backup og meta

ฟอกตับ ขับสารพิษจากตับด้วยวิธีธรรมชาติทำได้อย่างไร?

ฟอกตับ ขับสารพิษจากตับด้วยวิธีธรรมชาติทำได้อย่างไร?

คุณทราบหรือไม่ว่า ตับของคุณอาจเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักที่สุดในร่างกาย นอกเหนือไปจากหัวใจ และตับถือเป็นอวัยวะรับหน้าที่ที่อันตรายที่สุดหน้าที่หนึ่ง นั่นคือการฟอกเลือดจากบิลลิรูบิน (bilirubin) แอมโมเนีย (ammonia) และสารพิษอื่นๆ การ ฟอกตับ เพื่อให้ตับปราศจากสารพิษตกค้าง จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดี พร้อมกับสุขภาพตับที่แข็งแรง และการฟอกตับด้วยการรับประทานอาหาร ที่ช่วยขับสารพิษจากตับได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นวิธีที่คุณสามรถทำได้เอง

ควรล้างพิษในตับเมื่อไร

ตับทำงานตลอดเวลาเพื่อฟอกเลือด ผลิตน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน และทำให้ฮอร์โมนแตกตัว และจัดเก็บวิตามิน แร่ธาตุ และธาตุเหล็กที่สำคัญ หน้าที่หลักของตับคือ การแยกสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ออกจากสารที่ไม่จำเป็น แต่เมื่อตับมีสารพิษสะสมอยู่มาก ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพน้อยลง ในการจัดการกับสารอาหารและไขมันต่างๆ คุณจะเกิดอาการดังต่อไปนี้

  • ท้องบวมนูน
  • อาการไม่สบายบริเวณตับ (บริเวณท้องด้านขวาบนใต้ซี่โครง)
  • ไขมันหน้าท้องมากเกินไป หรือลงพุงหรือชั้นไขมันบริเวณช่องท้องส่วนบน
  • ปัญหาการย่อยอาหารที่มีไขมันสูง
  • ถุงน้ำดีถูกตัดออกไป
  • กรดไหลย้อน
  • มีจุดคล้ำที่ผิวหนัง
  • อุณหภูมิในร่างกายร้อนเกินไปและเหงื่อออกมากเกินไป
  • เกิดสิว โรคโรซาเชีย หรือคันที่ผิวหนังหรือเป็นด่าง
  • น้ำหนักเพิ่มไม่ทราบสาเหตุ และไม่สามารถลดน้ำหนักได้ แม้จะมีการควบคุมปริมาณแคลอรี่

หากคุณสังเกตสัญญาณที่กล่าวมา คุณอาจต้องทำการล้างพิษในตับ ไม่ว่าคุณจะเป็นโรคตับหรือไม่ก็ตาม

วิธีการเริ่มรับประทานอาหารสำหรับล้างพิษในตับ

การล้างพิษตับด้วยอาหาร ไม่จำเป็นต้องกินอาหารพิเศษอย่างที่มีการโฆษณา แต่อาหารที่รับประทานในการล้างพิษจากตับ เป็นอาหารธรรมดาที่มีส่วนผสมตามธรรมชาติ ที่ไม่ใส่น้ำตาล หรืออาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการ วิธีการล้างพิษด้วยอาหาร มีดังนี้

หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา

แอลกอฮอล์ที่อยู่ในสุราเป็นสารที่เป็นอันตราย และตับต้องใช้พลังงานใมากนการกำจัดสารพิษประเภทนี้ออกจากเลือด ในระหว่างกระบวนการ ตับจะใช้พลังงานการเผาผลาญส่วนหนึ่งซึ่งทำให้น้ำหนักลดลง ง่วงซึม อ่อนเพลียและง่วงนอน คุณจึงควรหลีกเลี่ยงสารต่างๆเหล่านั้น

ดื่มน้ำมากๆ

ไม่มีอะไรดีกว่าการขจัดสารพิษจากตับด้วยน้ำสะอาด น้ำมีส่วนผสมของแร่ธาตุทางธรรมชาติ หากมาจากแหล่งน้ำที่สะอาดซึ่งไม่มีสารปนเปื้อน เช่น คาร์บอนและคลอรีน นอกจากนี้ การใส่น้ำมะนาวผสมลงในน้ำ เพื่อช่วยเพิ่มความเป็นกรด และมีคุณสมบัติในการทำความสะอาด มะนาวและผลไม้รสเปรี้ยวต่างๆ มีส่วนผสมของวิตามินซีและแร่ธาตุสูง ที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ และเพิ่มประสิทธิภาพการฟอกสารพิษของตับได้อีกด้วย

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

การรับประทานอาหารสด และปราศจากสารปนเปื้อน ที่มีส่วนประกอบของแมกนีเซียม คลอโรฟิล วิตามินเอและซี ตลอดจน ผักและผลไม้สด อาหารเหล่านี้ให้สารอาหารที่บริสุทธิ์สำหรับตับ ในการกำจัดสารพิษ และสร้างเลือดใหม่ เพื่อเพิ่มพลังงานแก่ร่างกาย

หลีกเลี่ยงการรับประทานไขมันเลว

หน้าที่ของตับคือการผลิตน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน ดังนั้น คุณควรแน่ใจว่าคุณสามารถจำประเภทของไขมันที่คุณควรและไม่ควรรับประทานได้ นั่นคือควรหลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ ที่ทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน และน้ำมันพืช เช่น น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันถั่วเหลือง ก็เช่นกัน แต่คุณก็ยังมีทางเลือกมากมายในการรับประทานไขมัน เช่น อัลมอนด์ มะพร้าว วอลนัท เฮมป์ เมล็ดเจีย เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน มะกอก และอะโวคาโด ซึ่งเป็นแหล่งไขมันที่ดีที่สุดที่คุณสามารถรับประทานได้

หากคุณตระหนักได้ว่า คุณมีสัญญาณเกี่ยวกับปัญหาตับที่ไม่ดี คุณทำการล้างพิษในตับทันที นั่นหมายความว่า ควรกำจัดอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลและไขมันสูง รวมถึงสารพิษอื่นๆ ออกไปจากชีวิต วิธีการนี้ไม่เพียงจะทำให้คุณมีสุขภาพตับที่ดีขึ้นแล้ว ยังทำให้คุณมีสุขภาพโดยรวมที่ดีขึ้นด้วย

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to Detox Your Liver. http://www.onegreenplanet.org/natural-health/how-to-detox-your-liver/. Accessed September 20, 2016.

Ten Signals Your Liver Needs to Detox. http://nourishholisticnutrition.com/ten-signals-your-liver-needs-to-detox/. Accessed September 20, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/07/2020

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: pimruethai


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคตับกับอาหาร ควรรับประทานอย่างไรให้เหมาะสมกับสุขภาพ

ภาวะไขมันพอกตับ กับอาหารที่ควรกินเพื่อเยียวยาอาการนี้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา