backup og meta

เทคนิคการ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างเหมาะสม

เทคนิคการ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างเหมาะสม

โรคหลอดเลือดสมอง ถือเป็นโรคที่พบบ่อยในคนไทย และเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการทำให้เกิดภาวะพิการบางส่วน หรือทั้งหมดของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในดำเนินการชีวิตตามปกติ จำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด แต่การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากโรคหลอดเลือดสมองอาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้ดูแลจำเป็นต้องมีความเข้าใจในภาวะดังกล่าว รวมถึงต้องเข้าใจสภาพจิตใจ และความรู้สึกของผู้ป่วยด้วย บทความนี้จึงขอนำเสนอเทคนิคดีๆ ขั้นพื้นฐาน ของการ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งทางร่างกายและสภาพจิตใจ

โรคหลอดเลือดสมองส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

หนึ่งในประเภทของโรคหลอดเลือดในสมอง คือ ภาวะสมองขาดเลือด ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของสมอง เกิดการติดขัด หรือลดลงอย่างรุนแรง โดยส่งผลให้เซลล์สมองในบริเวณนั้นตายลง หลัง 2-3 นาทีผ่านไป เพราะขาดออกซิเจนและสารอาหาร ดังนั้น การที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสามารถได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จึงมีความสำคัญมากในการลดความเสียหายที่เกิดกับสมอง และอาการแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

หนึ่งในอาการแทรกซ้อนที่สำคัญของภาวะสมองขาดเลือด คือ การสูญเสียการควบคุมร่างกายบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น คนที่มีอาการสมองซีกซ้ายเป็นอัมพาตอาจมองไปทางด้านขวาได้ลำบาก ในคนที่มีอาการอัมพาตบางส่วน โดยไม่ใช้งานเป็นประจำ ร่างกายส่วนนั้นอาจมี ภาวะละเลย (neglect)

ต่อไปนี้ คือ สัญญาณที่แสดงว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะสมองขาดเลือดนั้นกำลังเผชิญกับ ภาวะละเลย (neglect) ซึ่งจะสามารถช่วยให้ผู้รักษาหรือผู้ดูแลเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและหาวิธีรักษาหรือป้องกันได้ทันเวลา โดยสัญญาณของ ภาวะละเลย มักพบในกรณีดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยใช้เพียงมือหรือเท้าของซีกที่มีอาการเท่านั้น
  • ผู้ป่วยใช้สายตาด้านที่ไม่เกิดอาการเท่านั้น
  • ผู้ป่วยไม่สามารถจดจำบุคคลที่เข้าหาทางด้านที่เกิดอาการ
  • ผู้ป่วยตอบสนองกับวัตถุที่เห็นได้ตามปกติเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เช่นรับประทานอาหารในจานจากเพียงซีกเดียวเท่านั้น
  • ผู้ป่วยสับสนระหว่างมือและเท้าของตัวเองและผู้อื่น
  • ผู้ป่วยไม่สามารถกะระยะของวัตถุสิ่งของที่อยู่บริเวณด้านที่เกิดอาการได้อย่างถูกต้อง อาจเห็นว่าวัตถุนั้นๆ อยู่ใกล้หรือไกลกว่าความเป็นจริง โดยอาจไปสัมผัสกับวัตถุโดยบังเอิญ และเกิดการบาดเจ็บได้

วิธีการ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ต้องทำอย่างไรบ้าง

บุคคลที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะสมองขาดเลือด และเกิดภาวะละเลยนั้น มักจะประสบกับปัญหาในการดูแล และไม่ทราบวิธีจัดการแบบเฉพาะหน้า เคล็ดลับต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม

  • ลดสิ่งที่ทำให้เสียสมาธิ บริเวณร่างกายด้านที่เป็นปกติ ซึ่งอาจรวมถึงวัตถุที่เคลื่อนที่ได้หรือแสงสว่างจ้าในบริเวณใกล้ตัวผู้ป่วย
  • จัดระเบียบสิ่งของเครื่องใช้ โดยจัดวางสิ่งที่จำเป็นต้องใช้บ่อยที่สุด ให้อยู่ทางร่างกายด้านที่ใช้การได้ของผู้ป่วย และกระตุ้นให้พวกเขาใช้ร่างกายซีกที่ใช้งานไม่คล่อง เอื้อมไปหยิบจับเครื่องใช้จำเป็นต่างๆ (เช่น โทรศัพท์ หนังสือหรือแว่นตา) จากด้านนั้น
  • เตือนให้ผู้ป่วยเอาใจใส่ร่างกายซีกที่เกิดอาการ โดยการติดระฆังใบเล็กๆ หรือริบบิ้นสีสดใสที่แขนหรือขาที่เกิดอาการ อาจช่วยเป็นสิ่งเตือนใจผู้ป่วยได้ทางหนึ่ง
  • ชี้จุดสังเกตให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าด้านไหนคือขวา และด้านไหนคือซ้าย เมื่อเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ควรจำไว้ว่า ผู้ป่วยอาจมองสิ่งแวดล้อมรอบตัวไปในทิศที่ร่างกายใช้การได้เพียงด้านเดียว ดังนั้น ผู้ดูแลควรชี้ให้ผู้ป่วยจำจุดสังเกตต่างๆ ที่จะทำให้เขาสามารถมองเห็นทั้งสองด้าน เพื่อฝึกการใช้งานร่างกายทั้ง 2 ฝั่ง
  • คอยชี้ทางบ่อยๆ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหันมองไปยังสิ่งแวดล้อมรอบตัว

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Stroke: Problems With Ignoring the Affected Side – Topic Overview. http://www.webmd.com/stroke/tc/stroke-problems-with-ignoring-the-affected-side-topic-overview. Accessed September 10th, 2016.

One-side Neglect: Improving Awareness to Speed Recovery. http://www.strokeassociation.org/STROKEORG/LifeAfterStroke/RegainingIndependence/EmotionalBehavioralChallenges/One-side-Neglect-Improving-Awareness-to-Speed-Recovery_UCM_309735_Article.jsp#.V8_aPa2ZHIU. Accessed September 10th, 2016.

Stroke. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/stroke/home/ovc-20117264. Accessed September 10th, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/07/2020

เขียนโดย พิมพร เส็นติระ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: แวววิกา ศรีบ้าน


บทความที่เกี่ยวข้อง

การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ต้องทำอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหน

ประโยชน์ของโบท็อกซ์ กับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พิมพร เส็นติระ · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา