backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ยา เมโทโคลพราไมด์ ใช้สำหรับ

ยา เมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide) ใช้เพื่อรักษาความผิดปกติของกระเพาะอาหารและลำไส้บางชนิด ยาเมโทโคลพราไมด์ใช้สำหรับการรักษาในระยะสั้น 4 ถึง 12 สัปดาห์สำหรับอาการแสบร้อนกลางอกที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง หากใช้การใช้ยาตามปกติไม่เพียงพอ ยานี้มักใช้สำหรับอาการแสบร้อนกลางอก ที่เกิดขึ้นหลังจากมื้ออาหาร หรือขณะในเวลากลางวัน การรักษาอาการแสบร้อนกลางอกที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง สามารถลดความเสียหายจากกรดในกระเพาะอาหารต่อหลอดอาหาร (esophagus) และช่วยฟื้นฟูได้

ยาเมโทโคลพราไมด์ยังใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีภาวะกะเพราะทำงานน้อยลง (gastroparesis) การรักษาภาวะกระเพาะทำงานน้อยลงสามารถลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาการท้องอืด ยาเมโทโคลพราไมด์ทำงานโดยการยับยั้งสารตามธรรมชาติบางชนิดอย่างโดพามีน (dopamine) ช่วยเพิ่มการทำงานของกระเพาะอาหารและการเคลื่อนไหวของลำไส้ส่วนบน

การใช้งานในด้านอื่น

ในส่วนนี้จะมีการใช้งานของยาที่ไม่ได้อยู่ในฉลากยาที่ได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญ แต่อาจได้รับสั่งยาจากผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพของคุณ หากคุณได้รับสั่งยานี้ควรใช้ยานี้ด้วยความระมัดระวังกับสภาวะที่อยู่ในรายชื่อดังต่อไปนี้เท่านั้น

ยาเมโทโคลพราไมด์อาจใช้เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากการทำเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง

วิธีการใช้ยาเมโทโคลพราไมด์

รับประทานยาเมโทโคลพราไมด์ 30 นาทีก่อนรับประทานอาหารและก่อนนอน โดยปกติ คือ วันละ 4 ครั้ง หรือตามที่แพทย์กำหนด หากคุณใช้ยานี้ในรูปแบบของยาน้ำ ควรตวงยาโดยใช้เครื่องมือพิเศษสำหรับตวงยา อย่าใช้ช้อนธรรมดาเพราะอาจได้ขนาดยาที่ไม่ถูกต้อง

หากคุณกำลังใช้ยาแบบแตกตัว อย่าแกะยาออกจากบรรจุภัณฑ์จนกว่าจะใช้งาน เช็ดมือให้แห้งก่อนใช้ยาเมโทโคลพราไมด์ อย่าใช้ยาหากยาแตกหรือหัก ทันทีที่แกะยาออกจากห่อให้รีบวางบนลิ้น ปล่อยให้ละลายจนหมดแล้วจึงกลืนพร้อมกับน้ำลาย ยานี้ไม่จำเป้นต้องรับประทานพร้อมกับน้ำ

ขนาดยาขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว สภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา หากอาการแสบร้อนกลางอกนั้นเกิดแค่เฉพาะบางเวลา (เช่นหลังจากรับประทานอาหารมื้อเย็น) แพทย์อาจสั่งให้รับประทานยาเพียงครั้งเดียวก่อนช่วงเวลาเหล่านั้นเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง

เนื่องจากความเสี่ยงในการเกิดอาการยึกยือ (tardive dyskinesia) หรือ การเคลื่อนไหวร่างกายที่ควบคุมไม่ได้ อย่ารับประทานยานี้บ่อยกว่า ขนาดยามากกว่า หรือนานกว่าที่แพทย์กำหนด จากข้อมูลของผู้ผลิต ไม่ควรใช้ยานี้นานเกิน 12 สัปดาห์

เพื่อรักษาภาวะกระเพาะทำงานน้อยลงจากโรคเบาหวาน มักใช้ยาเมโทโคลพราไมด์เป็นเวลา 2 ถึง 8 สัปดาห์จนกว่าเครื่องในของคุณจะทำงานได้ดี สภาวะนี้อาจกำเริบซ้ำในบางครั้ง แพทย์อาจสั่งให้คุณเริ่มใช้ยาเมโทโคลพราไมด์ ในทันทีที่อาการกลับมาเป็นซ้ำ และหยุดยาเมื่อคุณรู้สึกดีขึ้น สอบถามวิธีการเริ่มใช้ยา และหยุดใช้ยาจากแพทย์

รับประทานยาเมโทโคลพราไมด์เป็นประจำ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

หากใช้ยาเมโทโคลพราไมด์เป็นประจำเป็นเวลานานหรือในขนาดยาที่สูง อาจเกิดอาการถอนยา เช่น วิงเวียน กังวลใจ ปวดหัว หลังจากที่คุณหยุดใช้ยาเมโทโคลพราไมด์ เพื่อป้องกันอาการถอนยา แพทย์อาจสั่งให้คุณค่อยๆ ลดขนาดยาลงมา โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม และแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากมีอาการถอนยาเกิดขึ้น

แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่หายไปหรือแย่ลง

การเก็บรักษายา เมโทโคลพราไมด์

ยาเมโทโคลพราไมด์ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเมโทโคลพราไมด์บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเมโทโคลพราไมด์ลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา เมโทโคลพราไมด์

ก่อนใช้ยาเมโทโคลพราไมด์

  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีอาการแพ้ต่อยาเมโทโคลพราไมด์ ยาอื่นๆ หรือส่วนประกอบของยาเมโทโคลพราไมด์แบบยาเม็ดหรือสารละลาย สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับรายชื่อของส่วนประกอบยา
  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้หรือมีแผนจะใช้ ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพรต่างๆ โดยเฉพาะ: ยาอะเซตามีโนเฟน (acetaminophen) เช่น ไทลินอลและอื่นๆ ยาต้านฮีสตามีน (antihistamines) แอสไพริน อะโทรปีน (atropine) ในโลนอกซ์ (lonox) หรือในโลโมทิล (lomotil) ไซโคลสปอริน (cyclosporine) อย่างเจนกราฟ (gengraf) นีโอรัล (neoral) แซนดิมมูน (sandimmune) ยาในกลุ่มบาร์บิทูเรต (barbiturates) เช่นเพนโทบาร์บิทอล (pentobarbital) อย่างเนมบูทอล (nembutal) ฟีโนบาร์บิทัล (phenobarbital) อย่างลูมินอล (luminal) และเซโคบาร์บิทอล (secobarbital) อย่างเซโคนอล (seconal) ไดจอกซิน (digoxin) อย่างลานอกซิแคป (lanoxicaps) หรือลานอกซิน (lanoxin) ฮาโลเพอริดอล (haloperidol) อย่างฮาลดอล (haldol) อินซูลิน ไอปราโทรเปียม (ipratropium) อย่างอะโทรเวน (atrovent) ลิเทียม (lithium) อย่างเอสคาลิท (eskalith) หรือลิโทบิด (lithobid) เลโวโดปา (levodopa) ในซิเนเมท (in sinemet) หรือในสเตเลโว (in stalevo) ยาสำหรับอาการวิตกกังวล ความดันโลหิต โรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel disease) ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว (motion sickness) คลื่นไส้ โรคพาร์กินสัน (parkinson’s disease) เป็นแผลหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ ยาต้านเศร้ากลุ่มเอมเอโอไอ (monoamine oxidase inhibitors) รวมทั้งไอโซคาร์บอกซาซิด (isocarboxazid) อย่างมาร์แพลน (marplan) ฟีเนลซีน (phenelzine) อย่างนาร์ดิล (nardil) เซเลกิลีน (selegiline) อย่างเอลเดพริล (eldepryl) หรือเอ็มแซม (emsam) หรือเซลาพาร์ (zelapar) และทรานิลซัยโปรมีน (tranylcypromine) อย่างพาร์เนต (parnate) ยาแก้ปวดแบบเสพติด (narcotic medications) ยากล่อมประสาท (Sedatives) ยานอนหลับ เตตราไซคลีน (tetracycline) อย่างบริสเตไซคลีน (bristacycline) หรือซูไมซิน (sumycin) หรือทรานควิลิเซอร์ (tranquilizers) แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดยาของคุณ หรือเฝ้าระวังผลข้างเคียง
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณเคยมีอาการอุดตัน เลือดออก หรือแผลฉีกขาดที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้ โรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (pheochromocytoma) หรืออาการชัก แพทย์อาจไม่ให้คุณใช้ยาเมโทโคลพราไมด์
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณเป็นหรือเคยเป็นโรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นความผิดปกติที่ระบบประสาทและทำให้การเคลื่อนไหว ควบคุมกล้ามเนื้อ หรือทรงตัวได้ลำบาก ความดันโลหิตสูง โรคซึมเศร้า มะเร็งเต้านม โรคหอบหืด โรคพร่องเอนไซม์จี6พีดี (glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency) ซึ่งเป็นความผิดปกติของเลือดแต่กำเนิด ภาวะขาดเอ็นเอดีเอช ไซโตโครม บี 5 รีดักเตส (nadh cytochrome b5 reductase deficiency) ซึ่งเป็นความผิดปกติของเลือดแต่กำเนิด โรคหัวใจ โรคตับ หรือโรคไต
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร หากคุณตั้งครรภ์ขณะใช้ยาเมโทโคลพราไมด์ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • หากคุณกำลังจะผ่าตัดรวมไปถึงการผ่าตัดทำฟัน แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบว่าคุณกำลังใช้ยาเมโทโคลพราไมด์
  • ยาเมโทโคลพราไมด์นั้นสามารถทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ อย่าขับรถหรือใช้เครื่องจักรจนกว่าคุณจะว่าว่ายานี้ส่งผลกระทบกับคุณอย่างไร
  • สอบถามแพทย์เกี่ยวกับวิธีการใช้แอลกอฮอล์อย่างปลอดภัย ขณะที่กำลังใช้ยาเมโทโคลพราไมด์ แอลกอฮอล์นั้นสามารถทำให้ผลข้างเคียงของยานี้รุนแรงขึ้นได้

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาเมโทโคลพราไมด์จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา เมโทโคลพราไมด์

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่  ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

หยุดใช้ยาเมโทโคลพราไมด์และติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีสัญญาณของความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจเกิดได้ภายใน 2 วันหลังจากเริ่มต้นการรักษา

  • มีอาการสั่นเทาที่แขนหรือขา
  • ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวที่ใบหน้าได้ (การเคี้ยว การเม้มปาก ขมวดคิ้ว ขยับลิ้น กระพริบตา หรือเคลื่อนไหวดวงตา)
  • อาการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นใหม่หรือผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้

หยุดยาเมโทโคลพราไมด์และติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้

  • การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อช้าหรือกล้ามเนื้อกระตุก มีปัญหากับการทรงตัวหรือการเดิน
  • ใบหน้า มีลักษณะเหมือนใส่หน้ากาก
  • กล้ามเนื้อแข็งเกร็งมาก เป็นไข้สูง เหงื่อออก สับสน หัวใจเต้นเร็วหรือไม่เท่ากัน สั่นเทา รู้สึกเหมือนจะหมดสติ
  • มีอารมณ์ซึมเศร้า มีความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง
  • เห็นภาพหลอน วิตกกังวล ร้อนรน กระวนกระวายใจ อยู่ไม่สุข
  • มีอาการบวม รู้สึกหายใจไม่อิ่ม น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ดีซ่าน (ดวงตาและผิวหนังเป็นสีเหลือง)
  • มีอาการชัก

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่ามีดังนี้

  • รู้สึกกระสับกระส่าย ง่วงซึม เหนื่อยล้า หรือวิงเวียน
  • ปวดหัว นอนไม่หลับ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง
  • มีอาการกดเจ็บที่เต้านมหรือบวม
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเมโทโคลพราไมด์อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ก่อนใช้ยาเมโทโคลพราไมด์ แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณใช้ยาที่ทำให้รู้สึกง่วงเป็น (เช่น ยาแก้หวัดหรือยาแก้แพ้ ยากล่อมประสาท ยาแก้ปวดแบบเสพติด ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาสำหรับอาการชัก โรคซึมเร้า หรือวิตกกังวล) ยาเหล่านี้สามารถเพิ่มอาการง่วงนอนจากยาเมโทโคลพราไมด์ได้

แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ โดยเฉพาะ

  • อะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) อย่างไทลินอล
  • ไซโคลสปอริน (Cyclosporine) อย่างเจนกราฟ (Gengraf) หรือนีโอรอล (Neoral) หรือแซนดิมมูน (Sandimmune)
  • ไดจอกซิน (Digoxin) อย่างดิจิทาลิส (digitalis) ลานอกซิน (Lanoxin)
  • ไกลโคไพโรเลต (Glycopyrrolate) อย่างโรบินูล (Robinul)
  • อินซูลิน
  • เลโวโดปา (Levodopa) อย่างลาโรโดพา (Larodopa) หรืออะทาเมท (Atamet) หรือพาร์โคพา (Parcopa) หรือซิเนเมท (Sinemet)
  • เมเพนโซเลต (Mepenzolate) อย่างแคนทิล (Cantil)
  • เตตราไซคลีน (Tetracycline) อย่างอะลาเท็ต (Ala-Tet) หรือบรอดสเปค (Brodspec) หรือแพนไมซิน (Panmycin) หรือซูไมซิน (Sumycin) หรือเตตราแคป (Tetracap)
  • อะโทรปีน (Atropine) อย่างดอนนาทอล (Donnatal) และอื่นๆ เบนซ์โทรปีน (benztropine) อย่างโคเจนทิน (Cogentin) ไดเมนไฮดริเนต (dimenhydrinate) อย่างดรามามีน (Dramamine) เมทสโคโพลามีน (methscopolamine) อย่างพามีน (Pamine) หรือสโคโปลามีน (scopolamine) อย่างทรานสเดิร์มสคอป (Transderm-Scop)
  • ยาสำหรับโรคกระเพาะปัสสาวะหรือการปัสสาวะ เช่น ดาริเฟนาซิน (darifenacin) อย่างเอนาเบล็กซ์ (Enablex) ฟลาโวเซท (flavoxate) อย่างยูริลพาส (Urispas) ออกซีบิวไทนิน (oxybutynin) อย่างไดโทรแพน (Ditropan) หรือออกซิทรอล Oxytrol) โทลเทโรดีน (tolterodine) อย่างเดทรอล (Detrol) หรือโซลิเฟนาซิน (solifenacin) อย่างเวซิแคร์ (Vesicare)
  • ยาสำหรับความดันโลหิต
  • ยาขยายหลอดลม (Bronchodilators) เช่น ไอปราโทรเปียม (ipratroprium) อย่างอะโทรเวน (Atrovent) หรือไทโอโทรเปียม (tiotropium) อย่างสปิริวา (Spiriva)
  • ยาสำหรับโรคลำไส้แปรปรวน เช่น ไดไซโคลมีน (dicyclomine) อย่างเบนทิล (Bentyl), ไฮออสไซยามีน (hyoscyamine) อย่างอะนาสพาส (Anaspaz) หรือซิสทอสพาส (Cystospaz) หรือเลฟซิน (Levsin) หรือโพรแพนธีลีน (propantheline) อย่างโพรแพบทีน (Pro-Banthine)
  • ยาต้านเศร้ากลุ่มเอมเอโอไอ (MAO inhibitor) เช่น ฟูราโซลิโดน (furazolidone) อย่างฟูโรโซน (Furoxone) ยาไอโซคาร์บอกซาซิด (isocarboxazid) อย่างมาร์แพลน (Marplan) ยาฟีเนลซีน (phenelzine) อย่างนาร์ดิล (Nardil) ยาราซาจิลีน (rasagiline) อย่างอะซิเลค (Azilect) ยาเซเลจิลีน (selegiline) อย่างเอลเดพริล (Eldepryl) หรือเอมแซม (Emsam) หรือเซลาพาร์ (Zelapar) หรือยาทรานิลซัยโปรมีน (tranylcypromine) อย่างพาร์เนต (Parnate)
  • ยารักษาอาการผิดปกติทางจิต เช่น ยาคลอร์โปรมาซีน (chlorpromazine) อย่างโทราซีน (Thorazine) ยาโคลซาปีน (clozapine) อย่างคลอซาริล (Clozaril) หรือฟาซาโคล (fazaclo) ยาฮาโลเพอริดอล (haloperidol) อย่างฮาลดอล (Haldol) ยาโอแลนซาปีน (olanzapine) อย่างซิเพรซา (Zyprexa) หรือซิมบิกซ์ (Symbyax) ยาโปรคลอเปอราซีน (prochlorperazine) อย่างคอมพาซีน (Compazine) ยาริสเพอริโดน (risperidone) อย่างริสเพอร์ดาล (Risperdal) ยาไทโอแซนทีน (thiothixene) อย่างนาวาเน (Navane) และอื่นๆ

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเมโทโคลพราไมด์อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเมโทโคลพราไมด์อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะ

  • มีเลือดออกที่ช่องท้องหรือกระเพาะ
  • มีการอุดตันหรือมีรูภายในลำไส้ (perforation)
  • เนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (Pheochromocytoma)
  • เป็นโรคลมชัก (epilepsy) ไม่ควรใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีอาการนี้
  • โรคหอบหืด
  • โรคตับแข็ง (Cirrhosis)
  • หัวใจล้มเหลว
  • โรคเบาหวาน
  • ปัญหาเกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจ เช่นภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ (ventricular arrhythmia)
  • ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)
  • เคยเป็นโรคซึมเศร้า
  • เคยเป็นโรคกลุ่มอาการนิวโรเล็ปติกร้ายแรง (Neuroleptic malignant syndrome)
  • เคยเป็นโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง อาจทำให้อาการเป็นหนักขึ้น
  • โรคพร่องเอนไซม์จี 6 พีดี
  • ภาวะขาดเอ็นเอดีเอช ไซโตโครม บี 5 รีดักเตส อาจเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่ส่งผลกระทบกับเลือด
  • โรคไต ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ผลของยาอาจจะเพิ่มขึ้นเพราะกำจัดยาออกจากร่างกายได้ช้าลง

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเมโทโคลพราไมด์สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้ /อาเจียนหลังผ่าตัด

  • ฉีดยา 10 ถึง 20 มก.ฉีดเข้ากล้ามเนื้อช่วงเวลาการผ่าตัดเสร็จสิ้นหรือช่วงเวลาใกล้ๆ กัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease)

  • รับประทาน: 10 ถึง 15 มก. วันละ 4 ครั้ง 30 นาที ก่อนมื้ออาหารและก่อนนอน ขึ้นอยู่กับอาการที่รักษาและการตอบสนองทางการแพทย์ ระยะเวลาการรักษาไม่ควรเกิน 12 สัปดาห์

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการใส่ท่อในลำไส้เล็ก (Small Intestine Intubation)

  • หากท่อไม่ผ่านส่วนไพโลรัส (pylorus) ด้วยกระบวนการตามปกติภายใน 10 นาที อาจให้ยาหนึ่งครั้ง (ไม่ต้องเจือจาง) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างช้าๆนานกว่า 1 ถึง 2 นาที ผู้ใหญ่และผู้ป่วยเด็กที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 14 ปี 10 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหนึ่งครั้งนานกว่า 1 ถึง 2 นาที

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการตรวจสอบด้วยรังสี (Radiographic Exam)

  • ผู้ใหญ่และผู้ป่วยเด็กที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 14 ปี 10 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหนึ่งครั้งนานกว่า 1 ถึง 2 นาทีเพื่อช่วยส่งเสริมการทำให้กระเพาะอาหารว่างที่ถูกรบกวนโดยการตรวจสอบด้วยรังสีที่กระเพาะอาหาร และ/หรือลำไส้เล็ก

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะกระเพาะทำงานน้อยลง (gastroparesis)

  • ฉีดเข้าหลอดเลือด: 10 มก. วันละ 4 ครั้ง ฉีดเข้าหลอดเลือด (ฉีดช้าๆ นานกว่า 1 ถึง 2 นาที) หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อเป็นเวลา 10 วัน
  • รับประทาน 10 มก. วันละ 4 ครั้ง 30 นาที ก่อนมื้ออาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 2 ถึง 8 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับการตอบสนองทางการแพทย์

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้/อาเจียน – เนื่องจากการทำเคมีบำบัด

  • หยอดยาเข้าหลอดเลือดดำ 1 ถึง 2 มก./กก./ครั้ง (ขึ้นอยู่กับโอกาสที่ทำให้อาเจียนของยานั้น) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (หยอดยาเข้าหลอดเลือดดำเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที) 30 นาทีก่อนเริ่มทำเคมีบำบัด อาจให้ยาซ้ำสองครั้งโดยเว้นช่วง 2 ชั่วโมงหลังจากที่ให้ยาเริ่มแรก หากไม่สามารถกดอาการอาเจียนได้อาจให้ยาในขนาดเดิมซ้ำ 3 ครั้งโดยเว้นช่วงครั้งละ 3 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการปวดหัวไมเกรน

  • การใช้เพื่อรักษาอาการปวดหัวไมเกรนนั้น ยังไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) แต่มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของการใช้ยาเมโทโคลพราไมด์ที่ขนาดยา 10 ถึง 20 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหนึ่งครั้ง (ใช้ร่วมกับยาแก้ปวด (analgesics) หรือยาอนุพันธ์เออร์กอต (ergot derivatives)

ขนาดยาเมโทโคลพราไมด์สำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease)

  • รับประทาน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าหลอดเลือดดำ: ทารกและเด็ก 0.4 ถึง 0.8 มก./กก./วัน แบ่งให้ 4 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อการใส่ท่อในลำไส้เล็ก (Small Intestine Intubation)

  • หากท่อไม่ผ่านส่วนไพโลรัส (pylorus) ด้วยกระบวนการตามปกติภายใน 10 นาที อาจให้ยาหนึ่งครั้ง (ไม่ต้องเจือจาง) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างช้าๆนานกว่า 1 ถึง 2 นาที
  • อายุน้อยกว่า 6 ปี 0.1 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหนึ่งครั้ง
  • 6 ถึง 14 ปี 2.5 ถึง 5 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหนึ่งครั้ง
  • เด็กที่อายุมากกว่า 14 ปี 10 มก. หนึ่งครั้ง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการคลื่นไส้/อาเจียน – เนื่องจากการทำเคมีบำบัด

  • ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 1 ถึง 2 มก./.กก/ครั้ง ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 30 นาทีก่อนการทำเคมีบำบัดและทุกๆ 2 ถึง 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการคลื่นไส้/อาเจียน – หลังการผ่าตัด

  • ยังไม่มีการวิจัยขนาดยาสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำนี้
  • เด็กที่อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 14 ปี: 0.1 ถึง 0.2 มก./กก./ครั้ง (ขนาดยาสูงสุด: 10 มก./ครั้ง) ให้ซ้ำทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมงตามความจำเป็น
  • เด็กที่อายุมากกว่า 14 ปีและผู้ใหญ่: 10 มก. ให้ซ้ำทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมงตามความจำเป็น

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • สารละลายสำหรับฉีด 5 มก./มล.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา