backup og meta

บีไซม์® (Beazyme®)

บีไซม์® (Beazyme®)

ข้อบ่งใช้ยา บีไซม์®

บีไซม์® ใช้สำหรับ

ยาบีไซม์® (Beazyme®) เป็นยาในกลุ่มปาเปน (Papain) โดยทั่วไปใช้เพื่อป้องกันอาการบวมน้ำหรืออาการอักเสบ ในบางครั้งก็ถูกนำมารักษาในการช่วยในระบบย่อยอาหาร และการรักษาพยาธิ รวมถึงอาการท้องร่วง ภูมิแพ้ โรคงูสวัด โรคสะเก็ดเงิน ปัจจุบันยังมีกการนำปาเปนมาใช้เป็นส่วนประกอบในการทำน้ำยาความสะอาดคอนแทคเลนส์ และยาสีฟันอีกด้วย

วิธีการใช้ บีไซม์® 

  • อ่านฉลากบนผลิตภัณฑ์ หรือตามที่แพทย์ และเภสัชกรแนะนำ อย่างละเอียด
  • ไม่ควรใช้ยาบีไซม์® ในปริมาณยาที่ มาก น้อย หรือนานกว่าที่แพทย์แนะนำ

การเก็บรักษาบีไซม์® 

  • ควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
  • เก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรทิ้งบีไซม์® ลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน

บีไซม์® บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน ตรวจสอบฉลากข้างบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามแพทย์และเภสัชกรเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ บีไซม์® 

ก่อนใช้บีไซม์® ควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้ให้แพทย์ทราบ

  • หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณให้นมบุตรนั้น คุณควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณกำลังใช้ยาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ยาที่คุณได้รับจากแพทย์ หรือยาที่จำหน่ายโดยเภสัชกร รวมถึงสมุนไพร และอาหารเสริมต่างๆ
  • แจ้งถึงประวัติโรคประจำตัว หรืออาการที่ผิดปกติของคุณเพื่อได้รับการรักษาอย่างปลอดภัย

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีตั้งครรภ์ที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ผลข้างเคียงยา

ผลข้างเคียงที่อาจพบบ่อยจากยาบีไซม์® 

ยาบีไซม์® นั้นปลอดภัย เมื่อรับประทานในปริมาณที่พบอยู่ในสารอาหาร และใช้กับผิวหนังในการรักษาลดอาการบวมจากการถูกแมลงกัดต่อย

สำหรับสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร

การรับประทานยาชนิดนี้อาจไม่ปลอดภัย เพราะอาจทำให้คุณแม่เกิดการแท้งบุตร หรือคลอดบุตรก่อนกำหนดได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการทานยาชนิดนี้โดยเด็ดขาด

สำหรับผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ

ยาบีไซม์® อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดในผู้ที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด หรือผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่าย

สำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัด

อาจเพิ่มความเสี่ยงของการมีเลือดออกในระหว่างการผ่าตัดได้ ดังนั้นจึงควร หยุดรับประทานประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนการผ่าตัด

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาบีไซม์® อาจมีปฏิกิริยากับ ยาวาร์ฟาริน (Warfarin)  ที่คุณกำลังใช้ร่วมด้วย โดยอาจเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการมีปฏิกิริยาดังกล่าว ควรแจ้งรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้ให้แพทย์ทราบ ไม่ว่าจะเป็นยาที่ได้รับคำสั่งจากทางแพทย์ ยาที่หาซื้อเองโดยการจำหน่ายทางเภสัชกร และสมุนไพร อาหารเสริม เพื่อความปลอดภัยของคุณอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนปริมาณยา หากยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์  

ปฏิกิริยากับอาหารและแอลกอฮอล์

ยาบีไซม์® อาจทำปฏิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาบีไซม์® อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมก่อนใช้

ขนาดยาบีไซม์® สำหรับผู้ใหญ่

เคี้ยวหรืออม 2 เม็ด ในวันที่ 1 จากนั้นปรับเปลี่ยนเป็น 1 เม็ด เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 วัน

ขนาดบีไซม์® สำหรับเด็ก

ไม่มีการกำหนดขนาดบีไซม์® สำหรับเด็ก เนื่องจากอาจเป็นอันตราย ควรทำความเข้าใจถึงความปลอดภัยของยาก่อนใช้และโปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

รูปแบบของยา

  • ยาเม็ด

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานบีไซม์® อาจควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาก่อนได้รับอนุญาตจากแพทย์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรค แต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Beazyme. http://www.mims.com/malaysia/drug/info/beazyme. Accessed February 24, 2017

PAPAIN https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-69/papain Accessed February 24, 2017

PAPAIN https://www.rxlist.com/papain/supplements.htm Accessed February 24, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/05/2020

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้หรือไม่ อาหารที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วง มีอะไรบ้าง?

พยาธิตัวตืด ภัยแฝงจากการกินเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ ที่อาจอันตรายกว่าที่คิด


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 07/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา