backup og meta

เมื่อความหวานทำลายหัวใจ : น้ำตาลกับสุขภาพหัวใจ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 18/05/2021

    เมื่อความหวานทำลายหัวใจ : น้ำตาลกับสุขภาพหัวใจ

    น้ำตาล คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่ตามธรรมชาติในอาหารหลากหลายชนิด ซึ่งมีทั้งประโยชน์และโทษ น้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย แต่ในขณะเดียวกัน การรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปก็ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคอ้วน เบาหวาน นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นถึงถึงความเชื่อมโยงของการบริโภค น้ำตาลกับสุขภาพหัวใจ โดยระบุว่าหากได้รับน้ำตาลในปริมาณมาก ก็สามารถทำลายเนื้อเยื่อหัวใจได้

    น้ำตาลกับสุขภาพหัวใจ ส่งผลต่อกันอย่างไรบ้าง

    หนึ่งในงานวิจัยชี้ว่า การกินน้ำตาลปริมาณมากสามารถทำลายเนื้อเยื่อหัวใจ นอกจากนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแบบเรื้อรัง ซึ่งเป็นผลมาจากโรคเบาหวานที่ไม่มีการควบคุม จะนำไปสู่โรคหัวใจ หรือก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

    เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป อินซูลินที่เพิ่มขึ้นในกระแสเลือดจะส่งผลกระทบต่อหลอดเลือด  มันจะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว นำไปสู่โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงอย่างต่อเนื่องยังไปลดประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเสียหาย เมื่อเวลาผ่านไป จะนำไปสู่โรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว และโรคเส้นเลือดในสมอง ได้ในที่สุด

    นอกจากนี้ การวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า การกินน้ำตาลน้อยลงจะช่วยลดความดันโลหิตซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคหัวใจ ผู้ที่กินน้ำตาลเพิ่มจำนวนมาก ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 25% ของแคลอรี่ที่มาจากน้ำตาล มีโอกาสเสี่ยงเป็นสองเท่าที่จะตายจากโรคหัวใจของผู้ที่มีการเพิ่มน้ำตาลน้อยกว่า 10% ของน้ำตาลทั้งหมด

    บทความในวารสารการแพทย์ JAMA Internal Medicine ระบุว่าตลอดระยะเวลาการศึกษา 15 ปีพบว่าการบริโภคน้ำตาลสูงมีความสัมพันธ์กับอัตราความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ โดยผู้ที่ได้รับสัดส่วนน้ำตาลร้อยละ 17-21 จากพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน จะมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคเกี่ยวกับหัวใจสูงกว่าผู้ที่บริโภคน้ำตาลเพียงร้อยละ 8 จากพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน โดยรวมแล้ว อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของน้ำตาลในอาหาร โดยไม่ได้คำนึงถึงอายุ เพศ ระดับการออกกำลังกายและน้ำหนัก

    นอกจากนี้ น้ำตาลส่วนเกินที่อาจเป็นอันตรายต่อหัวใจ จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสามารถเพิ่มความดันโลหิต ดังนั้น อาหารที่มีน้ำตาลสูงอาจกระตุ้นให้ตับทิ้งไขมันที่เป็นอันตรายเข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าปัจจัยทั้งสองจะช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

    เราควรบริโภคน้ำตาลเท่าไรถึงจะดี ?

    องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) แนะนำว่าทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 5% ของปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน หรือประมาณ 25 กรัม (6 ช้อนชา) เพื่อสุขภาพที่ดี  และลดความเสี่ยงในการเกิดโรค

    วิธีการลดปริมาณน้ำตาลจากการกิน

    การกินอาหารน้ำตาลสูงมีผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพมากมาย เราอาจจะต้องปรับพฤติกรรมการบริโภคใหม่ เพื่อไม่เพิ่มน้ำตาลให้กับร่างกายมากเกินไป เช่น

    • ดื่มกาแฟดำ หรือใช้ หญ้าหวาน ซึ่งเป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติ เติมความหวานแทนน้ำตาล
    • เลือกโยเกิร์ตรสธรรมชาติ โดยอาจเพิ่มหวานด้วยเบอร์รี่สดหรือแช่แข็งแทนการซื้อโยเกิร์ตรสชาติอื่น ๆ ที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
    • กินผลไม้สด ๆ แทนน้ำผลไม้
    • เลือกกินผลไม้ ถั่ว และดาร์คช็อคโกแลตเล็กน้อย แทนขนมขบเคี้ยว
    • กินซีเรียลหรือกราโนลาที่มีน้ำตาลต่ำกว่า 4 กรัมต่อหน่วยบริโภค
    • เตรียมอาหารเพื่อสุขภาพที่บ้าน และหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง

    การรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไป ย่อมทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวานมากเกินไป สามารถนำไปสู่ปัญหาน้ำหนักเกิน ปัญหาระดับน้ำตาลในเลือด และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจ

    ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ควรลดการบริโภคน้ำตาลให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากการงดอาหารหวานทุกชนิดเป็นเรื่องยากสำหรับคุณ ลองค่อย ๆ ลดปริมาณน้ำตาลที่เติมลงในอาหารของคุณก่อน อาจจะลองทำการเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มจากลดปริมาณลงเพียงเล็กน้อย และค่อย ๆ ลดลงจนไม่เติมเล

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 18/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา