backup og meta

ทำความรู้จัก อาการยึกยือ อวัยวะเคลื่อนไหวเองแบบไม่ได้ตั้งใจ

ทำความรู้จัก อาการยึกยือ อวัยวะเคลื่อนไหวเองแบบไม่ได้ตั้งใจ
ทำความรู้จัก อาการยึกยือ อวัยวะเคลื่อนไหวเองแบบไม่ได้ตั้งใจ

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ อาการยึกยือ อีกหนึ่งความผิดปกติทางระบบประสาท โดยมักเกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยารักษาโรคจิตเภท  ส่งผลให้กล้ามเนื้อขยับเองโดยไม่สามารถควบคุมได้ เช่น นิ้วกระตุกเอง แขนสะบัดเองโดยไม่ตั้งใจ เป็นต้น

ทำความรู้จัก อาการยึกยือ (Tardive Dyskinesia)

อาการยึกยือ (Tardive Dyskinesia)  เกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยารักษาทางจิตเภท ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ตากระพริบเอง นิ้วกระตุก อย่างไรก็ตาม อาการยึกยือไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่ทานยารักษาโรคทางจิตเภท ดังนั้นหากคุณรับประทานยาทางจิตเภทและพบว่าตนเองมีอาการเสี่ยงต่อการเป็นอาการยึกยือควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

สาเหตุของอาการยึกยือ

สาเหตุของอาการยึกยือ เกิดจากผลข้างเคียงของการรับประทานยาที่รักษาโรคทางจิตเภท โดยยาที่รักษาโรคจิตเภทจะไปยับยั้งการทำงานของสารโดพามีน (Dopamine)  (สารโดพามีนมีหน้าที่ช่วยให้ระบบกล้ามเนื้อสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น) โดยเฉพาะในผู้ที่รับประทานยารักษาโรคทางจิตเภทนาน 3 เดือน ขึ้นไปมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการยึกยือ ซึ่งยาส่วนใหญ่ที่มีผลต่อการเกิดอาการยึกยือ มีดังต่อไปนี้

  • ยาฮาโลเพอริดอล (Haloperidol)
  • ยาฟลูนาริซีน (Flunarizine)
  • ยาริสเพอริโดน (Risperidone)
  • โอแลนซาปีน (Olanzapine)

หากคุณรับประทานยาที่เกี่ยวกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน กรดไหลย้อน และยาที่ใช้ในการรักษาเกี่ยวกับโรคกระเพาะ นานเกิน 3 เดือน อาจทำให้เกิดอาการยึกยือได้เช่นกัน เช่น

  • ยาเมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide)
  • คลอร์โปรมาซีน (Chlorpromazine)

นอกจากนี้ยังสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการยึกยือ เช่น ผู้หญิงสูงอายุวัย 55 ปี หมดวัยประจำเดือน, ผู้ที่ใช้แอลกอฮอล์หรือสารเคมีในทางที่ผิด และผู้ที่มีเชื้อสายเอเชียอเมริกัน เป็นต้น

สัญญาณเตือนอาการยึกยือ

อาการยึกยือส่งผลให้กล้ามเนื้อของผู้ป่วยเคลื่อนไหวเองโดยไม่สามารถควบคุมด้วย รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • แลบลิ้นออกมาเองโดยไม่ได้ตั้งใจ
  • ตากระพริบเอง
  • คิ้วกระตุก
  • นิ้วกระดิกเอง
  • เม้มปาก
  • แขนสะบัดเอง
  • แกว่งแขน
  • ย่ำเท้า
  • เอวกระตุก

วิธีการรักษา

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย หากคุณต้องรับประทานยาที่รักษาโรคทางจิตเภทและมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวเอง แพทย์อาจปรับเปลี่ยนยาเพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงสำหรับผู้ป่วย เช่น

  • ยาดูเตตราเบนาซีน (Deutetrabenazine)
  • ยาวาลเบนาซีน (Valbenazine)

โดยยาทั้ง 2 ชนิดนี้ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (Food and Drug Administration : FDA) เพื่อควบคุมการทำงานของโดพามีนบริเวณสมองและควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tardive Dyskinesia. https://www.webmd.com/mental-health/tardive-dyskinesia#1. Accessed on August 24, 2020.

Tardive Dyskinesia. https://emedicine.medscape.com/article/1151826-overview. Accessed on August 24, 2020.

Tardive Dyskinesia. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK448207/. Accessed on August 24, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/08/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

อัมพาต สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

กล้ามเนื้อกระตุก อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและป้องกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา