backup og meta

ไลนิโซลิด (Linezolid)

ข้อบ่งใช้

ยา ไลนิโซลิด ใช้สำหรับ

ยา ไลนิโซลิด (Linezolid) เป็นยาปฏิชีวนะ ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงบางชนิด ยานี้ทำงานโดยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

ยาปฏิชีวนะนี้ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับการติดเชื้อไวรัสได้ (เช่น โรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่) การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น อาจทำให้ยานั้นใช้ไม่ได้ผลกับการติดเชื้อในอนาคต

ยา ไลนิโซลิด นั้นอยู่ในกลุ่มของยา MAO inhibitors สามารถเพิ่มระดับของสารบางอย่างในร่างกาย เช่น โดพามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) เซโรโทนิน (serotonin) ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดผลข้างเคียง และปฏิกิริยาต่ออาหารและยาได้

วิธีการใช้ยา ไลนิโซลิด

ใช้ยาตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด อย่าใช้ยาในขนาดมากกว่า ขนาดน้อยกว่า หรือใช้นานกว่าที่กำหนด ควรทำตามตามทางบนฉลากยาที่ได้รับสั่งมา

ก่อนรับประทานยาน้ำแขวนตะกอน (ยาน้ำ) ควรค่อยๆ ผสมยา โดยการคว่ำขวดยา 3 ถึง 5 ครั้ง อย่าเขย่าขวดยา ควรตวงยาด้วยช้อนหรือถ้วยตวงยา ไม่ควรใช้ช้อนทานอาหาร หากคุณอุปกรณ์ตวงยาควรสอบถามเภสัชกร

ฉีดยา ไลนิโซลิด ฉีดเข้าหลอดเลือด โดยฉีดยาอย่างช้าๆ นานกว่า 2 ชั่วโมง คุณอาจเรียนรู้วิธีการฉีดยาเช้าหลอดเลือดดำเองที่บ้าน ไม่ควรฉีดยาด้วยตัวเอง หากคุณยังไม่เข้าในวิธีการฉีดยา และการกำจัดเข็มฉีดยา หลอดฉีดยา และอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับฉีดยาที่ใช้แล้วอย่างถูกต้อง

เพื่อให้แน่ใจว่ายานี้จะไม่ส่งผลที่อันตราย ควรมีการตรวจเซลล์เม็ดเลือดและความดันโลหิตเป็นประจำ และอาจจำเป็นต้องตรวจดวงตาอีกด้วย ควรไปหาแพทย์เป็นประจำ

ใช้ยานี้ให้ครบระยะเวลาที่กำหนด อาการของคุณอาจจะดีขึ้นก่อนที่อาการติดเชื้อทั้งหมดจะหายไป การหยุดกินยาอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะเพิ่มเติม ยาไลนิโซลิดไม่สามารถใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อไวรัสอย่างหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ได้

การเก็บรักษายา ไลนิโซลิด

ยาไลนิโซลิดควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไลนิโซลิดบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไลนิโซลิดลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อสินค้าหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา ไลนิโซลิด

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะความดันโลหิตสูง ปัญหาเกี่ยวกับเลือดหรือไขกระดูก (เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดต่ำ) สภาวะเนื้องอกบางชนิด เช่น เนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (pheochromocytoma) กลุ่มอาการคาร์ซินอยด์ (carcinoid syndrome) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (overactive thyroid) อาการชัก

ยานี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการควมตื่นตัวจนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย และจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หากคุณเป็นโรคเบาหวาน ยาไลนิโซลิดอาจลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ควรตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำตามที่กำหนดและแจ้งผลให้แพทย์ทราบ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีอาการระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น เหงื่อออกเฉียบพลัน ตัวสั่นเทา หัวใจเต้นเร็ว หิว มองเห็นไม่ชัด วิงเวียน หรือรุ้สึกเสียวซ่าที่มือและเท้า แพทย์อาจต้องปรับขนาดยาสำหรับโรคเบาหวาน โปรแกรมการออกกำลังกาย หรืออาหารที่รับประทาน

ยาไลนิโซลิดอาจส่งผลให้วัคซีนต้านแบคทีเรียเชื้อเป็น (เช่น วัคซีนไทรอยด์) นั้นทำงานได้ไม่ดี อย่าสร้างภูมิคุ้มกันหรือรับวัคซีนขณะที่กำลังใช้ยานี้นอกเสียจากแพทย์จะสั่ง

ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ)

ในช่วงขณะตั้งครรภ์ควรใช้ยานี้ต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้น โปรดปรึกษาความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยากับแพทย์

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายานี้สามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้หรือไม่ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาไลนิโซลิดจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้สตรีมีครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา ไลนิโซลิด

อาจเกิดอาการท้องร่วง ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน หรือวิงเวียน หากผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้นโปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบในทันที

โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากพิจารณาแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น หายใจเข้าลึกหรือหายใจเร็ว ง่วงซึมผิดปกติ คลื่นไส้อาเจียนไม่หยุด เหน็บชาที่มือหรือเท้า เหนื่อยล้าผิดปกติ มีรอยช้ำหรือเลือดออกง่าย

รับการรักษาทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงมากดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง เหงื่ออกมากขึ้น การมองเห็นเปลี่ยน (เช่น มองเห็นไม่ชัด การมองเห็นสีเปลี่ยนไป สูญเสียการมองเห็น) มีความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจหรืออารมณ์ (เช่นร้อนรน สับสน) อาการชัก

ในกรณีหายาก ยานี้อาจทำให้เกิดสภาวะของลำไส้ที่รุนแรง อย่างอาการท้องร่วงเนื่องจากคลอสไทรเดียม ดิฟิซายล์ (Clostridium difficile) เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาบางชนิด สภาวะนี้อาจเกิดขึ้นระหว่างการรักษาหรือหลายสัปดาห์จนถึงหลายเดือนหลังจากหยุดการรักษา แจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณมีอาการ ท้องร่วงไม่หยุด ปวดท้อง มีเลือดหรือเสมหะในอุจจาระ

อย่าใช้ยาแก้ท้องเสียหรือยาแก้ปวดแบบเสพติด (narcotic pain medications) หากคุณมีอาการเหล่านี้เนื่องจากอาจทำให้อาการแย่ลงได้

การใช้ยานี้ในระยะยาวหรือใช้เป็นรอบซ้ำๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปากหรือติดเชื้อยีสต์ใหม่ ติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณสังเตเห็นรอยสีขาวภายในปาก มีการเปลี่ยนแปลงของสารคัดหลั่งจากช่องคลอด หรือมีอาการใหม่อื่นๆ

ยานี้อาจเพิ่มปริมาณของสารเซโรโทนิน (serotonin) และในกรณีหายากอาจทำให้เกิดสภาวะอย่างกลุ่มอาการเซโรโทนิน (serotonin syndrome) หรือเซโรโทนินเป็นพิษ ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นหากคุณใช้ยาอื่นที่อาจเพิ่มปริมาณของสารเซโรโทนินด้วยดังนั้นจึงควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้

รับการรักษาทันทีหากเกิดอาการดังต่อไปนี้: หัวใจเต้นเร็ว มองเห็นภาพหลอน สูญเสียการเคลื่อนไหวอย่างสอดประสาน วิงเวียนอย่างรุนแรง เป็นไข้หาสาเหตุไม่ได้ คลื่นไส้ อาเจียน และท้อวงร่วงอย่างรุนแรง กล้ามเนื้อกระตุก มีอาการร้อนหรือหรือกระสับกระส่ายอย่างผิดปกติ

นานๆ ครั้งยานี้อาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต (hypertensive crisis) ซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้ มียาและอาหารจำนวนมากที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงนี้ (อ่านเพิ่มเติมในส่วนวิธีการใช้ยาและปฏิกิริยาของยา)

รับการรักษาในทันทีหากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้ ปวดหัวอย่างรุนแรง หัวใจเต้นเร็ว ช้า ผิดปกติ หรือรัว เจ็บหน้าอก คอแข็งเกร็งหรือเจ็บคอ คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง มีเหงื่อออกหรือผิวแตกแห้ง (บางครั้งอาจมีไข้ร่วมด้วย) รูม่านตาขยาย การมองเห็นเปลี่ยนแปลง (เช่น มองเห็นภาพซ้อนหรือมองเห้นไม่ชัด) ตาไม่สู้แสง

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือ

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • ยาลดความอ้วน หรือยากดความอยากอาหาร เช่น ไดเอทิลโพรพิออน (diethylpropion)
  • ยาสำหรับโรคสมาธิสั้น (attention deficit disorder) เช่น อะโทม็อกซีทีน (atomoxetine) หรือเมทิลเฟนิเดต (methylphenidate) แอพราโคลนิดีน (apraclonidine) บูโพรพิออน (bupropion) บิวสไปโรน (buspirone) คาร์บามาเซพีน (Carbamazepine) ไซโคลเบนซาพรีน (cyclobenzaprine) เดยูเททราเบนาซีน (deutetrabenazine)
  • ยาผสมบางชนิด เช่น เดกซ์โทรเมทอร์แฟน/ควินิดีน (dextromethorphan/quinidine) เลโวโดปา (levodopa) มาโพรทิลีน (maprotiline) เมทิลโดปา (methyldopa)
  • ยาแก้ปวดแบบเสพติดบางชนิด เช่น เฟนทานิล (fentanyl) เมเพอริดีน (meperidine) เมทาโดน (methadone) ทาเพนทาดอล (tapentadol)
  • ยาสำหรับโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) บางชนิดเช่นเอนทาคาโปน (entacapone) หรือทอลคาโทน (tolcapone)
  • อาหารเสริมบางชนิด เช่น ทริปโตเฟน (tryptophan) หรือไทรามีน (tyramine) เตตราเบนาซีน (tetrabenazine)
  • ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (tricyclic antidepressants) เช่น อะมิทริปไทลีน (amitriptyline) หรือโดเซพิน (doxepin) วาลเบนาซีน (valbenazine)

ความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการเซโรโทนิน หรือเซโรโทนินเป็นพิษนั้น อาจจะเพิ่มขึ้น หากคุณใช้ยาอื่นที่อาจเพิ่มสารเซโรโทนินร่วมด้วย เช่น

  • ยาเสพติดอย่าง เมทิลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน (MDMA) หรือยาอี (ecstasy)
  • สมุนไพรเซนต์จอห์น (St. John’s wort)
  • ยาต้านซึมเศร้าบางชนิด เช่น เมอร์เทซาปีน (mirtazapine)
  • ยาในกลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (SSRIs) อย่างฟลูออกซิทีน (fluoxetine) หรือพาร็อกซีทีน (paroxetine)
  • ยาในกลุ่มเอสเอ็นอารืไอ (SNRIs) อย่างดูล็อกซีทีน (duloxetine) หรือเวนลาฟาซีน (venlafaxine) ทรามาดอล (tramadol)
  • ยาทริปแทน (triptans) ที่ใช้เพื่อรักษาโรคปวดหัวไมเกรนบางชนิด อย่างริซาทริปแทน (rizatriptan) ซูมาทริปแทน (sumatriptan) หรือซอลมิทริปแทน (zolmitriptan)

ความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการเซโรโทนิน หรือเซโรโทนินเป็นพิษนั้น อาจจะเพิ่มขึ้น หากคุณเริ่มใช้หรือเพิ่มขนาดยาเหล่านี้

ยาบางอย่างอาจมีปฏิกิริยา หากคุณใช้ร่วมกับยาไลนิโซลิด หรือรับประทานภายในไม่กี่สัปดาห์ก่อนหรือหลังจากการใช้ยาไลนิโซลิด แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณใช้ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยาไลนิโซลิด หรือยาที่เพิ่มปริมาณของสารเซโรโทนินภายใน 2 สัปดาห์ก่อนหรือหลังจากใช้ยาไลนิโซลิด

แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณใช้ฟลูออกซิทีน (fluoxetine) ภายใน 5 สัปดาห์ก่อนเริ่มใช้ยาไลนิโซลิด สอบถามแพทย์ถึงระยะเวลาที่คุณควรรอก่อนเริ่มหรือหยุดใช้ยาเหล่านี้ และเริ่มใช้ยาไลนิโซลิด

การรับประทานยาในกลุ่มเอ็มเอโอไออื่นๆ ระหว่างใช้ยานี้อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาของยาที่รุนแรง (อาจถึงแก่ชีวิต) อย่าใช้ยาในกลุ่มเอ็มเอโอไออื่นๆ เช่น ไอโซคาร์บอกซาซิด (Isocarboxazid) เมทิลีน บลู (methylene blue) โมคลอเบไมด์ (moclobemide) เฟนเนลซีน (phenelzine) โพรคาร์เบซีน (procarbazine) ราซาจิลีน (rasagiline) ซาฟินาไมด์ (safinamide) เซเลจิลีน (selegiline) หรือทรานีลไซโพรมีน (tranylcypromine) ขณะที่กำลังใช้ยานี้

ไม่ควรรับประทานยาในกลุ่มเอ็มเอโอไอส่วนใหญ่ เป็นเวลา 2 สัปดาก์ ก่อนหรือหลังจากการรักษาด้วยยานี้ สอบถามแพทย์ถึงเวลาในการเริ่มหรือหยุดใช้ยานี้

ก่อนใช้ยาไลนิโซลิด แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณใช้ยาที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤตร่วมกับยาลีเนโซลิด รวมถึงสมุนไพรอย่างอีเฟดรา (ephedra) หรือมาฮวง (ma huang) ยาแก้แพ้และยาแก้หวัด เช่น ยาแก้คัดจมูก อย่างฟีนิลเอฟรีน (phenylephrine) หรือซูโดเอฟีดรีน (pseudoephedrine) และยากระตุ้นอย่างแอมเฟตามีน (amphetamines) เอฟีดรีน (ephedrine) หรือเอพิเนฟรีน (epinephrine) ยาไลนิโซลิดไม่ควรใช้ร่วมกับยาเหล่านี้ ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

แม้ว่ายาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะส่งผลกระทบต่อการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน อย่างยาคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด หรือห่วงคุมกำเนิด แต่ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่นไรแฟมพิน (rifampin) หรือไรฟาบูติน (rifabutin) สามารถลดประสิทธิภาพของการคุมกำเนิด และส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ หากคุณกำลังคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ยาไลนิโซลิดอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

การรับประทานไทรามีนขณะที่ใช้ยาไลนิโซลิดสามารถเพิ่มระดับความดันโลหิตไปจนถึงระดับที่อันตรายได้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไทรามีนสูงดังต่อไปนี้

  • ชีสหรือเนื้อบ่ม
  • เนื้อหมักดอง รมควัน หรือเนื้อตากแห้ง
  • ซาวเคราท์ (Sauerkraut)
  • ซอสถั่วเหลือง
  • เบียร์ถัง (ทั้งแบบมีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์)
  • ไวน์แดง
  • เนื้อ ชีส หรืออาการโปรตีนอื่นๆ ที่เก็บได้อย่างไม่ถูกต้อง

คุณควรรับทราบรายชื่อของอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงขณะใช้ยาไลนิโซลิด

ยาชนิดนี้อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาไลน์โซลิดอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไลนิโซลิดสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะพิษเพราะติดเชื้อ (Bacteremia)

600 มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 12 ชั่วโมง

ระยะเวลารักษา:

-โรคปอดบวม: 10 ถึง 14 วันติดต่อกัน

-การติดเชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม ที่ดื้อต่อแวนโคมัยซิน (Vancomycin-resistant Enterococcus faecium) : 14 ถึง 28 วันติดต่อกัน

การใช้งาน: สำหรับการรักษาโรคปอดบวมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเนื่องจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) (รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะพิษเพราะติดเชื้อ) หรือเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส Staphylococcus aureus) (เฉพาะสายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินเท่านั้น [methicillin-susceptible])

เพื่อรักษาภาวะปอดอักเสบในโรงพยาบาลเนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (สายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินและดื้อต่อเมทิซิลลิน) หรือเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย

สำหรับรักษาติดเชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม ที่ดื้อต่อแวนโคมัยซิน (รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะพิษเพราะติดเชื้อ)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคปอดบวม (Pneumonia)

600 มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง

ระยะเวลารักษา:

-โรคปอดบวม: 10 ถึง 14 วันติดต่อกัน

-การติดเชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม ที่ดื้อต่อแวนโคมัยซิน (Vancomycin-resistant Enterococcus faecium) : 14 ถึง 28 วันติดต่อกัน

การใช้งาน: สำหรับการรักษาโรคปอดบวมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเนื่องจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) (รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะพิษเพราะติดเชื้อ) หรือเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส Staphylococcus aureus) (เฉพาะสายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินเท่านั้น [methicillin-susceptible])

เพื่อรักษาภาวะปอดอักเสบในโรงพยาบาลเนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (สายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินและดื้อต่อเมทิซิลลิน) หรือเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย

สำหรับรักษาติดเชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม ที่ดื้อต่อแวนโคมัยซิน (รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะพิษเพราะติดเชื้อ)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย

600 มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง

ระยะเวลารักษา:

-โรคปอดบวม: 10 ถึง 14 วันติดต่อกัน

-การติดเชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม ที่ดื้อต่อแวนโคมัยซิน (Vancomycin-resistant Enterococcus faecium) : 14 ถึง 28 วันติดต่อกัน

การใช้งาน: สำหรับการรักษาโรคปอดบวมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเนื่องจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) (รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะพิษเพราะติดเชื้อ) หรือเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส Staphylococcus aureus) (เฉพาะสายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินเท่านั้น [methicillin-susceptible])

เพื่อรักษาภาวะปอดอักเสบในโรงพยาบาลเนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (สายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินและดื้อต่อเมทิซิลลิน) หรือเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย

สำหรับรักษาติดเชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม ที่ดื้อต่อแวนโคมัยซิน (รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะพิษเพราะติดเชื้อ)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะปอดอักเสบในโรงพยาบาล (Nosocomial Pneumonia)

600 มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง

ระยะเวลารักษา:

-โรคปอดบวม: 10 ถึง 14 วันติดต่อกัน

-การติดเชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม ที่ดื้อต่อแวนโคมัยซิน (Vancomycin-resistant Enterococcus faecium) : 14 ถึง 28 วันติดต่อกัน

การใช้งาน:สำหรับการรักษาโรคปอดบวมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเนื่องจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) (รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะพิษเพราะติดเชื้อ) หรือเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส Staphylococcus aureus) (เฉพาะสายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลิน [methicillin-susceptible] เท่านั้น)

เพื่อรักษาภาวะปอดอักเสบในโรงพยาบาลเนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (สายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินและดื้อต่อเมทิซิลลิน) หรือเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย

สำหรับรักษาติดเชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม ที่ดื้อต่อแวนโคมัยซิน (รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะพิษเพราะติดเชื้อ)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อผิวหนังและโครงสร้างผิว

การติดเชื้อที่ซับซ้อน: 600 มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน: 400 มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง

-โรคปอดบวม: 10 ถึง 14 วันติดต่อกัน

การใช้งาน: เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังและโครงสร้างผิวที่ซับซ้อน รวมถึงการติดเชื้อที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยไม่มีโรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ (Osteomyelitis) ร่วมด้วย เนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (สายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินและดื้อต่อเมทิซิลลิน) เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ไพโอจีนัส (S pyogenes) หรือเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส อะกะลทิเอ (S agalactiae)

สำหรับการรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังและโครงสร้างผิวที่ไม่ซับซ้อนเนื่องจากการติดเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (เฉพาะสายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินเท่านั้น) หรือเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ไพโอจีนัส

การฟอกไต

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis): ควรให้ยาหลังจากการฟอกไต

การฟอกไตผ่านทางช่องท้อง (Peritoneal dialysis): ไม่มีข้อมูล

คำแนะนำ:

ประมาณ 30% ยาจะถูกกำจัดในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 3 ชั่วโมงหลังจากเริ่มให้ยา 3 ชั่วโมง

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำการให้ยา

  • ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ:หยอดยาเข้าหลอดเลือดดำนานกว่า 30 ถึง 120 นาที อย่าใช้ถุงน้ำเกลือสำหรับหยอดยานี้ในการให้ยาครั้งต่อไป
  • ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ: เมื่อใช้ร่วมกับยาอื่น ควรให้ยาแยกกัน (ตามความเหมาะสมของยา) หากต้องใช้หลอดฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำเส้นเดียวกันสำหรับยาหลายๆ ชนิด ให้ล้างหลอดยานั้นด้วยสารละลายที่เข้ากันก่อนและหลังจากให้ยานี้
  • อย่าปรับขนาดยาเมื่อเปลี่ยนจากการหยอดยาเข้าหลอดเลือดดำเป้นยาแบบรับประทาน (ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยา)
  • ยารับประทาน: สามารถรับประทานโดยไม่ต้องคำนึงถึงอาหาร
  • ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน: ก่อนใช้ยาควรผสมยาเบาๆ โดยการคว่ำขวดยา 3 ถึง 5 ครั้ง ห้ามเขย่าขวดยา
  • อย่าใช้ยานี้สำหรับการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมลบ (gram-negative infections) หากใช้ร่วมกับผู้ที่ยืนยันหรือต้องสงสัยว่าติดเชื้อแกรมลบ จะต้องเริ่มการรักษาเชื้อแกรมลบนั้นโดยทันที

การเก็บรักษา

  • เก็บรักษาที่ 25 องศาเซียสเซียส (77 ฟาเรนไฮต์) และป้องกันจากแสง
  • ปิดฝาขวดยาให้แน่นและเก็บให้พ้นความชื้น
  • เก็บถุงน้ำเกลือสำหรับหยอดยาไว้ในห่อขนกว่าจะพร้อมใช้งาน อย่าแช่แข็ง
  • กำจัดยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทานหลังจากคืนรูปแล้ว 21 วัน

เทคนิคการคืนรูปยาหรือการเตรียมตัว

ควรศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิต

ความเข้ากันของยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (IV compatibility)

  • สารละลายฉีดเข้าหลอดเลือดดำที่เข้ากันได้: สารละลายน้ำเกลือ 0.9% เภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา (USP) เดกซ์โทรส (Dextrose) สำหรับฉีด 5% เภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา สารละลายแลคเตทริงเกอร์สำหรับฉีด (Lactated Ringer’s Injection) เภสัชตํารับของประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ความไม่เข้ากันทางเคมี (Chemically incompatible): เซฟไตรอะโซน โซเดียม (Ceftriaxone sodium)
  • ความไม่เข้ากันทางกายภาพ (Physically incompatible): แอมโฟเทอริซิน บี (Amphotericin B) คลอร์โปรมาซีน ไฮโดรคลอไรด์ (chlorpromazine hydrochloride) ไดอะซีแพม (diazepam) เพนทามิดีน ไอเซไทโอเนต (pentamidine isethionate) อิริโทรมัยซิน แลคโทไบโอเนต (erythromycin lactobionate) เฟนิโทอิน โซเดียม (phenytoin sodium) ซัลฟาเมทอกซาโซน-ไตรเมโทพริม (sulfamethoxazole-trimethoprim)
  • ไม่ควรเพิ่มสารเติมแต่งลงในสารละลายสำหรับฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ

ทั่วไป

  • เพื่อลดการเกิดเชื้อที่ดื้อยาและรักษาระดับประสิทธิภาพของการรักษา ควรใช้ยานี้เพื่อรักษาหรือป้องกันการติดเชื้อที่ได้รับการพิสูจน์หรือต้องสงสัยอย่างมากว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีปฏกิกิริยาไวเท่านั้น ยานี้ไม่มีผลต่อเชื้อแกรมลบ
  • ควรพิจารณาการเพาะเชื้อและข้อมูลเกี่ยวกับปฏิกิริยาไวเมื่อเลือกหรือปรับเปลี่ยนการรักษาต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือหากไม่มีข้อมูลอาจพิจารณาข้อมูลระบาดวิทยาท้องถิ่น (local epidemiology) และรูปแบบเกี่ยวกับปฏิกิริยาไวเมื่อเลือกการรักษาครอบคลุมอย่างกว้างๆ (empiric therapy)
  • ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยานี้ที่เกินกว่า 28 วัน

การเฝ้าระวัง

  • หัวใจและหลอดเลือด: For potential blood pressure increases (the manufacturer product information should be consulted regarding patient population)
  • เลือด: ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (รายสัปดาห์)
  • ระบบประสาท: หาสัญญาณและอาการของกลุ่มอาการเซโรโทนินหรืออาการที่เหมือนกับกลุ่มอาการนิวโรเล็ปติกร้ายแรง (neuroleptic malignant syndrome) (ควรมีการศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตเกี่ยวกับประชากรผู้ป่วยและระยะเวลาเฝ้าระวัง)
  • ดวงตา: สมรรถภาพการมองเห็น (ควรมีการศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตสำหรับแนวทางเพิ่มเติม)

คำแนะนำผู้ป่วย

  • หลีกเลี่ยงการข้ามมื้อยาและเสร็จสิ้นชุดการรักษาทั้งหมด
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสารไทรามีนสูงในปริมาณมาก (เช่นชีสบ่ม เนื้อหมักหรือตากแห้ง ซาวเคราท์ ซอสถั่วเหลือง เบียร์ถัง ไวน์แดง) ขณะที่กำลังใช้ยานี้
  • ปรึกษาแพทย์หากการมองเห็นเปลี่ยนแปลง
  • หากคุณเป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (phenylketonuria) ควรรับทราบว่ายาแขวนตะกอนแบบรับประทานนั้นมีสารฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) 20 มก./5 มล. โปรดปรึกษาแพทย์
  • ปรึกษาแพทย์หากคุณมีอาการท้องเสียไหลเป็นน้ำหรือมีเลือดปน (โดยมีหรือไม่มีอาการปวดท้องและไข้)
  • ปรึกษาแพทย์หากเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ

ขนาดยาไลนิโซลิดสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะพิษเพราะติดเชื้อ (Bacteremia)

  • อายุน้อยกว่า 7 วัน อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์: 10 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุน้อยกว่า 7 วัน อายุครรภ์อย่างน้อย 34 สัปดาห์: 10 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 7 วันถึง 11 ปี: 10 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 12 ปีขึ้นไป: 600 มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง

ระยะเวลาการรักษา

  • โรคปอดบวม: 10 ถึง 14 วันติดต่อกัน
  • การติดเชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม ที่ดื้อต่อแวนโคมัยซิน (Vancomycin-resistant Enterococcus faecium) : 14 ถึง 28 วันติดต่อกัน

คำแนะนำ

สำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดที่อายุน้อยกว่า 7 วัน (อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์) ที่มีการตอบสนองทางการแพทย์ที่ไม่ค่อยดีอาจพิจารณาใช้ยาในขนาด 10 มก./กก. ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การใช้งาน

สำหรับการรักษาโรคปอดบวมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเนื่องจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) (รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะพิษเพราะติดเชื้อ) หรือเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส Staphylococcus aureus) (เฉพาะสายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินเท่านั้น [methicillin-susceptible])

เพื่อรักษาภาวะปอดอักเสบในโรงพยาบาลเนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (สายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินและดื้อต่อเมทิซิลลิน) หรือเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย

สำหรับรักษาติดเชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม ที่ดื้อต่อแวนโคมัยซิน (รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะพิษเพราะติดเชื้อ)

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคปอดบวม (Pneumonia)

  • อายุน้อยกว่า 7 วัน อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์: 10 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุน้อยกว่า 7 วัน อายุครรภ์อย่างน้อย 34 สัปดาห์: 10 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 7 วันถึง 11 ปี: 10 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 12 ปีขึ้นไป: 600 มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง

ระยะเวลาการรักษา

  • โรคปอดบวม: 10 ถึง 14 วันติดต่อกัน
  • การติดเชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม ที่ดื้อต่อแวนโคมัยซิน (Vancomycin-resistant Enterococcus faecium) : 14 ถึง 28 วันติดต่อกัน

คำแนะนำ

สำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดที่อายุน้อยกว่า 7 วัน (อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์) ที่มีการตอบสนองทางการแพทย์ที่ไม่ค่อยดีอาจพิจารณาใช้ยาในขนาด 10 มก./กก. ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การใช้งาน

สำหรับการรักษาโรคปอดบวมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเนื่องจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) (รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะพิษเพราะติดเชื้อ) หรือเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส Staphylococcus aureus) (เฉพาะสายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินเท่านั้น [methicillin-susceptible])

เพื่อรักษาภาวะปอดอักเสบในโรงพยาบาลเนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (สายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินและดื้อต่อเมทิซิลลิน) หรือเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย

สำหรับรักษาติดเชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม ที่ดื้อต่อแวนโคมัยซิน (รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะพิษเพราะติดเชื้อ)

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย

  • อายุน้อยกว่า 7 วัน อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์: 10 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุน้อยกว่า 7 วัน อายุครรภ์อย่างน้อย 34 สัปดาห์: 10 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 7 วันถึง 11 ปี: 10 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 12 ปีขึ้นไป: 600 มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง

ระยะเวลาการรักษา

  • โรคปอดบวม: 10 ถึง 14 วันติดต่อกัน
  • การติดเชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม ที่ดื้อต่อแวนโคมัยซิน (Vancomycin-resistant Enterococcus faecium) : 14 ถึง 28 วันติดต่อกัน

คำแนะนำ

สำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดที่อายุน้อยกว่า 7 วัน (อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์) ที่มีการตอบสนองทางการแพทย์ที่ไม่ค่อยดีอาจพิจารณาใช้ยาในขนาด 10 มก./กก. ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การใช้งาน

สำหรับการรักษาโรคปอดบวมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเนื่องจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) (รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะพิษเพราะติดเชื้อ) หรือเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส Staphylococcus aureus) (เฉพาะสายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินเท่านั้น [methicillin-susceptible])

เพื่อรักษาภาวะปอดอักเสบในโรงพยาบาลเนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (สายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินและดื้อต่อเมทิซิลลิน) หรือเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย

สำหรับรักษาติดเชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม ที่ดื้อต่อแวนโคมัยซิน (รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะพิษเพราะติดเชื้อ)

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะปอดอักเสบในโรงพยาบาล (Nosocomial Pneumonia)

  • อายุน้อยกว่า 7 วัน อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์: 10 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุน้อยกว่า 7 วัน อายุครรภ์อย่างน้อย 34 สัปดาห์: 10 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 7 วันถึง 11 ปี: 10 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 12 ปีขึ้นไป: 600 มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง

ระยะเวลาการรักษา

  • โรคปอดบวม: 10 ถึง 14 วันติดต่อกัน
  • การติดเชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม ที่ดื้อต่อแวนโคมัยซิน (Vancomycin-resistant Enterococcus faecium) : 14 ถึง 28 วันติดต่อกัน

คำแนะนำ

สำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดที่อายุน้อยกว่า 7 วัน (อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์) ที่มีการตอบสนองทางการแพทย์ที่ไม่ค่อยดีอาจพิจารณาใช้ยาในขนาด 10 มก./กก. ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การใช้งาน

สำหรับการรักษาโรคปอดบวมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเนื่องจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) (รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะพิษเพราะติดเชื้อ) หรือเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส Staphylococcus aureus) (เฉพาะสายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินเท่านั้น [methicillin-susceptible])

เพื่อรักษาภาวะปอดอักเสบในโรงพยาบาลเนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (สายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินและดื้อต่อเมทิซิลลิน) หรือเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย

สำหรับรักษาติดเชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม ที่ดื้อต่อแวนโคมัยซิน (รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะพิษเพราะติดเชื้อ)

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือโครงสร้างผิว

การติดเชื้อที่มีอาการแทรกซ้อน

  • อายุน้อยกว่า 7 วัน อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์: 10 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุน้อยกว่า 7 วัน อายุครรภ์อย่างน้อย 34 สัปดาห์: 10 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 7 วันถึง 11 ปี: 10 มก./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 12 ปีขึ้นไป: 600 มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหรือรับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง

การติดเชื้อที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน

  • อายุน้อยกว่า 7 วัน อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์: 10 มก./กก. รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุน้อยกว่า 7 วัน อายุครรภ์อย่างน้อย 34 สัปดาห์: 10 มก./กก. รับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 7 วันจนถึงน้อยกว่า 5 ปี: 10 มก./กก. รับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 5 จนถึง 11 ปี: 10 มก./กก. รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุ 12 ปีขึ้นไป: 600 มก. รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง

ระยะเวลาการรักษา

10 ถึง 14 วันติดต่อกัน

คำแนะนำ

สำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดที่อายุน้อยกว่า 7 วัน (อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์) ที่มีการตอบสนองทางการแพทย์ที่ไม่ค่อยดีอาจพิจารณาใช้ยาในขนาด 10 มก./กก. ทุกๆ 8 ชั่วโมง

การใช้งาน

เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังและโครงสร้างผิวที่ซับซ้อน รวมถึงการติดเชื้อที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยไม่มีโรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ (Osteomyelitis) ร่วมด้วย เนื่องจากเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (สายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินและดื้อต่อเมทิซิลลิน) เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ไพโอจีนัส (S pyogenes) หรือเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส อะกะลทิเอ (S agalactiae)

สำหรับการรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังและโครงสร้างผิวที่ไม่ซับซ้อนเนื่องจากการติดเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (เฉพาะสายพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อเมทิซิลลินเท่านั้น) หรือเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ไพโอจีนัส

รูปแบบยาไลนิโซลิด

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • สารละลายสำหรัลฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
  • ยาผงสำหรับเตรียมสารละลาย

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

linezolid (oral/injection). https://www.drugs.com/mtm/linezolid-oral-injection.html. Accessed March 6, 2018.

Linezolid Tablet. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-18168-6154/linezolid-oral/linezolid-oral/details. Accessed March 6, 2018.

Linezolid. https://www.drugbank.ca/drugs/DB00601. Accessed 10 October 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่องคลอดอักเสบ ปัญหาสุขภาพสตรีที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย

แหล่งสะสม แบคทีเรีย ในบ้านที่เราอาจคาดไม่ถึง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา