backup og meta

ปัจจัยเสี่ยง กระตุ้นอาการหอบหืด ที่คุณควรรู้จักไว้

ปัจจัยเสี่ยง กระตุ้นอาการหอบหืด ที่คุณควรรู้จักไว้

โรคหอบหืดเป็นโรคเกี่ยวกับอาการอักเสบเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ เมื่อระบบทางเดินหายใจเกิดการอักเสบ จะเกิดอาการบวม และนำไปสู่การหดเกร็ง เมื่อมีสิ่งกระตุ้น (สารที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้) ให้ผู้ป่วยเกิดอาการต่างๆ เช่น ไอ เจ็บหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหายใจลำบาก มาทำความรู้จักกับ ปัจจัยเสี่ยง ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ หอบหืด จากบทความนี้

ปัจจัยเสี่ยง ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ หอบหืด

  • เชื้อไวรัสเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • การสูดดมกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ควันบุหรี่ เขม่าควัน
  • สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เช่น ละอองเกสร ขนสัตว์ ฝุ่นในอากาศ
  • การออกแรงที่มากเกินไป
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อากาศเย็น สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดในการกระตุ้นอาการหอบหืดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ก็คือ อากาศที่เปลี่ยนจากร้อนไปเย็น จนทำให้กล่าวกันว่า ผู้ป่วยโรคหอบหืด ถือเป็น “เครื่องพยากรณ์สภาพอากาศ’ ได้เป็นอย่างดี

ปัจจัยเสี่ยงต่ออาการหอบหืดในเด็ก

  • อายุ ร้อยละ 80-90 ของเด็กที่ป่วยโรคหอบหืด มักแสดงอาการก่อนอายุ 5 ขวบ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นอาการโรคหืดจะทุเลาหรือหายได้
  • เพศ อาการของโรคในเพศหญิงและเพศชายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ ก่อนเข้าสู่วัยรุ่น อาการหอบหืดมักเกิดในเด็กผู้ชาย ส่วนช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ การเกิดอาการหอบหืดสามารถเกิดขึ้นในกับทั้งสองเพศในอัตราที่เท่ากัน
  • ประวัติทางครอบครัว อาการหอบหืดในพ่อแม่ถือเป็นข้อมูลสำคัญ ในการวินิจฉัยโรคหอบหืดในเด็ก ในกรณีที่พ่อหรือแม่มีประวัติเป็นโรคหอบหืด ความเสี่ยงที่เด็กจะเกิดอาการอยู่ที่ร้อยละ 25-30 หากทั้งพ่อและแม่มีประวัติ ความเสี่ยงในการเกิดโรคในเด็กอยู่ที่ร้อยละ 50 ถึง 60
  • ปัจจัยทางระบบประสาทและฮอร์โมน เด็กที่ถูกครอบงำทางอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวล ความกลัว อาการซึมเศร้า มักจะกระตุ้นให้หอบหืดกำเริบได้มากกว่า
  • สภาพทางภูมิศาสตร์ อัตราของโรคหอบหืด แตกต่างกันตามลักษณะภูมิอากาศของแต่ละประเทศ และแต่ละทวีป
  • ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ เด็กที่คลอดก่อนกำหนด การเจริญผิดปกติของหลอดลมและเนื้อปอด (pulmonary dysplasia) โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่เกิดซ้ำๆ ก่อนอายุ 2 ขวบ และโรคอ้วน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำเริบของโรคหอบหืดแบบฉับพลัน

  • การเกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ (โดยปกติ คือ หลังจากเกิดการติดเชื้อไมโคพลาสมา)
  • หลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ (ที่พบบ่อยได้แก่ ฝุ่น ไรฝุ่น ละอองเกสร อาหาร ยาปฏิชีวนะ)
  • อาการหอบหืดขณะออกกำลังกาย
  • ความเปลี่ยนแปลงของอากาศ
  • ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน

การทำความเข้าใจในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการหอบหืด ถือเป็นหัวใจสำคัญในหลีกเลี่ยงอาการหอบหืด เพื่อการปฏิบัติตนในการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง 

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Mayo Clinic, Asthma Risk Factor, http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/asthma/basics/risk-factors/con-20026992. Accessed on April 17, 2017.

WebMD, Asthma Risk Factor, http://www.webmd.com/asthma/guide/asthma-risk-factors#1. Accessed on April 17, 2017

Asthma Risk Factors
https://www.lung.org/lung-health-and-diseases/lung-disease-lookup/asthma/asthma-symptoms-causes-risk-factors/asthma-risk-factors.html
Accessed 30 October 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทุกเรื่องที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับอาการ หอบหืดตอนกลางคืน

สัญญาณเตือน หอบหืดกำเริบ รู้ทันก่อน ช่วยลดความเสี่ยง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา