backup og meta

ไทโรทริซิน (Tyrothricin)

ไทโรทริซิน (Tyrothricin)

ยา ไทโรทริซิน (Tyrothricin) ใช้รักษาอาการเจ็บ อาการอักเสบคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ เยื่อเมือกในกระเพาะอาหาร รวมถึงการติดเชื้อที่ผิวหนัง เช่น การติดเชื้อที่หู

 

ข้อบ่งใช้

ยาไทโรทริซิน ใช้สำหรับ

ยาไทโรทริซิน (Tyrothricin) เป็นยาปฏิชีวนะที่อยู่ในกลุ่มยาแมคโครไลด์ (Macrolide) ใช้รักษาอาการเจ็บ อาการอักเสบคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ เยื่อเมือกในกระเพาะอาหาร รวมถึงการติดเชื้อที่ผิวหนัง เช่น การติดเชื้อที่หู

วิธีการใช้ยา ไทโรทริซิน

ทายาไทโรทริซินในบริเวณที่ต้องการ

การเก็บรักษายา ไทโรทริซิน

ยาไทโรทริซินควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไทโรทริซินบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไทโรทริซินลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูก สอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา ไทโรทริซิน

ก่อนใช้ยาไทโรทริซิน โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับรายชื่อของยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้ ยาที่หาซื้อเอง เช่น วิตามิน อาหารเสริม และอื่นๆ อาการแพ้ โรคที่เคยเป็น และภาวะสุขภาพปัจจุบัน เช่น การตั้งครรภ์หรือมีนัดผ่าตัด ภาวะบางอย่างอาจจะทำให้คุณมีปฏิกิริยาไวต่อผลข้างเคียงของยานี้ได้มากกว่า

ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเกินขนาด

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาไทโรทริซินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด D โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาไทโรทริซิน

การใช้ยาไทโรทริซิน อาจเกิดอาการปวดที่รุนแรงและความเสียหายต่อตับหรือไต ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

หากคุณใช้ยาอื่น ๆ หรือผลิตภัณฑ์จากร้านขายยาอื่น ๆ ขณะใช้ยายาไทโรทริซินซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาไทโรทริซินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาไทโรทริซินอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไทโรทริซินสำหรับผู้ใหญ่

  • สำหรับการติดเชื้อในช่องปาก (oropharyngeal infection) รูปแบบลูกอม 4-10 มก./วัน
  • การติดเชื้อที่ผิวหนังโดยใช้ยาสารละลาย 1/1,000 ใช้ยาตามที่แพทย์กำหนด

ขนาดยาไทโรทริซินสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ขนาดและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาอม
  • ยาหลอดหู
  • ยาครีม

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tyrothricin – Drug Information. http://www.medindia.net/doctors/drug_information/tyrothricin.htm. Accessed December 21, 2017.

Tyrothricin. https://www.tabletwise.com/medicine/tyrothricin. Accessed December 21, 2017.

Tyrothricin https://www.drugs.com/international/tyrothricin.html

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/09/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการแทรกซ้อนจากโรคผิวหนังอักเสบ

เคล็ดลับการ ป้องกันเชื้อราที่เล็บเท้า อย่างง่ายๆ และได้ผล


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 21/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา