทรอยด์นั้นแย่ลงได้ โดยเฉพาะคนที่มีภาวะขาดสารไอโอดีน ในกรณีนี้คุณควรใช้ไอโอดีนคู่กับซีลีเนียม ควรตรวจสอบกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ

  • การผ่าตัด

ซีลีเนียมอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก ในระหว่างและหลังจากการผ่าตัด ควรหยุดการใช้ซีลีเนียมอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนกำหนดการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ซีลีเนียมมีอะไรบ้าง?

การใช้ซีลีเนียมในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ความเปลี่ยนแปลงของสุขภาพเล็บ มีรอยสีขาวบนเล็บ เล็บอักเสบ
  • สูญเสียพลังงาน
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • ผมร่วง
  • เหนื่อยล้า
  • กลิ่นปากคล้ายกระเทียม มีรสชาติเหมือนโลหะในปาก

ซีลีเนียมอาจสามารถทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ อาการตัวสั่น วิงเวียน หน้าแดง มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด มีปัญหาเกี่ยวกับตับและไต และผลข้างเคียงอื่นๆ

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อย่างไรก็ตาม อาจเกิดผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากกังวลเรื่องผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ซีลีเนียมอาจเกิดปฏิกิริยากับยาหรืออาการที่คุณเป็นอยู่ ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนใช้ สิ่งที่อาจทำปฏิกิริยาต่อซีลีเนียมมี ดังนี้

  • ยาที่ช่วยชะลอการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) ยาต้านเกล็ดเลือด(Antiplatelet drugs) ซีลีเนียมอาจชะลอการแข็งตัวของเลือดได้ การรับประทานซีลีเนียมพร้อมกับยาที่ชะลอการแข็งตัวของเลือดอาจจะเพิ่มโอกาสในการเกิดรอยช้ำและเลือดออกได้มากขึ้น
  • ยาบางตัวที่ชะลอการแข็งตัวของเลือด ได้แก่ โคลพิโดเกรล (clopidogrel) ดาลเทพาริน (dalteparin) อีนอกซาพาริน (enoxaparin) เฮพาริน (heparin) ทิโคลพิดีน (ticlopidine) วาฟาริน (warfarin) และอื่นๆ
  • ยาสแตติน (Statins) ที่ใช้เพื่อลดระดับของคอเลสเตอรอล การรับประทานซีลีเนียม เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอีร่วมกัน อาจจะลดประสิทธิภาพของยา ที่ใช้ในการลดระดับของคอเลสเตอรอล ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า การใช้ซีลีเนียมเพียงอย่างเดียว สามารถลดประสิทธิภาพของยาบางชนิด ที่ใช้ในการลดคอเลสเตอรอลได้หรือไม่
  • ยาบางชนิดที่ใช้ในการลดระดับคอเลสเตอรอล ได้แก่ อะทอร์วาสแตติน (atorvastatin) ฟลูวาสแตติน (fluvastatin) โลวาสแตติน (lovastatin) และ ปราวาสแตติน (pravastatin)
  • ไนอะซิน (Niacin) การรับประทานซีลีเนียมพร้อมกับวิตามินอี วิตามินซี และเบต้าแคโรทีน อาจจะลดประสิทธิภาพที่ดีบางส่วนของไนอะซิน ไนอะซินนั้นสามารถเพิ่มปริมาณของคอเลสเตอรอลชนิดดีได้ การใช้ซีลีเนียมร่วมกับวิตามินอื่นๆ เหล่านี้ อาจลดการประสิทธิภาพทำงานของไนอะซินในการเพิ่มคอเลสเตอรอลดีได้
  • ยาระงับประสาทบาร์บิทูเรต (Barbiturates) กลไกของร่างกายเพื่อจะได้ขจัดออกจากร่างกาย ซีลีเนียมอาจจะชะลอการกลไกการขจัดยาออกจากร่างกาย การรับประทานซีลีเนียมพร้อมกับยาเหล่านี้อาจจะเพิ่มประสิทธิภาพและผลข้างเคียงได้
  • ยาคุมกำเนิดบางชนิด ได้แก่ เอทินิล เอสตร้าไดออล (ethinyl estradiol) ลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) นอร์อิทิสเตอโรน (norethindrone) และอื่นๆ
  • โกลด์ซอลต์ (Gold salts) โกลด์ซอลต์จะจับตัวกับซีลิเนียม และลดระดับของซีลิเนียมในร่างกาย ทำให้อาจจะลดการทำงานตามปกติของซีลิเนียม และอาจจะส่งผลให้เกิดการขาดซีลิเนียม เช่น ออโรธิโอกลูโคส (aurothioglucose) โกลด์โซเดียมไทโอโมเลต (gold sodium thiomalate) และออโรนอฟิน (auranofin)

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

ขนาดยาตามที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาวิจัยไว้

รับประทาน

  • ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากโรคแพ้ภูมิตนเอง (Autoimmune thyroiditis) หรือโรคต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโตะ (Hashimoto’s thyroiditis) : 200 ไมโครกรัม ต่อวัน
  • คอเลสเตอรอลสูง : 100-200 ไมโครกรัม ต่อวัน โดยใช้ซีลีเนียมที่เฉพาะเจาะจง คือ เซเลโนพรีไซส์ (SelenoPrecise) ฟาร์มา นอร์ด (Pharma Nord) เดนมาร์ก (Denmark)

ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวันของซีลีเนียม

  • เด็กอายุ 1-3 ปี 20 ไมโครกรัม
  • เด็กอายุ 4-8 ปี 30 ไมโครกรัม
  • เด็กอายุ 9-13 ปี 40 ไมโครกรัม
  • คนที่อายุมากกว่า 13 ปี 55 ไมโครกรัม
  • สตรีมีครรภ์ 60 ไมโครกรัม และผู้ให้นมบุตร 70 ไมโครกรัม ขึ้นอยู่กับความต้องการของทารกในครรภ์ ปริมาณของสารซีลิเนียมที่ควรได้รับนั้นจะเพิ่มขึ้นในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์

ยังไม่มีการบ่งชี้ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวันสำหรับทารก ปริมาณสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน

  • สำหรับทารกที่อายุไม่เกิน 6 เดือน 1 ไมโครกรัมต่อวัน ปริมาณสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวันสำหรับทารกที่อายุ 7-12 เดือนคือ 2.2 ไมโครกรัมต่อวัน

ปริมาณสูงสุดของสารอาหารที่สามารถรับได้ในแต่ละวัน

  • ผู้ใหญ่และวัยรุ่นอายุ 14 ปีขึ้นไป 400 ไมโครกรัมต่อวัน
  • ทารกอายุไม่เกิน 6 เดือน 45 ไมโครกรัมต่อวัน
  • ทารก 7 ถึง 12 เดือน 60 ไมโครกรัมต่อวัน
  • เด็ก 1 ถึง 3 ปี 90 ไมโครกรัมต่อวัน
  • เด็ก 4 ถึง 8 ปี 150 ไมโครกรัมต่อวัน
  • เด็ก 9 ถึง 13 ปี 280 ไมโครกรัมต่อวัน

ปกติแล้วควรใช้ซีลีเนียมในปริมาณเท่าใด

ปริมาณในการใช้ซีลิเนียมบาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

ซีลีเนียมอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • แคปซูล
  • ยาเม็ด

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Selenium https://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1003-selenium.aspx?activeingredientid=1003&activeingredientname=selenium Accessed Demcember 09, 2019

Selenium https://www.drugs.com/mtm/selenium.html Accessed Demcember 09, 2019

Selenium: What it does and how much you need. https://www.medicalnewstoday.com/articles/287842.php . Accessed Demcember 09, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

แนวทางใหม่ใน การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้หญิง

เทคนิคการ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างเหมาะสม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา